Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/78032
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorYaowaluk Chanbang-
dc.contributor.advisorViboon Changrue-
dc.contributor.advisorDamorn Bundhurat-
dc.contributor.authorKunlayaa Boonsangaen_US
dc.date.accessioned2023-06-13T10:11:58Z-
dc.date.available2023-06-13T10:11:58Z-
dc.date.issued2023-02-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/78032-
dc.description.abstractThe efficacy of heat fluidized bed (FDB) was studied on the laboratory heat fluidized bed (Christison Scientific, UK) on Khao Dawk Mali 105 paddy at 40, 45, 50, 55, 60, and 65°C for 60-240 seconds to control stored product insects. The result showed that an internal feeder; maize weevil (Sitophilus zeamais Motschulsky) and lesser grain borer (Rhyzopertha dominica (Fabricius)) at the pupal stage were the most tolerant to FBD compared to other stages, i.e. egg, larval and adult stages while an external feeder; the red flour beetle (Tribolium castaneum (Herbst)) and sawtoothed grain beetle (Oryzaephilus surinamensis Linnaeus) at the egg stage showed the most tolerated to FBD. The optimal condition comprised of temperature and time of exposure of FBD to treat those tolerant stored product insects were carried out. The result showed that pupal maize weevil and lesser grain borer showed 100% mortality and no progeny (F1) at various conditions; 55°C for 150 seconds; 60°C for 90 seconds and 65°C for 60 seconds. The egg stage of the red flour beetle and saw-toothed grain beetle showed 100% mortality at conditions 40°C for 180 seconds; 45°C for 150 seconds, 45°C for 180 seconds, 50°C   for 60 seconds and 50°C for 120 seconds. At condition that causes the insects to die completely, the moisture content of paddy was reduced according to the increased temperature level and has a lower grain temperature of the paddy than the initial temperature setting. The percentage of whole kernels and head rice yield was not different from the control. However, milled rice was yellow color with the increased of b* value, and the decreased of L* value and whiteness index. The moisture content and amylose content were decreased. Although there was no statistically significant difference of the yellowness (b*) value among storage period. The yellowness (b*) rose significantly over time. The Fluidized Bed (FDB) heat treatment at 60°C for 120 seconds can control all stages of maize weevil, lesser grain borer, red flour beetle, and sawtoothed grain beetle, so this condition had set on the fluidized bed system in rice milling at Charoen Phon Rice Mill Company Limited, Kong Sung, Mueang Nakhon Ratchasima District, Nakhon Ratchasima Province to control stored product insect in new harvested paddy in the production season of 2021. The industrial fluidized bed system, loading capacity of 20-25 ton/ hr. with a flowing rate of 8 m/seconds in the heating chamber were installed. Then the paddy samples were taken for 300 kg and the untreated control of paddy was prepared for 300 kg. In this condition, paddy at 28-30% mc. was reduced to 16-18%. Then paddy was air dried until 14% mc and kept in bag for 12 months. The 5 kg-bag samples of paddy were prepared individually in each month. The insect infestation in untreated control showed in the second months with maize weevil (24.50 insects/500 grams), Angoumois grain moth showed the highest number in the eight months (68.45/500 grams), and lesser grain borer showed the highest number in the eight months (5.75 insects/500 grams) while the number of insect pest in FDB was less than 1 insect per 500 