Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/77924
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสมบัติ สกุลพรรณ์-
dc.contributor.advisorภัทราภรณ์ ภทรสกุล-
dc.contributor.authorอนุกูล หุ่นงามen_US
dc.date.accessioned2022-12-17T15:05:33Z-
dc.date.available2022-12-17T15:05:33Z-
dc.date.issued2022-10-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/77924-
dc.description.abstractRepeated suicide attempts are a major problem in Thailand and tend to become more severe, as the second attempt contributes to a doubly adverse effect compared to the first one. The impacts of attempts affect the attempters themselves, people around them, their family, and society. This correlational descriptive research aims at examining the relationship between social support, self-esteem, resilience, and the risk of suicide attempts in patients with major depressive disorders. The sample consisted of patients with a major depressive disorders ages 20-59 years old, both male and female with a history of committing suicide at least 1 time, who were treated at outpatient departments of mental health-affiliated psychiatric hospitals between March and August 2022 with 108 participants selected based on the predetermined inclusion criteria. The data collection tools included 1) Mini International Neuropsychiatric Structure Interview [M.I.N.I.]: Suicidality part; 2) The Personal Resource Questionnaire: PRQ-85 Part II; 3) The Revised Version of the Thai Rosenberg Self-Esteem Scale: Revised Thai RSES; and 4) The Resilience Inventory. Descriptive statistics, Pearson’s correlation coefficient, and Spearman’s correlation coefficient were used for data analysis. The findings revealed that: 1. About 46.3% of the participants was prone to a high repeated suicide risk, with 13.0% prone to a moderate risk, and 40.7% to a low risk. 2. Almost 77% of the participants had high or good social support while 23.1% had low or poor social support. 3. About 31.5% of the participants had high self-esteem; 56.5% had moderate self-esteem; and 12.0% had low self-esteem. 4. It was 56.5% of the participants that had high resilience; 38.9% had moderate resilience; and 4.6% had low resilience. 5. Social support and resilience had a moderately negative relationship with the repeated suicide risk, at the statistical significance of .01 (r = -.353 and -.546, respectively) while self-esteem had a low negative relationship with the repeated suicide risk, at the statistical significance of .01 (r = -.269). The results of this research can be used as fundamental information for healthcare professionals to promote addressing, understanding, and preventing the risk of repeated suicide attempts, especially, to work on resilience enhancement for patients with major depressive disorders.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleการสนับสนุนทางสังคม ความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง ความแข็งแกร่งในชีวิตและความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายซ้ำ ของผู้ป่วยโรคซึมเศร้าen_US
dc.title.alternativeSocial Support, self-esteem, resilience, and repeated suicidal risk of patients with major depressive disordersen_US
dc.typeThesis
thailis.controlvocab.thashความซึมเศร้า-
thailis.controlvocab.thashความนับถือตนเอง-
thailis.controlvocab.thashจิตผิดปกติ -- การรักษา-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการฆ่าตัวตายซ้ำเป็นหนึ่งในปัญหาที่สำคัญในประเทศไทย และมีแนวโน้มที่จะทวีความรุนแรงมากขึ้น และพบว่าส่งผลกระทบมากกว่าการฆ่าตัวตายครั้งแรก 2 เท่า ทั้งต่อตัวผู้พยายามฆ่าตัวตายเอง คนใกล้ชิด ครอบครัว และสังคม การวิจัยเชิงพรรณนาหาความสัมพันธ์ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการสนับสนุนทางสังคม ความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง ความแข็งแกร่งในชีวิต และความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายซ้ำของผู้ป่วยโรคซึมเศร้า กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยโรคซึมเศร้า ที่มีอายุ 20-59 ปี ทั้งเพศชายและเพศหญิง ที่มีประวัติในการฆ่าตัวตายอย่างน้อย 1 ครั้ง มาตรวจตามนัด ณ แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลจิตเวช สังกัดกรมสุขภาพจิต ระหว่างเดือนมีนาคม ถึง เดือนสิงหาคม 2565 โดยเลือกกลุ่มตัวอย่างตามคุณสมบัติที่กำหนด จำนวน 108 คน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย 1) แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง M.I.N.I. ในส่วนของความเสี่ยงในการฆ่าตัวตาย (Mini International Neuropsychiatric Structure Interview [M.I.N.I.] : Suicidality part) 2) แบบสอบถามการสนับสนุนทางสังคม ส่วนที่ 2 (The Personal Resource Questionnaire: PRQ-85 Part II) 3) แบบสอบถามความภาคภูมิใจในตนเองของโรเซนเบิร์กฉบับปรับปรุง (The Revised version of Thai Rosenberg Self Esteem Scale: Revised Thai RSES) และ 4) แบบสอบถามความแข็งแกร่งในชีวิต (Resilience Inventory) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบสเปียร์แมน ผลการวิจัย พบว่า 1. ผู้ป่วยโรคซึมเศร้ามีความเสี่ยงในการฆ่าตัวตายซ้ำ ระดับรุนแรง ร้อยละ 46.30 ระดับปานกลาง ร้อยละ 13.00 และระดับน้อย ร้อยละ 40.70 2. การสนับสนุนทางสังคมของผู้ป่วยโรคซึมเศร้า อยู่ในระดับระดับสูงหรือดี ร้อยละ 76.90 และระดับต่ำหรือไม่ดี ร้อยละ 23.10 3. ความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองของผู้ป่วยโรคซึมเศร้า อยู่ในระดับสูง ร้อยละ 31.50 ระดับปานกลาง ร้อยละ 56.50 และระดับต่ำ ร้อยละ 12.00 4. ความแข็งแกร่งในชีวิตของผู้ป่วยโรคซึมเศร้า อยู่ในระดับสูง ร้อยละ 56.50 ระดับปานกลาง ร้อยละ 38.90 และระดับต่ำ ร้อยละ 4.60 5. การสนับสนุนทางสังคม และความแข็งแกร่งในชีวิตของผู้ป่วยโรคซึมเศร้า มีความสัมพันธ์ทางลบในระดับปานกลางกับความเสี่ยงในการฆ่าตัวตายซ้ำ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (r = -.353 และ -.546 ตามลำดับ) โดยความรู้สึกมีคุณค่าในตัวเองของผู้ป่วยโรคซึมเศร้า มีความสัมพันธ์ทางลบในระดับต่ำกับความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายซ้ำ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (r = -.269) ผลการวิจัยครั้งนี้สามารถนำไปเป็นข้อมูลพื้นฐานสำหรับบุคลากรทางการแพทย์ เพื่อให้การดูแลผู้ป่วยกลุ่มนี้ในการป้องกัน และจัดการแก้ไขปัญหาความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายซ้ำโดยเฉพาะการส่งเสริมให้เกิดความแข็งแกร่งในชีวิต ในผู้ป่วยโรคซึมเศร้าต่อไปen_US
Appears in Collections:NURSE: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
631231146-อนุกูล หุ่นงาม.pdf4.45 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.