Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/77940
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorมยุลี สำราญญาติ-
dc.contributor.advisorจิราภรณ์ เตชะอุดมเดช-
dc.contributor.authorจิราวรรณ นาคะปักษิณen_US
dc.date.accessioned2023-01-19T09:25:22Z-
dc.date.available2023-01-19T09:25:22Z-
dc.date.issued2022-11-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/77940-
dc.description.abstractThe incidence of hypovolemic shock has increased in critically ill patients. Critically ill patients with shock are managed with multidisciplinary clinical practice guidelines. However, there are no clinical nursing practice guidelines (CNPGs) for hypovolemic shock management that focus on nursing roles. The implementation research aimed to develop CNPGs for hypovolemic shock management among critically ill patients and to study the outcomes of implementing CNPGs at Angthong Hospital. The framework of this study is based on the Australian National Health and Medical Research Council guidelines for development, implementation and strategy utilization of clinical practice guidelines (NHMRC, 1999, 2000). Participants consisted of two groups: 1) all critically ill surgical patients (older than 18 years) who were admitted to the intensive care unit before and during implementation of CNPGs (51 and 45 participants, respectively), and 2) 14 nursing personnel who utilized CNPGs. Data collection instruments consisted of 1) the CNPGs Implementation Opinion Survey Form, and 2) the Outcome Evaluation Form. Data were analyzed using descriptive statistics. The results revealed that: 1. The CNPGs for hypovolemic shock management among critically ill patients at Angthong Hospital consisted of six components including 1) protection of patient rights and ethics, 2) educating nurses about hypovolemic shock, 3) patient care for hypovolemic shock prevention, 4) management of patients with hypovolemic shock, 5) continuous care for patients, and 6) improvement of quality of care. The CNPGs were approved with good quality for all components by the Appraisal of Guidelines for Research & Evaluation II [AGREE II] (80.55-91.66%). Moreover, most of the nursing personnel strongly agreed on the feasibility of the CNPGs implementation at a high level (85.70-92.90%). 2. All participants in the CNPGs implementation group were assessed for shock using the shock index while none of those from the before-CNPGs implementation group were assessed by the shock index. Participants in the CNPGs implementation group received continuous shock prevention by accurate intravenous fluid infusion higher than the before-CNPGs implementation group (100.00% and 89.41%). Participants in the CNPGs implementation group were provided with comprehensive shock management by assessing the adequacy of intravenous fluid infusion higher than those in the before-CNPGs implementation group (100.00% and 87.42%), and were provided comprehensive nursing care for shock with other methods by elevating patients’ legs position higher than the before-CNPGs implementation group (100.00% and 88.07%). The results of this study revealed that CNPGs for hypovolemic shock management among critically ill patients are appropriate for implementation in clinical practice and enhance positive outcomes. Additionally, these results should be presented to hospital administrations for supporting continuous CNPGs implementation to develop quality of care.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectการพยาบาลทางคลินิกen_US
dc.titleการพัฒนาและการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลทางคลินิกสำหรับการจัดการภาวะช็อกจากการสูญเสียสารน้ำในร่างกายในผู้ป่วยวิกฤตen_US
dc.title.alternativeDevelopment and implementation of clinical nursing practice guidelines for hypovolemic shock management among critically lll patientsen_US
