Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/77958
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorชูชาติ สันธทรัพย์-
dc.contributor.authorสุรีย์พร วงษ์พูลen_US
dc.date.accessioned2023-06-07T10:01:43Z-
dc.date.available2023-06-07T10:01:43Z-
dc.date.issued2023-02-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/77958-
dc.description.abstractThe study on the appropriate fertilizer management for strawberry cv Pharachatan 80 production in highland, Chiang Mai province was conducted with the following objectives: 1) to determine nutrient requirements (nitrogen, phosphorus, and potassium) and 2) to evaluate the appropriate fertilizer for strawberry. The trials were conducted in the farmer’s field at Khob Dong village, Mae Ngon subdistrict, and Had Sompoi village, Mae Sap sub-district, Samoeng district, Chiang Mai province, from September 2018 to April 2019. The study on strawberry nutrient requirements was performed by randomly collecting the strawberry samples. The fresh and dry weights of strawberry in each growth stage were recorded, and then the concentrations of N, P, and K in plant tissue were analyzed to determine the strawberry nutrient requirements. The result found that the organic strawberry nutrient requirements were 5.80 kg N/rai, 1.49 kg P/rai, and 10.51 kg K/rai. At the vegetative growth stage, organic strawberry need 3.65 kg N/rai, 0.56 kg P/rai, and 4.92 kg K/rai, and in the reproductive growth stage, organic strawberry need 2.14 N kg/rai, 2.15 P kg/rai and 6.27 kg K/rai, respectively. The typical strawberry nutrient requirements were 10.14 kg N/rai, 1.33 kg P/rai, and 10.83 kg K/rai. At the vegetative growth stage, the nutrient requirements of strawberry were 1.68 kg N/rai, 0.24 kg P/rai, and 1.90 kg K/rai. While the reproductive growth stage, the nutrient requirements of strawberry were 8.47 kg N/rai, 1.09 kg P/rai, and 8.93 kg K/rai. The study on appropriate fertilizer management for strawberry production was designed by randomized complete block design with four replications and four fertilizer treatments consisting of 1) fertilization based on common fertilizer rate for strawberry production (CFRS) (68.48 kg N/rai, 185.09 kg P2O5/rai and 120.57 kg K2O/rai), 2) fertilization rate based on nutrient requirements of strawberry (F-NR) (25.02 kg N/rai, 8.25 kg P2O5/rai and 41.89 kg K2O/rai), 3) fertilization rate based on site-specific fertilizer management (SSFM) 25.02 kg N/rai), and 4) control treatment (without fertilizer). The results showed that treatments 1, 2, and 3 had no significant effect on plant height, canopy width, above-ground plant dry weight, the nitrogen concentration in the above-ground plant at 60 days, and yield compared to the control treatment. All treatments did not affect yield quality (titrated total acid (TTA), total soluble solids (TSS), and vitamin C contents (ascorbic acid)) were significant with values in the range of 1.13-1.14%, 11.47-11.67 ᵒBrix and 58.65-64.16 mg/100 g fresh weight. However, treatment 3 gave the highest yield at 3015.90 kg/rai, and fertilizer use efficiency was 14.22%. This study suggests that when strawberry was cultivated in soil that contained a very high available phosphorus and exchangeable potassium level. The fertilizer rate based on SSFM treatment by applying only nitrogen fertilizer at 25.02 kg/rai should be the optimal rate for strawberry production's high yield and quality. A low rate of fertilizer use resulted in reduced production costs and fertilizer contamination to the environment.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectสตรอว์เบอร์รีen_US
dc.subjectการจัดการปุ๋ยen_US
dc.subjectความต้องการธาตุอาหารen_US
dc.titleการจัดการปุ๋ยที่เหมาะสมสำหรับการผลิตสตรอว์เบอร์รี พันธุ์พระราชทาน 80 บนพื้นที่สูง จังหวัดเชียงใหม่en_US
