Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/77914
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | เยาวลักษณ์ จันทร์บาง | - |
dc.contributor.advisor | ณัฏฐวัฒณ์ หมื่นมาณี | - |
dc.contributor.author | จิตรลดา จารุหิรัญโรจน์ | en_US |
dc.date.accessioned | 2022-12-15T13:42:45Z | - |
dc.date.available | 2022-12-15T13:42:45Z | - |
dc.date.issued | 2022-11 | - |
dc.identifier.uri | http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/77914 | - |
dc.description.abstract | The coffee bean weevil, Araecerus fasciculatus (De Geer, 1775) (Coleoptera: Anthribidae), is an important insect pest of Arabica and Robusta coffee green bean during storage which caused unacceptable damage affected to coffee bean standards. In experiment 1, the radio frequency efficacy (RF) at 27.12 MHz was examined for controlling coffee bean weevil in Arabica green bean using 55 ºC for 90 seconds on the egg, larval, pupal and adult stages. The result showed that adult mortality was the least (46.43±1.82%) and significantly different (P<0.05) to those mortalities of egg (100%), larval (100%) and pupal (97.35±0.83%) stages, respectively. So, in adult stage, the coffee bean weevil was the most tolerant to RF heat treatment. In experiment 2, the combination of RF heat treatments at 55, 60, 65 and 70 ºC for 60, 90, 120 and 150 seconds (16 treatments) had treated on the adult of coffee bean weevil infested on green bean. No RF treatment was set as the untreated control in each stage. The result revealed that adults exposed to 70 ºC for 60 seconds caused 100% mortality and there was no progeny production. On the treatment with RF at 60 ºC for 150 seconds and at 65 and 70 ºC for 60, 90, 120 and 150 seconds, the survived adults exposed to RF heat treatments could not produce their progeny production. In experiment 3, the quality of green bean treated by RF treatment at 70 ºC for 60 seconds was examined. The moisture content was decreased from 16.50% to 16.10% (P<0.05). Direct plating method was used to detect postharvest fungi associated with green bean coffee compared between the before and after exposing treatments. Aspergillus niger was found for 7.5 % on green bean while there was no fungus after RF exposing. | en_US |
dc.language.iso | other | en_US |
dc.publisher | เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | en_US |
dc.subject | ด้วงเมล็ดกาแฟ | en_US |
dc.subject | คลื่นความถี่วิทยุ | en_US |
dc.subject | สารกาแฟ | en_US |
dc.subject | การใช้ความร้อน | en_US |
dc.title | การควบคุมด้วงเมล็ดกาแฟด้วยวิธีการใช้คลื่นความถี่วิทยุ | en_US |
dc.title.alternative | Control of coffee bean weevil by using radio frequency | en_US |
dc.type | Thesis | |
thailis.controlvocab.thash | กาแฟ -- เมล็ดพันธุ์ | - |
thailis.controlvocab.thash | คลื่นความถี่วิทยุ | - |
thailis.controlvocab.thash | ศัตรูพืช | - |
thailis.controlvocab.thash | แมลงศัตรูพืช | - |
thesis.degree | master | en_US |
thesis.description.thaiAbstract | ด้วงเมล็ดกาแฟ Araecerus fasciculatus (De Geer, 1775) (Coleoptera: Anthribidae) จัดเป็นแมลงศัตรูกาแฟที่สำคัญเข้าทำลายเมล็ดกาแฟอะราบิกาและโรบัสตาในระหว่างการเก็บรักษา และทำให้ผลผลิตสารกาแฟเสียหายไม่เป็นไปตามมาตรฐาน การทดลองครั้งนี้เป็นการใช้คลื่นความถี่วิทยุ (radio frequency, RF) ควบคุมด้วงเมล็ดกาแฟที่เข้าทำลายกาแฟอะราบิกา ในการทดลองที่ 1 ทดสอบใช้คลื่นความถี่วิทยุ 27.12 MHz อุณหภูมิ 55 องศาเซลเซียส ระยะเวลา 90 วินาทีกับด้วงเมล็ดกาแฟในระยะไข่ หนอน ดักแด้ และตัวเต็มวัย พบว่าด้วงเมล็ดกาแฟระยะตัวเต็มวัยมีการตายน้อยที่สุดเท่ากับ 46.43±1.82 เปอร์เซ็นต์ แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) จากระยะไข่ หนอน และดักแด้ ซึ่งมีการตายเท่ากับ 100.00, 100.00 และ 97.35±0.83 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ ดังนั้นด้วงเมล็ดกาแฟระยะตัวเต็มวัยเป็นระยะที่ทนทานต่อการควบคุมด้วยการใช้พลังงานคลื่นความถี่วิทยุมากที่สุด ในการทดลองที่ 2 ทำการทดสอบใช้คลื่นความถี่วิทยุในการควบคุมด้วงเมล็ดกาแฟในระยะตัวเต็มวัย ซึ่งเป็นระยะที่ทนทานที่สุด ในระดับอุณหภูมิ 55, 60, 65 และ 70 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 60, 90, 120 และ 150 วินาที (16 กรรมวิธี) และเปรียบเทียบกับชุดควบคุมที่ไม่ผ่านคลื่นความถี่วิทยุ พบว่าคลื่นความถี่วิทยุที่อุณหภูมิ 70 องศาเซลเซียส ระยะเวลา 60 วินาที สามารถทำให้ระยะตัวเต็มวัยของด้วงเมล็ดกาแฟตายอย่างสมบูรณ์ (100 เปอร์เซ็นต์) และ ไม่สามารถให้รุ่นลูก (F1) ส่วนในกรรมวิธีที่ใช้คลื่นความถี่วิทยุที่อุณหภูมิ 60 องศาเซลเซียส ระยะเวลา 150 นาที และที่ระดับความร้อน 65 และ 70 องศาเซลเซียสเป็นเวลา 60, 90, 120 และ150 นาที พบว่าด้วงเมล็ดกาแฟที่รอดจากการสัมผัสคลื่นความถี่วิทยุดังกล่าวมีสภาพไม่สมบูรณ์ ไม่สามารถให้รุ่นลูกได้ในสารกาแฟ และในการทดลองที่ 3 ทำการวัดคุณภาพสารกาแฟหลังจากผ่านคลื่นความถี่วิทยุที่อุณหภูมิ 70 องศาเซลเซียส ระยะเวลา 60 วินาที พบว่า ความชื้นของสารกาแฟลดลงจาก 16.50 เปอร์เซ็นต์ เป็น 16.10 เปอร์เซ็นต์ (P<0.05) และวิธีการวางสารกาแฟบนอาหารเลี้ยงเชื้อเพื่อหาเชื้อราที่ปนเปื้อนมากับสารกาแฟเปรียบเทียบระหว่างสารกาแฟที่ไม่ผ่านและหลังผ่านคลื่นความถี่วิทยุ พบเชื้อรา Aspergillus niger (7.5 เปอร์เซ็นต์) ในสารกาแฟที่ไม่ผ่านคลื่นความถี่วิทยุ (ชุดควบคุม) และในสารกาแฟที่ผ่านคลื่นความถี่วิทยุไม่พบเชื้อราเจริญบนสารกาแฟ | en_US |
Appears in Collections: | AGRI: Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
610831054-จิตรลดา จารุหิรัญโรจน์.pdf | 7.11 MB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.