Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/77910
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorโสระยา ร่วมรังษี-
dc.contributor.advisorภาณุพล หงษ์ภักดี-
dc.contributor.authorศรนรินทร์ สวงโทen_US
dc.date.accessioned2022-12-15T12:53:53Z-
dc.date.available2022-12-15T12:53:53Z-
dc.date.issued2022-10-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/77910-
dc.description.abstractThe study of external factors on growth and development, and phytohormones contents in sacred lotus was conducted into 3 experiments: The first experiment, the study of year-round growth, development, and phytohormone contents in sacred lotus, was conducted by investigating the growth, development, and phytohormone contents of sacred lotus under year-round natural environmental conditions. The experiment was conducted in 12 months of tropical weather as treatments, from May to April. Aboveground growth (leaf number, leaf area, flower stalk length, flowering percentage) and underground growth parameters (internode length, internode number, internode diameters, total stolon length, rhizome enlargement index) were investigated, and two phytohormones, i.e., abscisic acid (ABA) and trans-zeatin-riboside (t-ZR) were analysed in leaf, stolon, node and flower of the plant. The findings revealed that under the high temperatures (32.3 °C) and long-day conditions (13.09 h per day) of May, June, and July, the plant's leaf and flower growth was promoted, ABA concentrations in leaf and flower were decreased, and t-ZR concentration in leaf was increased but decreased in stolon. Under the low temperature (22.9 °C) and short-day conditions (11.17 h per day) from October to February, the growth of lotus leaf and flower was suppressed, while the growth of underground stolon was enhanced, ABA concentrations in all organs were increased, and t-ZR concentration in the leaf was decreased but increased in the stolon. The second experiment, the effects of water temperature on growth, development and phytohormone contents in sacred lotus, was conducted by installing the water-chilling unit into a 125 x 280 x 60 cm of concrete cubic tank with 3 different water temperatures as treatments, i.e., T1: ambient temperature as a control, T2: cooling water temperature 20 °C, and T3: cooling water temperature 15 °C. Aboveground growth (leaf number, leaf area, leaf stalk length, flowering percentage) and underground growth parameters (internode length, internode number, internode diameters, total stolon length, rhizome enlargement index) were collected, and two phytohormones, i.e., abscisic acid (ABA) and trans-zeatin-riboside (t-ZR) were analysed in leaf, stolon and node of the plant. The results showed that both ranges of water-cooling temperatures reduced the plant's leaf growth, flowering percentage, and underground growth. The 15°C water temperature increased ABA concentration in all organs and t-ZR concentration in the plant’s stolon and nodes. The 20 °C water temperature increased concentration of t-ZR in the leaf. Both ranges of water-cooling temperatures decreased the total amount of t-ZR in the plant. The third experiment, the effects of shading and fertilizer rates on growth, development, and photosynthesis in sacred lotus, was