Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/77975
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorภัทราภรณ์ ภทรสกุล-
dc.contributor.advisorวรนุช กิตสัมบันท์-
dc.contributor.authorวัชรกันญ์ แก้ววันนาen_US
dc.date.accessioned2023-06-08T09:57:12Z-
dc.date.available2023-06-08T09:57:12Z-
dc.date.issued2023-01-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/77975-
dc.description.abstractFamily caregivers of individuals with schizophrenia are at increased risk of developing mental disorders. Internet-based interventions with caregivers of persons with schizophrenia could be an effectively feasible option for promoting well-being and quality of life among caregivers of persons with schizophrenia. The aim of this systematic review is to evaluate the effectiveness of internet-based psychosocial interventions. Randomized controlled trial or quasi-experimental research which investigated the family caregivers of individuals diagnosed with schizophrenia receiving internet-based psychosocial interventions published either in Thai or English language between 2010 and 2022 were considered for inclusion in this review. The JBI systematic review approach was used. The results revealed that four studies met the inclusion criteria and critical appraisal. However, the narrative synthesis was used because of the heterogeneity of the study. The narrative synthesis indicated that internet-based psychosocial interventions among family caregivers of persons with schizophrenia could be classified into three categories including problem-solving-based self-learning; passive psychoeducation; and active psychoeducation. Internet-based psychosocial interventions which was smartphone-based caregiver-facilitated problem-solving based self-learning with group sessions was effective in decreasing the caregiving burden, and passive psychoeducation videos without interactive elements were shown to significantly decrease expressed emotion. GRADE approach was used to evaluate the certainty of the evidence by outcomes of the studies. We found that caregivers’ psychological distress, caregiving burden, and knowledge about the psychosis of the family caregivers of persons with schizophrenia were moderate certainty due to methodological limitations and risk of bias. On the other hand, caregivers’ expressed emotion was of low certainty due to the risk of bias and inconsistency. In addition, the secondary outcome of the study included hospitalization of persons with schizophrenia was moderate certainty due to methodological limitations and risk of bias. This systematic review found that internet-based psychosocial interventions in family caregivers of persons with schizophrenia could primarily improve caregivers’ psychological distress, caregiving burden, and knowledge about the psychosis. However, to utilize this intervention, the context of family caregivers of persons with schizophrenia and health care settings needs to be carefully considerate. The robust RCT are required to carry out with the development of interventions and outcome parameter that are standardized for the population. The data will be adequate for combining with meta-analysis to further evaluate their effectiveness.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectผู้ดูแลในครอบครัวผู้ป่วยจิตเภทen_US
dc.subjectการบำบัดทางจิตสังคมen_US
dc.subjectการใช้อินเทอร์เน็ตเป็นฐานen_US
dc.subjectความทุกข์ทางใจen_US
dc.subjectภาระการดูแลen_US
dc.subjectการแสดงออกทางอารมณ์en_US
dc.subjectการทบทวนอย่างเป็นระบบen_US
dc.titleประสิทธิผลของการบำบัดทางจิตสังคมโดยใช้อินเทอร์เน็ตเป็นฐานต่อความทุกข์ทางใจ ภาระการดูแล การแสดงออกทางอารมณ์ และความรู้เกี่ยวกับโรคจิต ในผู้ดูแลในครอบครัวของผู้ที่เป็นโรคจิตเภท: การทบทวนอย่างเป็นระบบen_US
dc.title.alternativeEffectiveness of internet-based psychosocial interventions on psychological distress, caregiving burden, expressed emotion, and knowledge about psychosis among family caregivers of persons with schizophrenia: A Systematic reviewen_US
