Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/77873
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorภาณุพันธุ์ ประภาติกุล-
dc.contributor.authorสายยัน จิดตะวงen_US
dc.date.accessioned2022-11-19T04:08:42Z-
dc.date.available2022-11-19T04:08:42Z-
dc.date.issued2022-09-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/77873-
dc.description.abstractThe objectives of this research were 1) to explore the personal characteristics, economic factors, social factor and some organic vegetable growing condition factors of organic vegetable growers in Vientiane Capital, Lao People's Democratic Republic 2) to study the factors related to knowledge and practices of organic vegetable growers in uses of medicinal herb to control insect pest, in Vientiane Capital, Lao PDR. and 3) to study the problems, needs and recommendations for promoting the use of medicinal herbs for pest control of organic vegetable growers in Vientiane Capital, Lao PDR. The population used in this research was 201 organic vegetable growers in 6 districts in Vientiane Capital, Lao PDR. The sample size was calculated using Taro Yamane's computational formula at an error level of 0.05 and a sample size of 134 people was obtained. Data was collected by using an interview form with a confidence level of 0.74. The data was collected between October to December 2021. The statistics used to analyze the data consisted of the descriptive statistics, including frequency, percentage, maximum, minimum, and standard deviation. The reference statistics used, was the multiple regression analysis with stepwise method. The results showed that most of organic vegetable growers were males with an average age of 46.7 years old. Most of them graduated the High school level 3 (Mathayomsuksa 3), with average household members of 5.3 people, average household labor of 2.6 people, and average number of vegetables growing laborers of 1.63 people. In 2020, the organic vegetable growers had average expenses for growing organic vegetables at 41,864.82 Baht, and net income from growing organic vegetables averaged 114,771.73 Baht. All growers used their own financial capital to invest in growing organic vegetables. Most of them had no debt and had not contacted with the agricultural extension officials about the uses of medicinal herbs to control insect pest, but most of them had received information about the uses of medicinal herbs to control insect pest through the channels of farmer friends and the internet. In terms of growing organic vegetables, they had an average of 6.25 years of planting experience. In the first growing cycle (May to June), the first 5 organic vegetables grown were cantonese cabbage, coriander, chinese leaf, lettuce and spring onions, while the second growing cycle (July to August), the first 5 organic vegetables grown were coriander, morning glory, spring onions, lettuce and spinach. The third growing cycle (September to October), the first 5 organic vegetables grown were lettuce, coriander, kale, cantonese cabbage and spinach and in the fourth growing cycle (November to December), the first 5 vegetables grown were cabbage, cucumber, broccoli, cantonese cabbage and crown daisy. In 2020, the growers had an average area in growing organic vegetables of 4.23 rai and an average organic vegetable yield of 3,154.13 kg. Most of the growers had the moderate knowledge of using the medicinal herb to control insect pest and had the moderate level of practices in using the medicinal herb to control insect pest. The result of the hypothesis testing found that the gender of the growers statistically significant correlated at the 0.05 level, and the farmer's experience of growing organic vegetables statistically significant correlated at the 0.01 level with the knowledge of using the medicinal herb to control insect pest of organic vegetable growers in Vientiane Capital, Lao PDR. While the farmer's education level was statistically significant correlated at the 0.05 level and the experience of growing organic vegetables was statistically significant correlated at the 0.01 level with the practices of using the medicinal herbs to control insect pest of organic