grams. The number of insects was less than 1 insect/500 grams until month 8 for maize weevil and slightly increased up to 5.35 insects/500 grams. The result indicated that paddy was treated with FDB at 60°C for 120 seconds can significantly suppress number of maize weevils for 8 months. For Angoumois grain moth and lesser grain borer which is the primary insect pest found in paddy during harvesting, there was less than 1 insect/500 grams for all 12 months. In terms of grain physical quality and color quality and chemical quality and the quality of cooking and eating of Khao Dawk Mali 105 paddy that has been heated by a fluidized bed and stored in plastic bags for 12 months. It was found that Moisture content in untreated control was significantly different from fluidized bed heat treatment. There is interaction between storage time and heat treatment (P<0.05). The moisture content of paddy was affected by temperature and relative humidity under both storage conditions. Storage time after paddy treated with fluidized bed heat treatment and untreated control had no effect on the chalky grain. The percentage of whole grain kernel and head rice treated with FDB (58.52±0.47%) was significantly different from untreated control (59.82±0.60 %) (P<0.05). The color values brightness (L*) and whiteness index decreased with longer storage periods significantly different from the untreated control. The gel consistency, alkali spreading value, and amylose content vary with storage time. With extended storage times, gel consistency, alkali spreading value, and amylose content tended to decrease. The concentration of 2-acetyl-1-pyrroline (2-AP), an aromatic compound, significantly decreased when paddy was stored. The average 2-AP contents of the fluidized bed (1.29 ppm) was significantly different (P<0.05) from the 2-AP contents of untreated control (1.50 ppm). However, all the characters were presented in the Thai Hom Mali Rice Standard.en_US
dc.language.isoenen_US
dc.publisherChiang Mai : Graduate School, Chiang Mai Universityen_US
dc.subjectheaten_US
dc.subjectfluidized bed heaten_US
dc.subjectpaddyen_US
dc.subjectstored insect pestsen_US
dc.subjectqualityen_US
dc.titleFluidized bed heating technique for controlling of post-harvest insect pests in paddy and milled riceen_US
dc.title.alternativeการใช้เทคนิคการให้ความร้อนแบบ Fluidized Bed ในการควบคุมแมลงศัตรูหลังเก็บเกี่ยวในข้าวเปลือกและข้าวสารen_US
dc.typeThesis
thailis.controlvocab.lcshInsect pests-
thailis.controlvocab.lcshInsect pests -- Control-
thailis.controlvocab.lcshRice -- Harvesting-
thesis.degreedoctoralen_US
thesis.description.thaiAbstractเครื่องผลิตความร้อนระบบฟลูอิดไดซ์เบด (Fluidized bed, FDB) ระดับห้องปฏิบัติการ ขนาดเล็ก (Christison Scientific, UK) ได้นำมาทดสอบกับแมลงศัตรูข้าวหลังการเก็บเกี่ยว ที่ระดับความร้อน 40, 45, 50, 55, 60 และ 65 °C ระยะเวลา 60-240 วินาที ระดับความเร็วลมสูงสุด (ระดับ 10, 3.7 เมตรต่อวินาที) พบว่า แมลงศัตรูหลังการเก็บเกี่ยวกลุ่มแมลงกัดกินภายใน (internal feeder) ได้แก่ ด้วงงวงข้าวโพด Sitophilus zeamais Motschulsky และมอดหัวป้อม Rhyzopertha dominica (Fabricius) ในระยะดักแด้มีความทนทานต่อความร้อนแบบฟลูอิดไดซ์เบดมากที่สุด เมื่อเปรียบเทียบกับระยะไข่ หนอน ดักแด้ และตัวเต็มวัย ในขณะที่กลุ่มแมลงกัดกินภายนอก (external feeder) ได้แก่ มอดแป้ง Tribolium casteneum (Herbst) และมอดฟันเลื่อย Oryzaephilus surinamensis Linnaeus ระยะไข่ทนทานต่อความร้อนแบบฟลูอิดไดซ์เบดมากที่สุด จากนั้นจึงทำการทดสอบหาระดับอุณหภูมิและเวลาที่ได้รับ FDB ที่เหมาะสมในการกำจัดแมลงระยะที่ทนทานดังกล่าว ผลการทดลองพบว่า ดักแด้ของด้วงงวงข้าวโพดและมอดหัวป้อมตาย 100 เปอร์เซ็นต์ เมื่อได้รับความร้อนจาก FDB ที่ 55 