Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/77989
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสกนธ์ สุภากุล-
dc.contributor.authorชัชรีย์ ธีระไพรพฤกษ์en_US
dc.date.accessioned2023-06-11T00:37:54Z-
dc.date.available2023-06-11T00:37:54Z-
dc.date.issued2023-02-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/77989-
dc.description.abstractEfficacy of Pharmacy Inventory Management will lead to the efficiency patient care which is one of the important mission of the pharmacy department. Objectives: There were three main purposes of this research. Firstly, to study the working processes of the Pharmacy Inventory Management. Secondly, to improve the working performance using the Lean Thinking. Lastly, to evaluate the result of this Pharmacy Inventory Management. Methods:Phase 1 was a qualitative research conducted by brainstorming from workers in pharmacy inventory. Subsequently, the study employed the fishbone chart to identify the problems on drug inventory management, drawn the process flow chart, Identified value in the work, waste and time spent on each sub-activity. Then the ECRS (eliminate, combine, rearrange, simplify) principle was used to eliminate the waste of work. Phase 2 was a quasi-experimental study that collected 30 data points before (March to May 2020) and after (October to December 2020) applying the Lean thinking. Results: Identified problems included personnel problems (new staff lacking experience and lack of understanding of drug inventory management), problems on equipment (drug carts and information technology systems being user-unfriendly), product problems (amount of medication inconsistent with the need), problems on work process (redundancy) and problems on environment (insufficient storage space). When the ECRS principle was applied, it was found that the number of remained sub-activities was 20 (48.72% reduction), of which 11 activities were operation (31.25% reduction), 6 for transportation (14.29% reduction), one for waiting (88.89% decrease), two for inspectation (66.67% decrease) and one for storage (unchanged). For the value of work, it was found that there were 17 value added activities (30.77% increase), one non-value added activity (95.65% decrease), and 2 necessary but non-value added activities (33.33% decrease). The ratio of total process time to total lead time was 95.64% (67.19% increase). Time for value-added activity time was 83.96% (63.79% increase). Waste remained in two activities (reduced by 95.56%). Total lead time was 96.92±5.20 min (reduced by 424.90±16.98 min) Total process time was 92.70±5.20 min i.e., significantly reduced by 55.75±5.77 min (P<0.001). Conclusion:The application of lean thinking can increase the efficiency of pharmacy inventory management by finding the cause of the problem, eliminating waste, increasing value- added activities, eliminating non-value-added activities and reducing working time.The results of this study can be used as a guide for applying lean thinking ,including finding problem causes and improving processes by brainstorming, using tools to support lean thinking and using information technology to replace human labor, which can reduce the workload of staff and reduce waiting time significantly.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectlean thinkingen_US
dc.subjectdrug inventoryen_US
dc.subjectแนวคิดลีนen_US
dc.subjectคลังยาen_US
dc.subjectแผนผังก้างปลาen_US
dc.subjectแผนภูมิกระบวนการไหลen_US
