Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/77877
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorโสระยา ร่วมรังษี-
dc.contributor.authorสุชานุช ใจปินตาen_US
dc.contributor.otherกนกวรรณ ปัญจะมา-
dc.date.accessioned2022-11-19T06:14:11Z-
dc.date.available2022-11-19T06:14:11Z-
dc.date.issued2022-10-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/77877-
dc.description.abstractThe effects of night break, fertilizer rates and nutrient deficiency on growth and development of Cutter (Symphyotrichum ericoides). The research was conducted from December in 2020 to March in 2021 in 2 experiments. Experiment 1: Effect of night-break and fertilizer rates on growth and development of Cutter were studied. This research aimed to study the effects of night-break and fertilizer rates on growth and development of Cutter. Plant was grown under plastics greenhouse with temperature of 27±2 °C, 70 % relative humidity (RH), and the average midday light intensity was 836.0 µmol m-2 s-1. The experimental design was (3×4) +1 factorial treatments in completely randomized design (CRD). Three levels of night-break (2, 3 and 4 hours) and four levels of fertilizer rates (0, 1.5, 3.0 and 4.5 g pot-1) were supplied and compared with control treatment (not receiving night-break and fertilizer). At 8 weeks after planting (WAP), the result found that there had no flowering in control treatment. Plants supplied with night break 3 and 4 hours combination with 1.5 g fertilizer gave the highest of plant height. Moreover, using night break 4 hours combined with fertilizer rate 1.5 g pot-1 gave the greatest in flower quality, such as inflorescence length and number of florets per peduncle, inflorescence fresh and dry weight of Cutter Experiment 2: Studied on the effect of nutrient deficiency on growth and development of Cutter. This research aimed to study the effect of nutrient deficiencies on growth and development of Cutter. The Cutter was grown in hydroponics using double pot system during December in 2020 to March in 2021. The experimental design was Completely Randomizes Design (CRD) with 8 treatments i.e., T1) plant were supplied with Hoagland and Arnon (1950) nutrient solution (control treatment), T2 to T7 plant were supplied with -N, -P, -K, -Ca, -Mg and -Fe, respectively and T8 plant were grown in deionized water (DI water). All deficiency treatments were supplied with same amount of other essential nutrient. The result showed that at 4 weeks after planting (WAP), yellowing were appeared throughout the entire leaf (interveinal chlorosis) when supplied with -Fe treatment. At 8 WAP, the average of plant height in -Ca treatment was the lowest. Plants were showed the yellow leaves with the lowest of leaf greenness in -N treatment when comparing to the other treatment except DI water treatment. While photosynthesis rate in -P treatment was the lowest (0.31 µmol m-2 s-1). Flower quality, such as inflorescence length and number of peduncles per plant were less than other treatments except DI water treatment.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleผลของการเพิ่มแสงคั่นช่วงกลางคืน อัตราปุ๋ย และการขาดธาตุอาหารต่อการเจริญเติบโตของคัตเตอร์ (Symphyotrichum ericoides)en_US