vegetable growers in Vientiane Capital, Lao PDR. The research also found that most of growers suffered from a problem of lacking knowledge in using medicinal herbs, a problem of lacking knowledge in extracting the herbs, a problem of scarcity in the cost of using herbs and a problem of shortage of herb sources, a problem about the original knowledge of herb using was inconsistent with the changing of eras and events, a problem of the shortage of knowledge distribution channels on the use of the medicinal herbs, and a problem of lacking the content, knowledge and practical methods of using herbs to control insect pests in organic vegetable cultivation which were easy to understand, respectively. However, most growers needed knowledge and technical techniques in using herbs for modern organic cultivation, quality vegetable seeds that were resistant to pests, a group or a network of cooperation in the field of herbs to prevent pests or to support the procurement of herbs and joining together to cooperate in the production and supply of herbs and to promote the distribution channels of organic vegetables to be more famous. The organic vegetable growers suggested to promote the use of medicinal herbs in organic vegetable growing by organizing trainings on the use of herbs and by encouraging organic vegetable growers to create media and clips on the use of herbs to share and disseminate their knowledge and good practices. They also suggested to promote the establishment of an organic farmer fund and the cooperation network on herbal pest control and to support the use of local herbs as much as possible. Therefore, the relevant agencies in the area should provide trainings on the knowledge and use of medicinal herbs, in terms of promoting knowledge and practices for organic vegetable growers, including new knowledge in the current era that corresponded to changes in plant diseases and pests. The agricultural extension officers should encourage organic vegetable growers to produce media and clips about the use of medicinal herbs to prevent pests in organic vegetable growing and should encourage growers to share and disseminate the knowledge clips on the social media. The officers should encourage organic vegetable growers to establish an organic farmer fund and a group or a network of collaboration about promoting cooperation and procurement of herbs. In addition, the relavant agencies should encourage organic vegetable growers to use the available local medicinal herbs to prevent pests as much as possible.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectสมุนไพรen_US
dc.subjectผักอินทรีย์en_US
dc.subjectสปป.ลาวen_US
dc.subjectorganic vegetableen_US
dc.subjectmedicinal herben_US
dc.subjectLao PDRen_US
dc.titleความรู้และการปฏิบัติของผู้ปลูกผักอินทรีย์ในการใช้สมุนไพรควบคุมแมลงศัตรูพืชในนครหลวงเวียงจันทน์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวen_US
dc.title.alternativeKnowledge and practices of organic vegetable growers in uses of medicinal herb to control insect pest, Vientiane capital, Lao PDRen_US
dc.typeThesis
thailis.controlvocab.thashเกษตรอินทรีย์ -- ลาว-
thailis.controlvocab.thashสมุนไพร -- ลาว-
thailis.controlvocab.thashผัก -- การปลูก -- ลาว-
thailis.controlvocab.thashแมลงศัตรูพืช-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาลักษณะพื้นฐานส่วนบุคคล ปัจจัยทางเศรษฐกิจ ปัจจัยทางสังคม และปัจจัยสภาพการปลูกผักอินทรีย์บางประการของผู้ปลูกผักอินทรีย์ในนครหลวงเวียงจันทน์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความรู้และการปฏิบัติในการใช้สมุนไพรเพื่อป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืชของผู้ปลูกผักอินทรีย์ในนครหลวงเวียงจันทน์ สปป.ลาว และ3) เพื่อศึกษาปัญหา ความต้องการ และข้อเสนอแนะในการส่งเสริมการใช้สมุนไพรเพื่อป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืชของผู้ปลูกผักอินทรีย์ในนครหลวงเวียงจันทน์ สปป.ลาว ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้ปลูกผักอินทรีย์ใน 6 เมือง ในนครหลวงเวียงจันทน์ สปป.ลาว จำนวน 201 คน คำนวณขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยการใช้สูตรคำนวณของ Taro Yamane ที่ระดับความคลาดเคลื่อนที่ 0.05 ได้ขนาดกลุ่มตัวอย่าง 134 คน และใช้การสุ่มตัวอย่างแบบง่ายโดยวิธีการจับสลากแบบไม่ใส่กลับคืน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการใช้แบบสัมภาษณ์ที่มีความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.74 ทำการเก็บข้อมูลตั้งแต่เดือนตุลาคมถึงเดือนธันวาคม พ.