dc.subjectหลักการอีซีอาร์เอสen_US
dc.titleการประยุกต์ใช้แนวคิดลีนในการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการคลังยาen_US
dc.title.alternativeOptimization of pharmacy inventory management by applying LEAN thinkingen_US
dc.typeThesis
thailis.controlvocab.thashการผลิตแบบลีน-
thailis.controlvocab.thashการควบคุมสินค้าคงคลัง-
thailis.controlvocab.thashยา -- การเก็บในคลัง-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractหนึ่งในงานสำคัญงานหนึ่งของกลุ่มงานเภสัชกรรม ที่จะต้องได้รับการจัดการอย่างมีประสิทธิภาพคือ งานบริหารเวชภัณฑ์ด้านยา โดยเฉพาะการจัดการคลังยา หากได้รับการจัดการที่ดี ก็จะนำไปสู่ประสิทธิภาพของการดูแลผู้ป่วยที่ดีตามไปด้วยในงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์: เพื่อศึกษากระบวนการทำงานของการจัดการคลังยา ปรับปรุงกระบวนการทำงานของการจัดการคลังยาโดยการประยุกต์ใช้แนวคิดลีน และประเมินผลการจัดการคลังยาหลังการปรับปรุงเทียบกับก่อนการปรับปรุง วิธีการ: ระยะที่ 1 เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยระดมความคิดจากทีมผู้ปฏิบัติงานการจัดการคลังยา และใช้แผนผังก้างปลาเพื่อค้นหาปัญหาของการจัดการคลังยา ต่อมาเก็บข้อมูลด้านเวลาของกิจกรรมย่อย ระบุคุณค่าในงาน ระบุความสูญเปล่า และเวลาที่ใช้ในแต่ละกิจกรรมย่อย นำมาเขียนแผนผังสายธารแห่งคุณค่าปัจจุบัน แผนภูมิกระบวนการไหลก่อนการปรับปรุง จากนั้นใช้หลักการ ECRS (eliminate, combine, rearrange, simplify) กำจัดความสูญเปล่าในการทำงาน ระยะที่ 2 เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลองที่เก็บข้อมูลก่อน (มีนาคมถึงพฤษภาคม 2563) และหลัง (ตุลาคมถึงธันวาคม 2563) การประยุกต์ใช้แนวคิดลีน ช่วงละ 30 ครั้ง ผลการวิจัย: ปัญหาที่พบได้แก่ ด้านบุคลากร เจ้าหน้าที่ใหม่ยังขาดประสบการณ์ และขาดความเข้าใจในเรื่องการจัดการคลังยา ด้านอุปกรณ์ รถเข็นยาและระบบเทคโนโลยีสารสนเทศไม่สะดวกต่อผู้ใช้ ด้านวัตถุดิบ ปริมาณยาไม่สอดคล้องต่อความต้องการใช้ ด้านกระบวนการทำงาน มีความซ้ำซ้อน และด้านสิ่งแวดล้อม พื้นที่จัดเก็บไม่เพียงพอ เมื่อนำหลักการ ECRS มาใช้ พบว่า กิจกรรมย่อยคงเหลือ 20 กิจกรรม (ลดลงร้อยละ 48.72) โดยเป็นขั้นตอนการปฏิบัติงาน 11 กิจกรรม (ลดลงร้อยละ 31.25) ขั้นตอนการเดินทาง 6 กิจกรรม (ลดลงร้อยละ 14.29) ขั้นตอนการรอคอย 1 กิจกรรม (ลดลงร้อยละ 88.89) ขั้นตอนการตรวจสอบ 2 กิจกรรม (ลดลงร้อยละ 66.67) และขั้นตอนการจัดเก็บ 1 กิจกรรมไม่เปลี่ยนแปลง ในส่วนคุณค่าของงาน พบว่า มีกิจกรรมที่ก่อให้เกิดคุณค่า 17 กิจกรรม (เพิ่มขึ้นร้อยละ 30.77) กิจกรรมที่ไม่ก่อให้เกิดคุณค่า 1 กิจกรรม (ลดลงร้อยละ 95.65) และกิจกรรมที่จำเป็นแต่ไม่ก่อให้เกิดคุณค่า 2 กิจกรรม (ลดลงร้อยละ 33.33) ร้อยละอัตราส่วนของเวลารวมการทำงานต่อเวลานำรวมเป็น 95.64 (เพิ่มขึ้นร้อยละ 67.19) ร้อยละเวลาของกิจกรรมที่ก่อให้เกิดคุณค่าเป็น 83.96 (เพิ่มขึ้นร้อยละ 63.79) ความสูญเปล่าเหลือ 2 กิจกรรม (ลดลงร้อยละ 95.56) ระยะเวลานำรวมเท่ากับ 96.92±5.20 นาที (ลดลง 424.90±16.98 นาที) และเวลารวมของการทำงานเท่ากับ 92.70±5.20 นาที หรือลดลง 55.75±5.77 นาทีอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001) สรุป: การประยุกต์ใช้แนวคิดลีนสามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการคลังยา โดยการค้นหาสาเหตุของปัญหา กำจัดความสูญเปล่า เพิ่มกิจกรรมที่ก่อให้เกิดคุณค่า กำจัดกิจกรรมที่ไม่ก่อให้เกิดคุณค่า และ ลดเวลาทำงานได้ผลการศึกษาครั้งนี้สามารถใช้เป็นแนวทางในการนำแนวคิดลีนไปประยุกต์ใช้ ทั้งการค้นหาสาเหตุของปัญหา และการปรับปรุงกระบวนการ โดยการการระดมความคิด การใช้เครื่องมือในการสนับสนุนลีน และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาแทนที่มนุษย์ ซึ่งสามารถลดภาระงานของเจ้าหน้าที่ และลดเวลาการรอคอยได้เป็นอย่างดีen_US
Appears in Collections:PHARMACY: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
611031005 Chatcharee Teerapraipruek.pdf2.97 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.