conducted with two factors of treatment: the first factor is two levels of shading, i.e., non-shading and 50% shading. The second factor was two levels of fertilizer rates, i.e., 5 g and 10 g per plant for 20-day intervals. Weekly growth parameters and final growth after 7 months were investigated. Stomatal conductance (gs), photosynthetic rate (A), and Photosynthetically Active Radiation (P.A.R.) were measured in each month of the experiment. The results showed that under 50% shading, leaf number and leaf width were reduced, but leaf stalk length was increased, and stomatal conductance, photosynthetic rate, and P.A.R. were found to decrease under the shading conditions. The fertilizer rate of 10 grams for 20-day intervals increased leaf number, leaf width, leaf stalk length, internode diameters, node number, and rhizome enlargement index (REI), while different rates of fertilizer caused stomatal conductance, photosynthetic rate, and P.A.R. to be indifferent. There are interactions between shading factors and fertilizer rate factors in terms of leaf number, flower size, node number and total dry weight. However, it was not found an interaction in photosynthetic rate, stomatal conductance and P.A.R. The interaction between no-shading and 10 g of fertilizer gave the highest leaf number, flower size, node number and total dry weight of lotus plant.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectNelumbo nuciferaen_US
dc.subjectLow Temperatureen_US
dc.subjectPhytohormonesen_US
dc.subjectAbscisic Aciden_US
dc.subjecttrans-Zeatin-ribosideen_US
dc.titleผลของปัจจัยภายนอกต่อการเจริญเติบโตและปริมาณฮอร์โมนของบัวหลวงen_US
dc.title.alternativeEffects of external factors on growth and development, and phytohormone contents in sacred lotusen_US
dc.typeThesis
thailis.controlvocab.thashฮอร์โมนพืช-
thailis.controlvocab.thashพืชสวน-
thailis.controlvocab.thashบัวหลวง-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการศึกษาผลของปัจจัยภายนอกต่อการเจริญเติบโตและปริมาณฮอร์โมนของบัวหลวง แบ่งออกเป็น 3 การทดลอง ดังนี้ การทดลองที่ 1 ศึกษาการเจริญเติบโตในรอบปีและปริมาณฮอร์โมนพืชบางชนิดในบัวหลวง ดำเนินการโดยดำเนินการโดยการปลูกบัวหลวงให้เจริญเติบโตภายใต้สภาพโรงเรือนเปิดโล่งตามธรรมชาติและเก็บข้อมูลเพื่อติดตามการเจริญเติบโตของบัวหลวงในรอบวงจรชีวิตพืชเป็นเวลา 12 เดือน ตั้งแต่เริ่มปลูกเดือนพฤษภาคม จนถึงเดือนเมษายน ภายใต้สภาพแวดล้อมอุณหภูมิตามธรรมชาติ บันทึกข้อมูลการเจริญเติบโต ทั้งส่วนเหนือดิน (จำนวนใบ พื้นที่ใบ ความยาวก้านดอก ร้อยละการออกดอก) และส่วนใต้ดิน (ความยาวปล้อง จำนวนปล้อง เส้นผ่านศูนย์กลางปล้อง ความยาวไหลรวม ดัชนีการขยายขนาดของไหล) และวิเคราะห์ปริมาณและการกระจายตัวของกรดแอบไซซิกและทรานส์-ซี‍เอ‍ติน-ไรโบไซด์ ในส่วนใบ ไหล ข้อ และดอกของพืช เป็นเวลา 12 เดือน ผลการทดลองพบว่า ในเดือนพฤษภาคม มิถุนายน และกรกฎาคมซึ่งมีอุณหภูมิเฉลี่ยสูง (32.3 องศาเซลเซียส)และสภาพวันยาว (13.09 ชั่วโมงต่อวัน) ส่งเสริมให้บัวหลวงมีการเจริญเติบโตของส่วนและดอกที่ดี ส่งผลให้กรดแอบ‍ไซซิกในใบและไหลมีค่าน้อย ส่งผลให้ความเข้มข้นของทรานส์-ซีเอติน-ไรโบไซด์ในใบมีค่าสูง ขณะที่ทำให้ความเข้มข้นในไหลมีค่าน้อย ในสภาพแวดล้อมที่มีอุณหภูมิต่ำ (22.9 องศาเซลเซียส) ร่วมกับสภาพวันสั้น (11.17 ชั่วโมงต่อวัน) ในเดือนในช่วงเดือนตุลาคมจนถึงเดือนกุมภาพันธ์ ส่งผลทำให้ส่วนใบและส่วนดอก มีการเจริญเติบโตลดลง และส่งเสริมการเจริญเติบโตของส่วนใต้ดิน