Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/78015
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | นครินทร์ จี้อาทิตย์ | - |
dc.contributor.advisor | จุฑามาส คุ้มชัย | - |
dc.contributor.author | จันทร์สุดา โหมดนอก | en_US |
dc.date.accessioned | 2023-06-13T00:45:19Z | - |
dc.date.available | 2023-06-13T00:45:19Z | - |
dc.date.issued | 2023-02 | - |
dc.identifier.uri | http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/78015 | - |
dc.description.abstract | Currently, the popularity of cherry tomatoes is increasing around the world, including in Thailand. Most of the cherry tomato varieties used by farmers for commercial production are F1 hybrids. The selection of parental lines to produce superior hybrids is an important step in hybrid cherry tomato breeding. Therefore, this research aimed to evaluate the combining ability of yield, fruit quality and carotenoid accumulation characteristics of cherry tomato. The experiment was divided into three sub experiments, the first experiment was aimed to select cherry tomato parental lines for producing F1 hybrid. Fourteen inbred lines (101 - 109, 111, 201, 202, 204 and 205) and three commercial cultivars (Com. 1, Com. 2 and Com. 3) were grown under a plastic-net house and open-field in the dry season from October 2019 to February 2020. The result of the combined analyses showed that significant differences among genotypes and among environments, and significant genotype-by-environment interactions were found for all traits studied. A large proportion of variation for all traits was attributed to genotypes resulting good condition for selecting parental lines. The varieties 102, 103, 104 and 108 gave a high yield per plant (ranged between 1,700 - 2,000 g) and contained medium total soluble solids content (varied between 8.6 - 10.5%). High total soluble solids content (ranged between 10.3 – 11.5 %) was obtained in 101, 111, 201 and 202 variety. In addition, the varieties 101, 102, 103, 104, 108, 111, 201 and 202 had good carotenoid accumulation and also showed the variation in plant growth habits, fruit shape, size and color. Therefore, eight cherry tomato varieties were considered as potential parental lines for producing cherry tomato F1 hybrids. The second experiment was aimed to study the suitable environment for cherry tomato production in greenhouses. Three F1 hybrids, three varieties of male parents (102, 103 and 104), and two varieties of female parents (201 and 202) were grown under a plastic-net house and evaporative cooling greenhouse in the dry season from November 2020 to March 2021. The results showed significant differences among varieties, environments, and variety-by-environment interactions for all characteristics studied except variety-by-environment interactions for total soluble solid content trait. This study also found that the plastic-net house had high air temperature and low relative humidity. While an evaporative cooling greenhouse had a suitable level of temperature and relative humidity. As a result, fruit weight and fresh yield of cherry tomatoes grown under an evaporative cooling greenhouse (12.20 g and 704.0 g, respectively) were higher than those grown under the plastic-net house (10.33 g and 642.0 g, respectively). On the other hand, cherry tomato fruit under plastic-net house conditions contains more total soluble solid content (10.8%) than that under evaporative cooling greenhouse (8.9%). F1 hybrid from 201×102, 201×102, 202×103 and 202×104 had higher fruit yield than their male parents and contain more total soluble solid content than their female