องศาเซลเซียส 150 วินาที; 60 องศาเซลเซียส 90 วินาที และ 65 องศาเซลเซียส 60 วินาที ส่วนมอดแป้งและมอดฟันเลื่อยในระยะไข่ตาย 100 เปอร์เซ็นต์ ที่ 40 องศาเซลเซียส 180 วินาที; 45 องศาเซลเซียส 150 วินาที; 45 องศาเซลเซียส 180 วินาที; 50 องศาเซลเซียส 60 วินาที และ 50 องศาเซลเซียส 120 วินาที และในระดับที่ทำให้แมลงดังกล่าวตายอย่างสมบูรณ์นั้น ไม่พบแมลงรุ่นลูก และในสภาวะที่ทำให้แมลงตายอย่างสมบูรณ์ ความชื้นของข้าวเปลือกลดลงตามระดับอุณหภูมิที่เพิ่มขึ้น และมีอุณหภูมิข้าวเปลือกต่ำกว่าอุณหภูมิเริ่มต้น มีเปอร์เซ็นต์ข้าวเต็มเมล็ดและต้นข้าวไม่แตกต่างจากชุดควบคุมอย่างไรก็ตาม พบว่า ข้าวสารมีสีเหลืองมากขึ้น สอดคล้องกับค่า b* ที่เพิ่มขึ้น ค่า L* และดัชนีความขาวลดลง ส่วนความชื้นและอมิโลสลดลง ที่อุณหภูมิ 60 องศาเซลเซียส 120 วินาที เป็นสภาวะที่เหมาะสมสามารถกำจัดด้วงงวงข้าวโพด มอดหัวป้อม มอดแป้ง และมอดฟันเลื่อยได้ทุกระยะการเจริญเติบโต จึงนำสภาวะดังกล่าว ไปทดสอบกับระบบการอบข้าวเปลือกของบริษัทโรงสีข้าวเจริญผล จำกัด ตำบลโคกสูง อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา ในข้าวเปลือกสด ฤดูนาปี 2564 ด้วยเครื่องอบลดความชื้นแบบฟลูอิดไดซ์เบดระดับโรงงาน กำลังการผลิต 20-25 ตันต่อชั่วโมง อัตราความแรงลงในห้องอบ 8 เมตรต่อวินาที ข้าวเปลือกความชื้น 28-30% ผ่านการอบลดความชื้น ลดลงเหลือ 16-18% นำข้าวเปลือกจำนวน 300 กิโลกรัม มาระบายอากาศจนความชื้นลดลง 14% ก่อนบรรจุในกระสอบพลาสติกสาน เพื่อเก็บรักษาเป็นระยะเวลา 12 เดือน โดยแบ่งเป็นกระสอบละ 5 กิโลกรัม จำนวน 5 กระสอบ เพื่อเก็บตัวอย่างในแต่ละเดือน พบว่าในข้าวเปลือกชุดควบคุมพบการทำลายของด้วงงวงข้าวโพด ในเดือนที่ 2 ของการเก็บรักษา (24.50 ตัว/ข้าวเปลือก 500 กรัม) ผีเสื้อข้าวเปลือก พบสูงสุดในเดือนที่ 8 ของการเก็บรักษา (68.45 ตัว/ข้าวเปลือก 500 กรัม) และมอดข้าวเปลือก พบสูงสุดในเดือนที่ 8 ของการเก็บรักษา (5.75 ตัว/ข้าวเปลือก 500 กรัม) ในขณะที่จำนวนแมลงในข้าวเปลือกที่ผ่านการอบลดความชื้นด้วยเครื่องฟลูอิดไดซ์เบด พบน้อยกว่า 1 ตัว/ข้าวเปลือก 500 กรัม ซึ่งด้วงงวงข้าวโพดพบสูงสุดในเดือนที่ 11 จำนวน 8.00 ตัว/ข้าวเปลือก 500 กรัม ผลการทดลองพบว่า ที่อุณหภูมิ 60 องศาเซลเซียส 120 วินาที สามารถลดการทำลายจากด้วงงวงข้าวโพดได้ประมาณ 8 เดือน ในขณะที่ผีเสื้อข้าวเปลือกและมอดหัวป้อมซึ่งเป็นแมลงศัตรูที่กัดกินภายในเมล็ดพบจำนวนน้อยกว่า 1 ตัวต่อข้าวเปลือก 500 กรัม ตลอดทั้ง 12 เดือน สำหรับคุณภาพทางกายภาพ และคุณภาพการสี และคุณภาพทางเคมี และคุณภาพการหุงต้มและรับประทาน ของข้าวพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 ที่ผ่านความร้อนแบบฟลูอิดไดซ์เบด และเก็บรักษาในกระสอบพลาสติกสาน เป็นเวลา 12 เดือน พบว่า ความชื้นข้าวเปลือกในชุดควบคุมมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) กับข้าวเปลือกที่ผ่านความร้อนแบบฟลูอิดไดซ์เบด ระยะเวลาการเก็บรักษาข้าวเปลือกทั้งสองวิธีไม่มีผลต่อค่าท้องไข่ของข้าว ร้อยละข้าวเต็มเมล็ดและต้นข้าวที่ผ่าน FDB (58.52±0.47%) แตกต่างกับกรรมวิธีควบคุม (59.82±0.60 %) (P<0.05) ค่าความสว่าง (L*) และดัชนีความขาวลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติตามระยะเวลาการเก็บรักษา สำหรับค่าสีเหลือง (b*) ไม่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระหว่างการเก็บรักษา แต่มีค่าเพิ่มขึ้นตามระยะเวลาการเก็บรักษา ค่าการสลายเมล็ดในด่าง ระยะทางการไหลของแป้งสุก และปริมาณอมิโลสลดลงตามระยะเวลาการเก็บรักษา สำหรับปริมาณสารหอม 2-AP ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติตามระยะเวลาการเก็บรักษา ค่าเฉลี่ยปริมาณสารหอมในกรรมวิธีที่ผ่านความร้อนแบบฟลูอิดไดซ์เบด (1.29 ppm) แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) กับกรรมวิธีควบคุม (1.50 ppm) อย่างไรก็ตาม คุณภาพทางกายภาพ และคุณภาพการสี และคุณภาพทางเคมี และคุณภาพการหุงต้มและรับประทานของข้าวที่ผ่านการลดความชื้นด้วยความร้อนแบบฟลูอิดไดซ์เบดยังคงอยู่ในมาตรฐานข้าวหอมมะลิไทยen_US
Appears in Collections:AGRI: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
600851017-Thesis Kunlayaa Boonsanga.pdf1.66 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.