Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/78044
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorนงค์คราญ วิเศษกุล-
dc.contributor.advisorนงเยาว์ เกษตร์ภิบาล-
dc.contributor.authorฐิติมา เกษสิมมาen_US
dc.date.accessioned2023-06-14T10:14:47Z-
dc.date.available2023-06-14T10:14:47Z-
dc.date.issued2023-02-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/78044-
dc.description.abstractVentilator-associated pneumonia (VAP) is a critical problem for hospital-associated infections globally and results in death. Therefore, enhancing knowledge and practices on prevention of VAP for nurses is crucial. This quasi-experimental research aimed to determine the effectiveness of the VAP prevention program on knowledge, practices, and VAP incidence in a medical intensive care unit in a tertiary hospital during October to December 2022. The study sample consisted of 23 medical intensive care unit nurses. The research instruments included the VAP prevention program, a demographic data questionnaire, a knowledge test, a practice observational recording form, and a VAP incidence form. The content validity index of the knowledge test and the practice observational recording form were 1.00 and 0.99, respectively. The reliability of the knowledge test and the interrater reliability of the practice observational recording form were 0.94 and 1.00, respectively. Data were analyzed using descriptive statistics, Wilcoxon signed-rank test, Chi-square test, and Fisher’s exact test. The results of the study revealed that after implementing the program, the participants significantly increased their median knowledge scores on prevention of VAP compared with before implementation, from 13.00 to 18.00 out of 20.00 points (p < .001), and the proportion of correct practices for prevention of VAP significantly increased compared with before implementation, from 71.29% to 95.04% (p < .001). The incidence of VAP in the medical intensive care unit decreased from 10.60 to 3.64 per 1,000 ventilator days. The results of the study showed that the VAP prevention program could improve knowledge and practices among medical intensive care nurses, and reduce the incidence of VAP in a medical intensive care unit. This program should be implemented for enhancing knowledge and practices in the prevention of VAP in other medical intensive care unit nurses.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectโปรแกรมen_US
dc.subjectความรู้en_US
dc.subjectการปฏิบัติen_US
dc.subjectการป้องกันปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจen_US
dc.subjectพยาบาลen_US
dc.titleประสิทธิผลของโปรแกรมการป้องกันปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจในพยาบาลหอผู้ป่วยวิกฤตอายุรกรรมen_US
dc.title.alternativeEffectiveness of the ventilator-associated pneumonia prevention program among medical intensive care unit nursesen_US
dc.typeThesis
thailis.controlvocab.thashปอดอักเสบ-
thailis.controlvocab.thashปอด -- โรค-
thailis.controlvocab.thashเครื่องช่วยหายใจ-
thailis.controlvocab.thashการรักษาทางเดินหายใจ -- เครื่องมือและอุปกรณ์-
thailis.controlvocab.thashพยาบาล-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจเป็นปัญหาการติดเชื้อในโรงพยาบาลที่สำคัญทั่วโลก และเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิต ดังนั้นการส่งเสริมความรู้และการปฏิบัติของพยาบาลในการป้องกันปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจจึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง การวิจัยกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมการป้องกันปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจต่อความรู้ การปฏิบัติ และอุบัติการณ์การเกิดปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจในหอผู้ป่วยวิกฤตอายุรกรรม โรงพยาบาลตติยภูมิแห่งหนึ่ง ดำเนินการวิจัยระหว่างเดือนตุลาคม ถึง เดือนธันวาคม พ.ศ. 2565 กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา คือ พยาบาลที่ปฏิบัติงานในหอผู้ป่วยวิกฤตอายุรกรรม จำนวน 23 คน และเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย โปรแกรมการป้องกันปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบวัดความรู้ แบบบันทึกการสังเกตการปฏิบัติ และแบบบันทึกอุบัติการณ์การเกิดปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจ มีค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหาของแบบวัดความรู้และแบบบันทึกการสังเกตการปฏิบัติเท่ากับ 1.00 และ 0.99 ตามลำดับ ค่าความเชื่อมั่นของแบบวัดความรู้และค่าความเชื่อมั่นของการสังเกตเท่ากับ 0.94 และ 1.00 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา สถิติทดสอบวิลคอกซัน สถิติไคสแควร์ และสถิติฟิชเชอร์ ผลการศึกษาพบว่าภายหลังการใช้โปรแกรม กลุ่มตัวอย่างมีคะแนนมัธยฐานความรู้ในการป้องกันปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจมากกว่าก่อนการใช้โปรแกรมจาก 13.00 คะแนน เป็น 18.00 คะแนน จากคะแนนเต็ม 20.00 คะแนน ซึ่งแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .001) และมีสัดส่วนการปฏิบัติในการป้องกันปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจถูกต้องมากกว่าก่อนการใช้โปรแกรมจากร้อยละ 71.29 เป็นร้อยละ 95.04 ซึ่งแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .001) และทำให้อุบัติการณ์การเกิดปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจในหอผู้ป่วยวิกฤตอายุรกรรมลดลงจาก 10.60 ครั้ง เป็น 3.64 ครั้งต่อ 1,000 วันที่ใช้เครื่องช่วยหายใจ การวิจัยครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า โปรแกรมการป้องกันปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจ ทำให้ความรู้และการปฏิบัติของพยาบาลหอผู้ป่วยวิกฤตอายุรกรรมถูกต้องเพิ่มขึ้น และช่วยลดอุบัติการณ์การเกิดปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจในหอผู้ป่วยวิกฤตอายุรกรรมได้ จึงควรนำรูปแบบโปรแกรมนี้ไปใช้ในการเพิ่มพูนความรู้และการปฏิบัติในการป้องกันปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจของพยาบาลหอผู้ป่วยวิกฤตอายุรกรรมในโรงพยาบาลอื่นen_US
Appears in Collections:NURSE: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
641231034-ฐิติมา เกษสิมมา.pdf3.49 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.