parents. Therefore, the cherry tomato hybrids production under an evaporative cooling greenhouse is suitable for producing good quality and high-yielding tomatoes. The third experiment, a half-diallel cross study of eight inbred lines 101, 102, 103, 104, 108, 111, 201 and 202 of cherry tomato was carried out with parents and F1 progeny, to determine the combining ability of yield, fruit quality and carotenoid accumulation characteristics under a plastic-net house and evaporative cooling greenhouse in the dry season from October 2021 to February 2022. The specific combining ability (SCA) variance component was significant for all traits, while general combining ability (GCA) was significant except for fruit number per inflorescence and fruit number per plant in an evaporative cooling greenhouse. The magnitude of SCA variance was more pronounced than GCA variance for all characteristics studied. The parental lines 101, 104, 111, 201 and 202 showed a high GCA values for yield and yield components. The parental lines 201 and 202 showed a high GCA values for total soluble solid content. While the parental lines 101, 102, 108 and 111 showed a high GCA values for phytochemical accumulations. Therefore, the most suitable parental line could be selected for developing high-potential hybrids for each trait. F1 hybrids from 104×101, 111×101 and 111×108 had an average of yield, yield components and total soluble solids content were higher than the commercial variety in both environments. Moreover, these hybrids also showed a high positive value of SCA, MP and BP for yield per plant and total soluble solids content. Therefore, F1 hybrids from 10×101, 111×101 and 111×108 are likely to be developed into commercial hybrid cherry tomatoes in the future. | en_US |
dc.language.iso | other | en_US |
dc.publisher | เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | en_US |
dc.title | สมรรถนะการรวมตัวของลักษณะผลผลิต คุณภาพผล และการสะสมสารแคโรทีนอยด์ของมะเขือเทศเชอร์รี | en_US |
dc.title.alternative | Combining ability of yield, fruit quality, and carotenoid accumulation characteristics of cherry tomato | en_US |
dc.type | Thesis | |
thailis.controlvocab.thash | มะเขือเทศ -- พันธุ์ | - |
thailis.controlvocab.thash | มะเขือเทศ -- การปลูก | - |
thailis.controlvocab.thash | มะเขือเทศ -- การควบคุมคุณภาพ | - |
thesis.degree | master | en_US |
thesis.description.thaiAbstract | ในปัจจุบันความนิยมในการบริโภคมะเขือเทศเชอร์รีมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทย โดยพันธุ์มะเขือเทศเชอร์รีที่เกษตรกรใช้ในการผลิตเชิงการค้าส่วนใหญ่เป็นพันธุ์ลูกผสม ซึ่งการคัดเลือกสายพันธุ์พ่อแม่ที่มีศักยภาพสำหรับการสร้างลูกผสมถือเป็นขั้นตอนที่มีความสำคัญในการปรับปรุงพันธุ์มะเขือเทศเชอร์รีลูกผสม ดังนั้น งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินสมรรถนะการรวมตัวของลักษณะผลผลิต คุณภาพผล และการสะสมสารแคโรทีนอยด์ของมะเขือเทศเชอร์รี โดยแบ่งเป็น 3 การทดลอง การทดลองที่ 1 การคัดเลือกสายพันธุ์พ่อแม่สำหรับสร้างลูกผสม โดยปลูกทดสอบมะเขือเทศเชอร์รีสายพันธุ์ดีจำนวน 14 สายพันธุ์ (101 - 109, 111, 201, 202, 204 และ 205) ร่วมกับพันธุ์การค้าจำนวน 3 พันธุ์ (Com. 1, Com. 2 and Com. 3) ภายใต้สภาพโรงเรือนพลาสติกตาข่ายและสภาพแปลงเปิด ในฤดูหนาว ระหว่างเดือนตุลาคม 2562 ถึงกุมภาพันธ์ 2563 จากการวิเคราะห์ความแปรปรวนรวม พบว่า อิทธิพลของพันธุ์ สภาพแวดล้อม และปฏิสัมพันธ์ระหว่างพันธุ์กับสภาพแวดล้อมมีผลต่อทุกลักษณะที่ศึกษา โดยอิทธิพลของพันธุ์มีผลต่อความแปรปรวนของทุกลักษณะในระดับสูง ดังนั้น การทดลองนี้จึงเหมาะสำหรับการมุ่งเน้นไปที่การคัดเลือกสายพันธุ์ที่มีศักยภาพสูงได้ นอกจากนี้ยังพบว่า มะเขือเทศเชอร์รีสายพันธุ์ 102, 103, 104 และ 108 ให้ผลผลิตต่อต้นสูง (1,700 - 2,000 