dc.title.alternativeAppropriate fertilizer management for strawberry cv. Pharachatan 80 production in highland, Chiang Mai Provinceen_US
dc.typeThesis
thailis.controlvocab.thashสตรอว์เบอร์รี -- การปลูก-
thailis.controlvocab.thashสตรอว์เบอร์รี -- พันธุ์พระราชทาน 80-
thailis.controlvocab.thashสตรอว์เบอร์รี -- ฝาง (เชียงใหม่)-
thailis.controlvocab.thashปุ๋ย-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการศึกษาการจัดการปุ๋ยที่เหมาะสมสำหรับการผลิตสตรอว์เบอร์รี พันธุ์พระราชทาน 80 บนพื้นที่สูง จังหวัดเชียงใหม่ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ความต้องการธาตุอาหารหลัก (ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม) ในระบบอินทรีย์และระบบปกติ และ 2) อัตราการใช้ปุ๋ยที่เหมาะสมสำหรับการผลิตสตรอว์เบอร์รี ซึ่งได้ดำเนินการในแปลงของเกษตรกร บ้านขอบด้ง ตำบลแม่งอน อำเภอฝาง และบ้านหาดส้มป่อย ตำบลแม่สาบ อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่ ในระหว่างเดือนกันยายน 2561 ถึง เดือนเมษายน 2562 การศึกษาความต้องการธาตุอาหารหลักของสตรอว์เบอร์รี โดยการสุ่มตัวอย่างสตรอว์เบอร์รี บันทึกน้ำหนักสด น้ำหนักแห้ง และวิเคราะห์หาความเข้มข้นของไนโตรเจน ฟอสฟอรัสและโพแทสเซียม ในแต่ละระยะการเจริญเติบโต เพื่อนำมาประเมินการดูดใช้ธาตุอาหารของสตรอว์เบอร์รี ผลการศึกษาพบว่า สตรอว์เบอร์รีระบบอินทรีย์ต้องการธาตุอาหารไนโตรเจน 5.80 กก./ไร่ ฟอสฟอรัส 1.49 กก./ไร่ และโพแทสเซียม 10.51 กก./ไร่ โดยที่ระยะการเจริญเติบโตทางลำต้นถึงระยะออกดอก สตรอว์เบอร์รีดูดใช้ธาตุอาหารไนโตรเจน 3.65 กก./ไร่, ฟอสฟอรัส 0.56 กก./ไร่ และโพแทสเซียม 4.92 กก./ไร่ และหลังออกดอกถึงระยะเก็บเกี่ยวผลผลิต สตรอว์เบอร์รีดูดใช้ธาตุอาหารไนโตรเจน 2.14 กก./ไร่, ฟอสฟอรัส 0.93 กก./ไร่ และโพแทสเซียม 5.59 กก./ไร่ และสตรอว์เบอร์รีระบบปกติ ต้องการธาตุอาหารไนโตรเจน 10.14 กก./ไร่ ฟอสฟอรัส 1.33 กก./ไร่ และโพแทสเซียม 10.83 กก./ไร่ โดยที่ระยะการเจริญเติบโตทางลำต้นถึงระยะออกดอก สตรอว์เบอร์รีดูดใช้ธาตุอาหารไนโตรเจน 1.68 กก./ไร่,ฟอสฟอรัส 0.24 กก./ไร่ และโพแทสเซียม 1.90 กก./ไร่ และที่หลังออกดอกจนถึงระยะ เก็บเกี่ยวผลผลิต สตรอว์เบอร์รีดูดใช้ธาตุอาหารไนโตรเจน 8.47 กก./ไร่, ฟอสฟอรัส 1.09 กก./ไร่ และโพแทสเซียม 8.93 กก./ไร่ การศึกษาการจัดการปุ๋ยเหมาะสมสำหรับการผลิตสตรอว์เบอร์รี มีการวางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ในบล็อก (RCBD) จำนวน 4 ซ้ำ ประกอบด้วยการจัดการปุ๋ยที่แตกต่างกัน 4 กรรมวิธี คือ กรรมวิธีที่ 1 ใส่ปุ๋ยในอัตราที่เกษตรกรนิยมปฏิบัติในพื้นที่ (CFRS) (ใส่ปุ๋ยไนโตรเจน 68.48 กก./ไร่, ปุ๋ยฟอสฟอรัส (P2O5) 185.09 กก./ไร่ และปุ๋ยโพแทสเซียม (K2O) 120.57 กก./ไร่), กรรมวิธีที่ 2 ใส่ปุ๋ยในอัตราที่ประเมินจากความต้องการธาตุอาหารหลักของสตรอว์เบอร์รี (F-NR) (ใส่ปุ๋ยไนโตรเจน 25.02 กก./ไร่,ปุ๋ยฟอสฟอรัส (P2O5) 8.25 กก./ไร่ และปุ๋ยโพแทสเซียม (K2O) 41.89 กก./ไร่), กรรมวิธีที่ 3 ใส่ปุ๋ยแบบเจาะจงเฉพาะพื้นที่ (SSFM) (ใส่ปุ๋ยไนโตรเจน 25.02 กก./ไร่) และกรรมวิธีที่ 4 ไม่ใส่ปุ๋ยเป็นกรรมวิธีควบคุม (control) ผลการศึกษาพบว่ากรรมวิธี 1, 2 และ 3 ไม่ทำให้ความสูง ความกว้างทรงพุ่ม น้ำหนักแห้งส่วนเหนือดินของสตรอว์เบอร์รี ความเข้มข้นไนโตรเจนในส่วนเหนือดินที่ระยะ 60 วัน ปริมาณผลผลิต แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อเทียบกับกรรมวิธีควบคุม และทุกกรรมวิธีไม่ส่งผลให้คุณภาพผลผลิต ได้แก่ ปริมาณกรดทั้งหมดที่ไทเทรตได้ (TTA), ปริมาณของแข็งที่ละลายน้ำได้ (TSS) และปริมาณวิตามินซี (ascorbic acid) แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยมีค่าอยู่ในช่วง 1.13-1.14%, 11.47-11.67 ᵒBrix และ 58.65-64.16 มก./100 กรัมน้ำหนักสด ตามลำดับ แต่การใส่ปุ๋ยตามกรรมวิธีที่ 3 ให้ผลผลิตสูงสุด 3015.90 กก./ไร่ และมีประสิทธิภาพการใส่ปุ๋ย 14.22% การศึกษาชี้ให้เห็นว่า การผลิตสตรอว์เบอร์รีในดินที่มีปริมาณฟอสฟอรัสในระดับที่สูง และโพแทสเซียมในระดับสูง การใส่ปุ๋ยให้กับสตรอว์เบอร์รี ตามกรรมวิธีที่ 3 (ใส่ปุ๋ยแบบเจาะจงเฉพาะพื้นที่) ซึ่งใส่ปุ๋ยไนโตรเจน 25.02 กก./ไร่ เพียงอย่างเดียว เพียงพอสำหรับการผลิตสตรอว์เบอร์รีให้ได้ปริมาณผลผลิตและคุณภาพดี ซึ่งเป็นการใช้ปุ๋ยในอัตราต่ำ ส่งผลต่อการลดต้นทุนการผลิต และลดการปนเปื้อนปุ๋ยสู่สิ่งแวดล้อม  en_US
Appears in Collections:AGRI: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
610831052-สุรีย์พร วงษ์พูล.pdf3.47 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.