ส่งผลให้กรดแอบไซซิกในทุกส่วนของพืชมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ขณะที่ทรานส์-ซี‍‍เอ‍‍ติน-ไรโบไซด์ในใบมีแนวโน้มลดลง ขณะที่ปริมาณของฮอร์โมนดังกล่าวในไหลมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น การทดลองที่ 2 ศึกษาผลของอุณหภูมิน้ำต่อการเจริญเติบโตและปริมาณฮอร์โมนภายในพืชบางชนิดของบัวหลวง ดำเนินการโดยปลูกบัวหลวงในบ่อคอนกรีต รูปทรงลูกบาศก์ขนาด 125 x 280 x 60 เซนติเมตร ที่ติดตั้งเครื่องทำความเย็นไว้ (Chilling Unit) มีกรรมวิธีเป็นการให้อุณหภูมิน้ำเย็นที่แตกต่างกัน ได้แก่ กรรมวิธีที่ 1 : อุณหภูมิน้ำตามธรรมชาติกรรมวิธีที่ 2 อุณหภูมิน้ำช่วงกลางคืน 20 องศาเซลเซียส และ กรรมวิธีที่ 3 : 15 องศาเซลเซียส เป็นระยะเวลา 3 เดือน บันทึกการเจริญเติบโตทั้งส่วนเหนือดิน (จำนวนใบ พื้นที่ใบ ความยาวก้านใบ ร้อยละการออกดอก) และส่วนใต้ดิน ส่วนใต้ดิน (ความยาวปล้อง จำนวนปล้อง เส้นผ่านศูนย์กลางปล้อง ความยาวไหลรวม ดัชนีการขยายขนาดของไหล(Rhizome Enlargement Index)) และวิเคราะห์ความเข้มข้น ปริมาณและการกระจายตัวฮอร์โมนพืช ได้แก่ กรดแอบไซซิกและทรานส์-ซีเอติน-ไรโบไซด์ในส่วนใบ ไหล และข้อของพืช ผลการทดลองพบว่า อุณหภูมิน้ำเย็นทั้ง 2 กรรมวิธี ส่งผลให้การเจริญเติบโตของใบ ร้อยละการออกดอกและการเจริญเติบโตของส่วนใต้ดินลดลง อุณหภูมิน้ำ 15 องศาเซลเซียส ส่งผลให้ความเข้มข้นของกรดแอบไซซิกในทุกส่วนของพืช และทรานส์-ซีเอติน-ไรโบไซด์ ในไหลและข้อ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น อุณหภูมิน้ำเย็น 20 องศาเซลเซียส ทำให้ความเข้มข้นของทรานส์-ซีเอติน-ไรโบไซด์ ในใบ มีค่าสูงขึ้น อุณหภูมิน้ำเย็นทั้ง 2 กรรมวิธีทำให้ปริมาณทรานส์-ซีเอติน-ไรโบไซด์รวมทั้งต้น มีค่าน้อยกว่าบัว‍หลวงที่เติบโตในสภาพอุณหภูมิตามธรรมชาติ (กรรมวิธีควบคุม) การทดลองที่ 3 ศึกษาผลของการพรางแสงและอัตราปุ๋ยต่อการเจริญเติบโตและอัตราการสังเคราะห์แสงในบัวหลวง ดำเนินการโดยมีกรรมวิธีมี 2 ปัจจัย ดังนี้คือ ปัจจัยที่ 1 การพรางแสง (Shading) 2 ระดับ ได้แก่ ปลูกกลางแจ้ง (No-Shading) และ พรางแสง 50 % ด้วยตาข่าย (Saran) (50% Shading) ปัจจัยที่ 2 อัตราปุ๋ยสูตร 15-15-15 2 ระดับ ได้แก่ 5 และ 10 กรัมต่อกระถาง ทุก ๆ 20 วัน บันทึกการเจริญเติบโตแบบไม่ทำลายต้นเป็นรายสัปดาห์ และแบบทำลายต้น 7 เดือนหลังการทดลอง (Final Growth) และ บันทึกข้อมูล ค่าการชักนำปากใบ, อัตราการสังเคราะห์ด้วยแสงและค่าความเข้มแสงในช่วงความยาวคลื่นที่เป็นประโยชน์กับการสังเคราะห์แสง ผลการทดลองพบว่า การพรางแสงร้อยละ 50 ส่งผลให้จำนวนใบสะสมและความกว้างใบลดลง แต่ทำให้ความยาวก้านใบเพิ่มขึ้น ที่ระดับการพรางแสงดังกล่าวยังทำให้จำนวนดอกสะสม ค่าการชักนำของปากใบและอัตราการสังเคราะห์ด้วยแสงลดลง ส่วนปัจจัยการให้ปุ๋ยที่อัตรา 10 กรัมต่อ 20 วัน ส่งผลให้ จำนวนใบ ความกว้างใบ ความยาวก้านใบ เส้นผ่านศูนย์กลางปล้อง จำนวนข้อ และดัชนีการขยายขนาดของไหล มีค่าเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม การให้ปุ๋ยในอัตราที่แตกต่างกัน ไม่ได้ส่งผลกับค่าอัตราการสังเคราะห์ด้วยแสง ค่าการชักนำปากใบ และค่าความเข้มแสงในช่วงความยาวคลื่นที่เป็นประโยชน์กับการสังเคราะห์แสง ปัจจัยการพรางแสงและปัจจัยอัตราปุ๋ย มีปฏิสัมพันธ์กันในด้านจำนวนใบ ขนาดดอก จำนวนข้อ และน้ำหนักแห้งรวม แต่ไม่พบปฏิสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยในด้านอัตราการสังเคราะห์ด้วยแสง ค่าชักนำปาก‍ใบ ค่าความเข้มแสงในช่วงความยาวคลื่นที่เป็นประโยชน์กับการสังเคราะห์แสง โดยพบว่า การไม่พรางแสงร่วมกับการได้รับปุ๋ยในอัตรา 10 กรัมต่อกระถาง ส่งผลทำให้มีจำนวนใบ ขนาดดอก จำนวนข้อ และน้ำหนักแห้งมากที่สุดen_US
Appears in Collections:AGRI: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
620831037 Sornnarin Suangto.pdf2.23 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.