dc.typeThesis
thailis.controlvocab.thashผู้ป่วยจิตเภท-
thailis.controlvocab.thashผู้ป่วยทางจิต-
thailis.controlvocab.thashจิตเภท -- การรักษา-
thailis.controlvocab.thashการบำบัดทางจิต-
thailis.controlvocab.thashอินเทอร์เน็ต-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractผู้ดูแลในครอบครัวของผู้ที่เป็นโรคจิตเภทเป็นกลุ่มเสี่ยงต่อปัญหาทางสุขภาพจิต การบำบัดทางจิตสังคมโดยใช้อินเทอร์เน็ตเป็นฐานสำหรับผู้ดูแลในครอบครัวของผู้ที่เป็นโรคจิตเภท จึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการเข้าถึงบริการทางด้านสุขภาพจิตเพื่อช่วยส่งเสริมสุขภาวะและช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้ดูแลในครอบครัวของผู้ที่เป็นโรคจิตเภท การทบทวนอย่างเป็นระบบครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อสรุปประสิทธิผลของการบำบัดทางจิตสังคมโดยใช้อินเทอร์เน็ตเป็นฐานในผู้ดูแลในครอบครัวผู้ที่เป็นโรคจิตเภท โดยสืบค้นรายงานงานวิจัยเชิงทดลองแบบสุ่มที่มีกลุ่มควบคุม หรืองานวิจัยกึ่งทดลอง ที่ศึกษาเกี่ยวกับผลของการบำบัดทางจิตสังคมโดยใช้อินเทอร์เน็ตเป็นฐานในผู้ดูแลในครอบครัวผู้ที่เป็นโรคจิตเภท ที่ทำการศึกษาในประเทศไทยและต่างประเทศ ทั้งที่ได้รับการตีพิมพ์และไม่ได้ตีพิมพ์เผยแพร่ ทั้งที่เป็นภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ตั้งแต่ ค.ศ. 2010 ถึงค.ศ. 2022 (พ.ศ. 2553 ถึงพ.ศ. 2565) โดยดำเนินการทบทวนอย่างเป็นระบบตามกรอบแนวคิดการทบทวนอย่างเป็นระบบของสถาบันเจบีไอ (JBI) ผลการศึกษาพบว่า มีงานวิจัยที่ผ่านเกณฑ์การคัดเลือกและการประเมินคุณภาพงานวิจัยจำนวน 4 เรื่อง แต่เนื่องจากการศึกษาที่นำเข้าไม่มีความเป็นเอกพันธ์ (heterogeneity) จึงทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการสรุปเชิงเนื้อหา (narrative synthesis) ผลการสรุปเชิงเนื้อหาพบว่า รูปแบบของการบำบัดทางจิตสังคมโดยใช้อินเทอร์เน็ตเป็นฐาน 3 รูปแบบ คือ การเรียนรู้ด้วยตนเองโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน การให้สุขภาพจิตศึกษาโดยไม่มีการโต้ตอบ และการให้สุขภาพจิตศึกษาโดยมีการโต้ตอบ โดยรูปแบบของการบำบัดทางจิตสังคมโดยใช้อินเทอร์เน็ตเป็นฐานที่มีผลลัพธ์ที่ดีในการลดภาระการดูแล คือ โปรแกรมการเรียนรู้ด้วยตนเองโดยใช้ปัญหาเป็นฐานผ่านสมาร์ตโฟน ร่วมกับการเข้ากลุ่มแบบเผชิญหน้า และการให้สุขภาพจิตศึกษาแบบกลุ่ม ส่วนรูปแบบที่มีผลลัพธ์ที่ดีในการลดการแสดงออกทางอารมณ์ คือ การให้สุขภาพจิตศึกษาผ่านวิดีโอโดยไม่มีการโต้ตอบ เมื่อจัดระดับคุณภาพหลักฐานเชิงประจักษ์ตามแนวทางของ GRADE พบว่า ผลลัพธ์ความทุกข์ทางใจ ภาระการดูแล และความรู้เกี่ยวกับโรคจิตในผู้ดูแลในครอบครัวผู้ที่เป็นโรคจิตเภท มีความเชื่อมั่นต่อหลักฐานเชิงประจักษ์ในระดับปานกลาง เนื่องจากเป็นงานวิจัยกึ่งทดลอง และไม่มีการปกปิดกลุ่มตัวอย่าง (risk of bias) ในขณะที่ผลลัพธ์การแสดงออกทางอารมณ์ในผู้ดูแลในครอบครัวผู้ที่เป็นโรคจิตเภท มีความเชื่อมั่นต่อหลักฐานเชิงประจักษ์ในระดับต่ำ เนื่องจากแต่ละการศึกษาไม่มีการปกปิดกลุ่มตัวอย่าง (risk of bias) และงานวิจัยทั้งหมดไม่มีความเป็นเอกพันธ์ (inconsistency) นอกจากนี้ ผลลัพธ์รอง คือ การนอนโรงพยาบาลของผู้ที่เป็นโรคจิตเภทที่อยู่ในระหว่างการศึกษา มีความเชื่อมั่นต่อหลักฐานเชิงประจักษ์ในระดับปานกลาง เนื่องจากเป็นงานวิจัยกึ่งทดลอง จึงไม่มีการปกปิดกลุ่มตัวอย่าง (risk of bias) การทบทวนอย่างเป็นระบบครั้งนี้ ให้ข้อเสนอแนะว่าการบำบัดทางจิตสังคมโดยใช้อินเทอร์เน็ตเป็นฐานในผู้ดูแลในครอบครัวของผู้ที่เป็นโรคจิตเภท สามารถนำไปใช้ในการลดความทุกข์ทางใจ ลดภาระการดูแล ลดการแสดงออกทางอารมณ์ ตลอดจนเพิ่มความรู้เกี่ยวกับโรคจิตในผู้ดูแลในครอบครัวผู้ที่เป็นโรคจิตเภท และลดการนอนโรงพยาบาลของผู้ที่เป็นโรคจิตเภทได้ในเบื้องต้น โดยพิจารณาตามความเหมาะสมของผู้ดูแลในครอบครัวผู้ที่เป็นโรคจิตเภท และบริบทของสถานบริการทางสุขภาพนั้น ๆ ควรมีการศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับการบำบัดทางจิตสังคมโดยใช้อินเทอร์เน็ตเป็นฐานในผู้ดูแลในครอบครัวผู้ที่เป็นโรคจิตเภท โดยมีการออกแบบวิจัยที่มีความเชื่อมั่นสูง ได้แก่การวิจัยเชิงทดลองแบบมีกลุ่มควบคุม โดยการใช้วิธีการจัดกระทำและเครื่องมือวัดผลลัพธ์ที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน เพื่อจะได้สามารถนำมาวิเคราะห์เมต้าในการยืนยันประสิทธิผลของวิธีการดังกล่าวต่อไปen_US
Appears in Collections:NURSE: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
631231142-วัชรกันญ์ แก้ววันนา.pdf2.38 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.