Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/78028
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorธันยวัฒน์ รัตนสัค-
dc.contributor.authorศิริศักดิ์ ยากาษาen_US
dc.date.accessioned2023-06-13T09:53:30Z-
dc.date.available2023-06-13T09:53:30Z-
dc.date.issued2022-06-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/78028-
dc.description.abstractThis research aimed to study the adaptation of One Tambon One Product entrepreneurs (OTOP entrepreneurs) in Muang Chiang Rai district, Chiang Rai province, during the COVID-19 pandemic and to establish the guidelines for the Community Development Office of Muang Chiang Ra district, Chiang Rai province, to support the OTOP entrepreneurs. This mixed-method study collected qualitative and quantitative data from 261 OTOP entrepreneurs in Muang Chiang Rai district, Chiang Rai province. The survey findings illustrated that 97.84 percent of entrepreneurs were affected decreasing in sales circulation, followed by 83.55 percent affected by the reduction of customers, 77.06 percent affected by the reduction of distribution channels, and 61.90 percent encountered the problem of the degraded product quality, because of an increase in storage time. To cope with these problems, the entrepreneurs improved their production by varying its types. They also developed the packaging consolidated for online orders. According to the price, most entrepreneurs used discounting to maintain their customer base and increase circulation. Moreover, the distribution, the OTOP entrepreneurs not only increased their trade via an online system but also continuously exchanged and learned with each other regarding distribution channels. Finally, in the marketing promotion aspect, it is crucial to note that those merchants still used traditional marketing strategies such as discounts, rewards, and free product campaigns.This study provides the guidelines for the Community Development Office of Muang Chiang Rai district, to support the OTOP entrepreneurs in the following aspects. The officers should increase the knowledge and the technological skills of OTOP entrepreneurs, and train them to generate sales via an online platform. This also includes the regular promotion of awareness of consumer trends in the OTOP market. Furthermore, the officers should suggest the entrepreneurs transfer their OTOP knowledge to the new generation of young OTOP entrepreneurs to extend their distribution channel. In addition, the Community Development Office of Muang Chiang Rai district should promote the development of product standards and open new markets to support the entrepreneurs in the post- pandemic opportunity. The suggestion from this study is the government office which relates to developing the OTOP entrepreneurs should support the technological skills and knowledge to improve their adaptation skills and competitiveness in the OTOP market.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleการปรับตัวในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของผู้ประกอบการโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ในอำเภอเมืองเชียงรายen_US
dc.title.alternativeThe Adaptation in the situation of the Coronavirus Disease 2019 pandemic of the One Tambon One Product Project Entrepreneurs in Mueang Chiang Rai Districten_US
dc.typeIndependent Study (IS)
thailis.controlvocab.thashโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ -- เชียงราย-
thailis.controlvocab.thashโควิด-19 (โรค) -- แง่เศรษฐกิจ-
thailis.controlvocab.thashผู้ประกอบการ -- เชียงราย-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการศึกษาครั้งนี้วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการปรับตัวของผู้ประกอบการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ ในอำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และ เพื่อศึกษาแนวทางในการดำเนินการของสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอในการสนับสนุนผู้ประกอบการ หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ ในช่วงสถานการณ์การแพร่ ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เป็นการศึกษา แบบผสม มีกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ ผู้ผลิต ผู้ประกอบการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ ใน พื้นที่อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย รวมจำนวน 261 ราย ผลการศึกษาพบว่า การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ทำให้ยอดจำหน่ายลดลงอย่างมาก (ร้อยละ 97.84) รองลงมาได้แก่ จำนวนลูกค้าลดลง (ร้อยละ 83.55) ช่องทางการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ลด น้อยลง (ร้อยละ 77.06) และเกิดปัญหาสินค้าเสื่อมคุณภาพจากการเก็บไว้นาน (ร้อยละ 61.90) โดยผู้ประกอบการมีการปรับตัวในด้านผลิตภัณฑ์โดยการเพิ่มความหลากหลายของผลิตภัณฑ์ให้มากขึ้น และพัฒนาบรรจุภัณฑ์ที่มีความสะดวกต่อการจัดส่งสินค้าเมื่อมีการสั่งของผ่านช่องทางออนไลน์ สำหรับ ประเด็นด้านราคา มีการปรับลดราคาผลิตภัณฑ์ เพื่อรักษาฐานลูกค้าเดิม และเพิ่มยอดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ ส่วนด้านช่องทางการจัดจำหน่าย พบว่า มีการจำหน่ายผ่านช่องทางออนไลน์เพิ่มขึ้น มีการแลกเปลี่ยน เรียนรู้ และแบ่งปันความรู้ด้านช่องทางการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ให้แก่ผู้ประกอบการรายอื่น ๆ ประเด็น สุดท้ายด้านการส่งเสริมการตลาด พบว่า ผู้ประกอบการยังคงใช้กลยุทธ์การส่งเสริมการตลาดแบบเดิม คือ การลด แลก แจก แถม เป็นต้น ผลการศึกษาแนวทางการดำเนินงานของสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอ ในการสนับสนุน ผู้ประกอบการ OTOP ได้แก่ เจ้าหน้าที่สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอต้องส่งเสริมการสร้างทักษะความรู้ใน ด้านการใช้เทคโนโลยี และการอบรมการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ผ่านช่องทางออนไลน์ ให้แก่ผู้ประกอบการ กระตุ้นให้ผู้ประกอบการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ ศึกษาความเคลื่อนไหว และความต้องการของผู้บริโภค ของตลาดผลิตภัณฑ์ของตนเองอย่างต่อเนื่อง ส่งเสริมให้ผู้ประกอบการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ถ่ายทอด องค์ความรู้ และกระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์ OTOP ให้แก่ทายาทหรือเยาวชนรุ่นใหม่ เพื่อเปิดโอกาสใน การสร้างช่องทางการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ให้กว้างขวางยิ่งขึ้น ส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพมาตรฐานสินค้า เพื่อรองรับการเปิดตลาดภายหลังการสถานการณ์แพร่ ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 คลี่คลายลง รวมถึงการจัดหาสถานที่จำหน่ายสินค้าให้ผู้ประกอบการในช่วงการแพร่ระบาดของโรค จากผลการศึกษาครั้งนี้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาผู้ประกอบการหนึ่งตำบลหนึ่ง ผลิตภัณฑ์ในอำเภอเมืองเชียงราย ควรควรส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพด้านความรู้ ทักษะกระบวนการ และ การใช้เทคโนโลยีให้แก่ผู้ประกอบการ เพื่อเป็นการเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันให้แก่ ผู้ประกอบการในการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ ในอนาคตen_US
Appears in Collections:POL: Independent Study (IS)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
631932050 ศิริศักดิ์ ยากาษา.pdf2.07 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.