dc.title.alternativeEffects of night-break, fertilizer rate, and nutrient deficiency on growth and development of cutter (Symphyotrichum ericoides)en_US
dc.typeThesis
thailis.controlvocab.thashปุ๋ย-
thailis.controlvocab.thashธาตุอาหารพืช-
thailis.controlvocab.thashคัตเตอร์-
thailis.controlvocab.thashพืช -- การเจริญเติบโต-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการศึกษาผลของการเพิ่มแสงคั่นช่วงกลางคืน อัตราปุ๋ย และการขาดธาตุอาหารต่อการเจริญเติบโตของคัตเตอร์ ทำการทดลองเดือน ธันวาคม 2563 ถึง มีนาคม 2564 ได้ดำเนินการจำนวน 2 การทดลองดังนี้ การทดลองที่ 1 ผลของแสงคั่นช่วงกลางคืน และอัตราปุ๋ยต่อการเจริญเติบโตของคัตเตอร์ การทดลองนี้มุ่งศึกษาผลของการเพิ่มแสงคั่นช่วงกลางคืน และอัตราปุ๋ยที่ส่งผลต่อการเจริญเติบโตของคัตเตอร์ โดยทำการปลูกคัตเตอร์ในโรงเรือนพลาสติกที่มีอุณหภูมิ 27±2 องศาเซลเซียส ความชื้นในอากาศ 70 เปอร์เซ็นต์ ความเข้มแสงเฉลี่ยตอนกลางวัน 836.0 ไมโครโมล/ตารางเมตร/วินาที วางแผนการทดลองแบบแฟคทอเรียลในสุ่มสมบูรณ์ (factorial in completely randomized design) จำนวน 2 ปัจจัย ขนาด (3×4) + 1 กรรมวิธี ปัจจัยที่ 1 คือ จำนวนชั่วโมงที่ให้แสงคั่นช่วงกลางคืน 3 ระดับ (2, 3 และ 4 ชั่วโมง) และปัจจัยที่ 2 คือ อัตราปุ๋ยเม็ด สูตร 15-15-15 จำนวน 4 ระดับ (0, 1.5, 3.0 และ 4.5 กรัมต่อกระถาง) โดยเปรียบเทียบกับกรรมวิธีควบคุม คือไม่ได้รับแสงคั่นช่วงกลางคืนร่วมกับการให้ปุ๋ย ผลการทดลองพบว่า หลังย้ายปลูก 8 สัปดาห์ พืชที่ได้รับกรรมวิธีควบคุมไม่ออกดอก และกรรมวิธีที่ได้รับแสงคั่นช่วงกลางคืนนาน 3 และ 4 ชั่วโมงร่วมกับอัตราปุ๋ย 1.5 กรัมต่อกระถาง มีความสูงต้นเฉลี่ยสูงสุด นอกจากนี้ยังพบว่าคุณภาพดอก ได้แก่ ความยาวช่อดอก จำนวนดอกต่อช่อดอกย่อย น้ำหนักสด และน้ำหนักแห้งช่อดอกสูงสุด เมื่อได้รับแสงคั่นช่วงกลางคืนนาน 4 ชั่วโมงร่วมกับอัตราปุ๋ย 1.5 กรัมต่อกระถาง การทดลองที่ 2 ผลของการขาดธาตุอาหารต่อการเจริญเติบโตของคัตเตอร์ การทดลองนี้มุ่งศึกษาผลของการขาดธาตุอาหารที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของคัตเตอร์ โดยทำการปลูกคัตเตอร์ในระบบไฮโดรพอนิกส์แบบ Double pot ระหว่างเดือนธันวาคม 2563 ถึงมีนาคม 2564 วางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ (Completely Randomizes Design: CRD) จำนวน 8 กรรมวิธี ได้แก่ กรรมวิธีที่ 1 กรรมวิธีควบคุม ให้พืชได้รับสารละลายธาตุอาหารตามสูตรของ Hoagland and Arnon (1950) กรรมวิธีที่ 2 ถึง 7 ให้พืชได้รับสารละลายที่ขาดธาตุไนโตรเจน (-N) ฟอสฟอรัส (-P) โพแทสเซียม (-K) แคลเซียม (-Ca) แมกนีเซียม (-Mg) เหล็ก (-Fe) ตามลำดับ ส่วนธาตุอาหารที่จำเป็นอื่น พืชได้รับในปริมาณเท่ากัน และกรรมวิธีที่ 8 พืชได้รับน้ำปราศจากไอออน (deionized water) ผลการทดลองพบว่าเมื่อสัปดาห์ที่ 4 หลังย้ายปลูก กรรมวิธีที่ขาดธาตุเหล็กพืชแสดงอาการเหลืองระหว่างเส้นใบ และต้นตาย เมื่ออายุหลังจากย้ายปลูก 8 สัปดาห์ พบว่ากรรมวิธีที่ขาดธาตุแคลเซียม พืชมีความสูงต้นน้อยกว่ากรรมวิธีอื่น กรรมวิธีที่ขาดธาตุไนโตรเจนพืชแสดงอาการใบเหลือง และมีค่าความเข้มของสีใบน้อยกว่ากรรมวิธีอื่น ยกเว้นกรรมวิธีที่ปลูกในน้ำที่กำจัดประจุออก ในขณะที่กรรมวิธีที่ขาดธาตุฟอสฟอรัสมีอัตราการสังเคราะห์แสงต่ำที่สุดคือ 0.31 ไมโครโมลต่อตารางเมตรต่อวินาที ด้านคุณภาพดอก ได้แก่ ความยาวช่อดอก และจำนวนช่อดอกย่อยต่อต้นในกรรมวิธีที่ขาดธาตุแคลเซียมมีค่าน้อยกว่ากรรมวิธีอื่น ยกเว้นกรรมวิธีที่ปลูกในน้ำปราศจากไอออนen_US
Appears in Collections:AGRI: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
630831020_สุชานุช ใจปินตา.pdf2.84 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.