dc.typeThesis
thailis.controlvocab.thashช็อค-
thailis.controlvocab.thashการพยาบาล-
thailis.controlvocab.thashภาวะขาดน้ำ (สรีรวิทยา)-
thailis.controlvocab.thashการพยาบาลผู้ป่วยวิกฤต-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractภาวะช็อกจากการสูญเสียสารน้ำในร่างกายในผู้ป่วยวิกฤตมีอุบัติการณ์สูงขึ้น ผู้ป่วยได้รับการจัดการโดยใช้แนวปฏิบัติทางคลินิกการจัดการภาวะช็อกของสหสาขาวิชาชีพ แต่ไม่มีแนวปฏิบัติการพยาบาลในการป้องกันและการจัดการภาวะช็อกจากการสูญเสียสารน้ำในร่างกายที่เน้นบทบาทพยาบาล การวิจัยดำเนินการนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลทางคลินิกสำหรับการจัดการภาวะช็อกจากการสูญเสียสารน้ำในร่างกายในผู้ป่วยวิกฤต และศึกษาผลลัพธ์ของการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลทางคลินิกฯ โรงพยาบาลอ่างทอง โดยใช้กรอบแนวคิดการพัฒนาและการใช้แนวปฏิบัติทางคลินิกร่วมกับใช้กลยุทธ์การส่งเสริมการใช้แนวปฏิบัติของสภาวิจัยทางการแพทย์และสุขภาพแห่งชาติ ประเทศออสเตรเลีย (NHMRC, 1999, 2000) กลุ่มตัวอย่างแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ 1) ผู้ป่วยวิกฤตศัลยกรรมทุกรายที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไปที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยหนักศัลยกรรม แบ่งเป็นกลุ่มที่มารับการรักษาก่อนใช้และกลุ่มขณะใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลทางคลินิกฯ จำนวน 51 และ 45 คน 2) บุคลากรพยาบาลผู้ใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลทางคลินิกฯ จำนวน 14 คน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย 1) แบบสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับการใช้แนวปฏิบัติทางคลินิก 2) แบบรวบรวมผลลัพธ์ของการใช้ แนวปฏิบัติการพยาบาลทางคลินิกฯ และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยาย ผลการวิจัยพบว่า 1. แนวปฏิบัติการพยาบาลทางคลินิกสำหรับการจัดการภาวะช็อกจากการสูญเสียสารน้ำในร่างกายในผู้ป่วยวิกฤต โรงพยาบาลอ่างทอง ประกอบด้วย 6 หมวด ได้แก่ 1) การพิทักษ์สิทธิของผู้ป่วยและจริยธรรม 2) การให้ความรู้แก่พยาบาลเกี่ยวกับภาวะช็อกจากการสูญเสียสารน้ำในร่างกาย 3) การดูแลผู้ป่วยเพื่อป้องกันภาวะช็อกจากการสูญเสียสารน้ำในร่างกาย 4) การดูแลจัดการในผู้ป่วยที่มีภาวะช็อกจากการสูญเสียสารน้ำในร่างกาย 5) การดูแลผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง และ 6) การพัฒนาคุณภาพการบริการ แนวปฏิบัติการพยาบาลทางคลินิกฯ ประเมินคุณภาพโดยเครื่องมือประเมินทางคลินิกสำหรับงานวิจัย (Appraisal of Guidelines for Research & Evaluation II [AGREE II] อยู่ในเกณฑ์ดีทุกด้าน (ร้อยละ 80.55 ถึง 91.66) และมีความเป็นไปได้ในการนำแนวปฏิบัติไปใช้อยู่ในระดับมาก (ร้อยละ 85.70 ถึง 92.90) 2. กลุ่มตัวอย่างขณะใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลทางคลินิกสำหรับการจัดการภาวะช็อกจาก การสูญเสียสารน้ำในร่างกายในผู้ป่วยวิกฤต ได้รับการประเมินภาวะช็อกโดยใช้ดัชนีภาวะช็อกทุกรายขณะที่กลุ่มก่อนใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลทางคลินิกฯ ไม่มีการใช้ดัชนีภาวะช็อก ได้รับการดูแลป้องกันภาวะช็อกอย่างต่อเนื่องโดยได้รับสารน้ำอย่างถูกต้องสูงกว่ากลุ่มก่อนใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลทางคลินิกฯ (ร้อยละ 100.00 และ ร้อยละ 89.14) ได้รับการจัดการแก้ไขภาวะช็อกอย่างครอบคลุมโดยการประเมินความเพียงพอการได้รับสารน้ำสูงกว่ากลุ่มก่อนใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลทางคลินิกฯ (ร้อยละ100.00 และ ร้อยละ 87.42) และได้รับการพยาบาลเพื่อแก้ไขภาวะช็อกด้วยวิธีอื่น ๆ อย่างครอบคลุม โดยการจัดท่านอนยกขาสูง สูงกว่ากลุ่มก่อนใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลทางคลินิกฯ (ร้อยละ 100.00 และ ร้อยละ 88.07) ผลการศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า แนวปฏิบัติการพยาบาลทางคลินิกสำหรับการจัดการภาวะช็อกจากการสูญเสียสารน้ำในร่างกายในผู้ป่วยวิกฤต สามารถนำไปใช้ในทางปฏิบัติและเกิดผลลัพธ์ที่ดี ดังนั้นควรนำเสนอผลการศึกษาครั้งนี้ต่อผู้บริหารโรงพยาบาลให้ส่งเสริมการนำแนวปฏิบัติการพยาบาลทางคลินิกฯ ไปใช้อย่างต่อเนื่อง เพื่อพัฒนาคุณภาพการดูแลผู้ป่วยต่อไปen_US
Appears in Collections:NURSE: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
601231003 จิราวรรณ นาคะปักษิณ.pdf2.71 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.