กรัม) และมีปริมาณของแข็งทั้งหมดที่ละลายน้ำได้อยู่ในระดับปานกลาง (8.6 - 10.5 เปอร์เซ็นต์) ในขณะที่สายพันธุ์ 101, 111, 201 และ 202 มีปริมาณของแข็งทั้งหมดที่ละลายน้ำได้สูง (10.3 - 11.5 เปอร์เซ็นต์) อีกทั้งยังพบว่า มะเขือเทศเชอร์รีสายพันธุ์ 101, 102, 103, 104, 108, 111, 201 และ 202 มีสารสำคัญอยู่ในเกณฑ์ที่ดี และยังมีความแตกต่างกันในลักษณะรูปแบบการเจริญเติบโต รูปร่างผล ขนาดผล และสีผล ดังนั้น มะเขือเทศเชอร์รีทั้ง 8 สายพันธุ์ จึงมีศักยภาพในการใช้เป็นสายพันธุ์พ่อแม่สำหรับสร้างมะเขือเทศเชอร์รีลูกผสม การทดลองที่ 2 การศึกษาสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมสำหรับการผลิตมะเขือเทศเชอร์รีในโรงเรือน โดยปลูกทดสอบมะเขือเทศเชอร์รีลูกผสมทั้งหมด 3 คู่ผสม ร่วมกับสายพันธุ์พ่อจำนวน 3 สายพันธุ์ (102, 103 และ 104) และสายพันธุ์แม่จำนวน 2 สายพันธุ์ (201 และ 202) ในโรงเรือน 2 รูปแบบ ได้แก่ โรงเรือนพลาสติกตาข่ายและโรงเรือนระบบปิด ในฤดูหนาว ระหว่างเดือนพฤศจิกายน 2563 ถึงมีนาคม 2564 จากการศึกษา พบว่า อิทธิพลของพันธุ์ สภาพแวดล้อม และปฏิสัมพันธ์ระหว่างพันธุ์กับสภาพแวดล้อมมีผลต่อทุกลักษณะที่ศึกษา ยกเว้นปฏิสัมพันธ์ระหว่างพันธุ์กับสภาพแวดล้อม ซึ่งไม่มีผลต่อการสะสมปริมาณของแข็งทั้งหมดที่ละลายน้ำได้ อีกทั้งยังพบว่า โรงเรือนพลาสติกตาข่ายมีอุณหภูมิอากาศมีค่าสูงและมีความชื้นสัมพัทธ์ต่ำ ขณะที่โรงเรือนระบบปิดมีอุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์ค่อนข้างคงที่และอยู่ในระดับที่เหมาะสม ซึ่งส่งผลให้มะเขือเทศเชอร์รีที่ปลูกในสภาพโรงเรือนระบบปิดมีน้ำหนักผลและผลผลิต (12.20 กรัม และ 704.0 กรัม ตามลำดับ) มากกว่ามะเขือเทศเชอร์รีที่ปลูกในสภาพโรงเรือนพลาสติกตาข่าย (10.33 กรัม และ 642.0 กรัม ตามลำดับ) ในทางตรงกันข้าม ผลมะเขือเทศเชอร์รีที่ปลูกในสภาพโรงเรือนพลาสติกตาข่ายมีการสะสมปริมาณของแข็งทั้งหมดที่ละลายน้ำได้ (10.8 เปอร์เซ็นต์) สูงกว่าผลมะเขือเทศเชอร์รีที่ปลูกในสภาพโรงเรือนระบบปิด (8.9 เปอร์เซ็นต์) นอกจากนี้พบว่า มะเขือเทศเชอร์รีลูกผสม 201×102, 202×103 และ 202×104 ให้ผลผลิตมากกว่าสายพันธุ์แม่ รวมทั้งมีการปริมาณของแข็งทั้งหมดที่ละลายน้ำได้สูงกว่าสายพันธุ์พ่อ ดังนั้น การผลิตมะเขือเทศเชอร์รีลูกผสมภายใต้โรงเรือนระบบปิดสามารถผลิตมะเขือเทศที่มีคุณภาพดีและให้ผลผลิตสูงได้ การทดลองที่ 3 ทำการผสมข้ามมะเขือเทศเชอร์รีสายพันธุ์ 101, 102, 103, 104, 108, 111, 201 และ 202 รวมทั้งหมด 8 สายพันธุ์ ตามแผนการผสมแบบ half-diallel cross เพื่อทดสอบสมรรถนะการรวมตัวในลักษณะผลผลิต คุณภาพผล และการสะสมสารแคโรทีนอยด์ของมะเขือเทศเชอร์รีสายพันธุ์พ่อแม่ร่วมกับรุ่นลูกที่ได้จากการผสม โดยปลูกทดสอบภายใต้สภาพโรงเรือนพลาสติกตาข่ายและโรงเรือนระบบปิด ในฤดูหนาว ระหว่างเดือนตุลาคม 2564 ถึงกุมภาพันธ์ 2565 จากการศึกษาพบว่า อิทธิพลของสมรรถนะการรวมตัวเฉพาะ (SCA) มีผลต่อทุกลักษณะที่ศึกษา ในขณะที่อิทธิพลของสมรรถนะการรวมตัวทั่วไป (GCA) มีผลต่อทุกลักษณะยกเว้นจำนวนผลต่อช่อและจำนวนผลต่อต้นในสภาพโรงเรือนระบบปิด โดยอิทธิพลของ SCA มีผลต่อความแปรปรวนของลักษณะส่วนใหญ่ที่ศึกษามากกว่าอิทธิพลของ GCA นอกจากนี้ยังพบว่า มะเขือเทศเชอร์รีสายพันธุ์พ่อแม่ 101, 104, 111, 201 และ 202 มีค่า GCA สูงในลักษณะผลผลิตและองค์ประกอบผลผลิต ส่วนสายพันธุ์ 201 และ 202 มีค่า GCA สูงในลักษณะปริมาณของแข็งทั้งหมดที่ละลายน้ำได้ ขณะที่สายพันธุ์ 101, 102, 108 และ 111 มีค่า GCA สูงในลักษณะสารสำคัญ ดังนั้น ในการพัฒนาพันธุ์ลูกผสมควรเลือกใช้สายพันธุ์พ่อและแม่ที่มีความแตกต่างกันในแต่ละลักษณะ เมื่อพิจารณาลูกผสมพบว่า 104×101, 111×101 และ 111×108 มีค่าเฉลี่ยในลักษณะผลผลิต องค์ประกอบผลผลิต และปริมาณของแข็งทั้งหมดที่ละลายน้ำได้สูงกว่าพันธุ์การค้าในทั้ง 2 สภาพแวดล้อม อีกทั้งคู่ผสมดังกล่าวยังมีค่า SCA, MP และ BP สูง ในลักษณะผลผลิตต่อต้นและปริมาณของแข็งทั้งหมดที่ละลายน้ำได้ ดังนั้น ลูกผสม 104×101, 111×101 และ 111×108 มีแนวโน้มในการนำไปพัฒนาเป็นมะเขือเทศเชอร์รีลูกผสมพันธุ์การค้าในอนาคต | en_US |
Appears in Collections: | AGRI: Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
น.ส. จันทร์สุดา โหมดนอก รหัสนักศึกษา 630831003.pdf | 3.75 MB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.