ศ. 2564 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วยสถิติพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้สถิติอ้างอิง คือ การวิเคราะห์ถดถอยพหุแบบขั้นตอน (Stepwise method) ผลการวิจัย พบว่า ผู้ปลูกผักอินทรีย์ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 46.7 ปี ส่วนใหญ่สำเร็จการศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีสมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 5.3 คน แรงงานในครัวเรือนเฉลี่ย 2.6 คน มีจำนวนแรงงานจ้างในการปลูกผักเฉลี่ย 1.63 คน ในรอบการปลูกผักอินทรีย์ปี พ.ศ. 2563 ผู้ปลูกผักอินทรีย์มีค่าใช้จ่ายในการปลูกผักอินทรีย์เฉลี่ย 41,864.82 บาท มีรายได้สุทธิจากการปลูกผักอินทรีย์เฉลี่ย 114,771.73 บาท ผู้ปลูกผักอินทรีย์ทั้งหมดใช้ทุนตนเองในการปลูกผักอินทรีย์ โดยส่วนใหญ่ไม่มีภาระหนี้สิน และไม่ได้ติดต่อกับเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรเกี่ยวกับการใช้สมุนไพรป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืช แต่ส่วนใหญ่ได้รับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการใช้สมุนไพรป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืชผ่านช่องทางเพื่อนเกษตรกรและช่องทางอินเทอร์เน็ต โดยสภาพด้านการปลูกผักอินทรีย์ พบว่า ผู้ปลูกผักอินทรีย์มีประสบการณ์ในการปลูกเฉลี่ย 6.25 ปี ในการปลูกผักรอบที่ 1 ในช่วงเดือนพฤษภาคม-เดือนมิถุนายน พบว่า ผู้ปลูกผักอินทรีย์นิยมปลูกผักอินทรีย์ 5 อับดับแรก คือ ผักกวางตุ้ง ผักชี ผักกาดขาว สลัด และต้นหอม การปลูกผักรอบที่ 2 ในช่วงเดือนกรกฎาคม-เดือนสิงหาคม นิยมปลูกผักอินทรีย์ 5 อับดับแรกคือ ผักชี ผักบุ้ง ต้นหอม สลัด และผักโขม การปลูกผักรอบที่ 3 ในช่วงเดือนกันยายน-เดือนตุลาคม นิยมปลูกผักอินทรีย์ สลัด ผักชี คะน้า กวางตุ้ง และผักโขม และการปลูกผักรอบที่ 4 ในช่วงเดือนพฤศจิกายน-เดือนธันวาคม นิยมปลูกผักอินทรีย์ กะหล่ำปลี แตงกวา บร็อคโคลี่ กวางตุ้ง และตั้งโอ๋ โดยในปี พ.ศ. 2563 ผู้ปลูกผักอินทรีย์มีขนาดพื้นที่ปลูกผักอินทรีย์เฉลี่ย 4.23 ไร่ และได้ผลผลิตผักอินทรีย์เฉลี่ย 3,154.13 กิโลกรัม ทั้งนี้ ผู้ปลูกผักอินทรีย์ส่วนใหญ่มีความรู้ในการปลูกผักอินทรีย์อยู่ในระดับปานกลางมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 65.67 และมีการปฏิบัติถูกต้องอยู่ในระดับปานกลางมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 73.13 ผลการทดสอบสมมุติฐาน พบว่า ประสบการณ์การปลูกผักอินทรีย์ของผู้ปลูกผักอินทรีย์มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 กับความรู้ด้านการใช้สมุนไพรป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืชในการปลูกผักอินทรีย์ของผู้ปลูกผักอินทรีย์ในนครหลวงเวียงจันทน์ สปป.ลาว นอกจากนี้ยังพบว่า ระดับการศึกษาของผู้ปลูกผักอินทรีย์มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และประสบการณ์ปลูกผักอินทรีย์ มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 กับการปฏิบัติด้านการใช้สมุนไพรป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืชในการปลูกผักอินทรีย์ของผู้ปลูกผักอินทรีย์ในนครหลวงเวียงจันทน์ สปป.ลาว การวิจัยยังพบว่า ผู้ปลูกผักอินทรีย์ส่วนใหญ่ประสบปัญหาด้านการขาดความรู้ในการนำสมุนไพรมาใช้ และมีปัญหาด้านวิธีการสกัดสมุนไพร ปัญหาการขาดแคลนต้นทุนในการใช้สมุนไพร และปัญหาการขาดแคลนแหล่งของสมุนไพรที่ต้องการนำมาใช้ ปัญหาด้านองค์ความรู้เดิมเกี่ยวกับการใช้สมุนไพรของผู้ปลูกผักอินทรีย์ ไม่สอดคล้องต่อการเปลี่ยนแปลงของยุคสมัยและเหตุการณ์ ปัญหาด้านการขาดแคลนสื่อที่เผยแพร่ข่าวสารเกี่ยวกับการใช้สมุนไพรกำจัดแมลงศัตรูพืช และปัญหาการขาดเนื้อหาความรู้และวิธีการปฏิบัติในการใช้สมุนไพรเพื่อป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืชในการปลูกผักอินทรีย์ที่เข้าใจง่าย ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม ผู้ปลูกผักอินทรีย์ส่วนใหญ่ต้องการความรู้และเทคนิคเชิงวิชาการในการใช้สมุนไพรเพื่อปลูกอินทรีย์แบบสมัยใหม่ ต้องการเมล็ดพันธุ์ผักที่มีคุณภาพและทนทานต่อแมลงศัตรูพืช ต้องการกลุ่มหรือเครือข่ายความร่วมมือในด้านสมุนไพรป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืช เพื่อสนับสนุนด้านการจัดหาสมุนไพร และการรวมตัวกันเพื่อร่วมมือทางด้านการผลิตและจัดหาสมุนไพร ที่จะสามารถนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์กับการปลูกผักอินทรีย์ ตลอดจนต้องการการส่งเสริมช่องทางจำหน่ายผลผลิตผักอินทรีย์ให้กว้างขวางและเป็นที่รู้จักมากขึ้น ทั้งนี้ ผู้ปลูกผักอินทรีย์เสนอแนะให้มีการส่งเสริมการใช้สมุนไพรในการปลูกผักอินทรีย์ด้วยการจัดฝึกอบรมการใช้สมุนไพร และส่งเสริมให้ผู้ปลูกผักอินทรีย์ที่ประสบความสำเร็จในการใช้สมุนไพรจัดทำสื่อและคลิปเกี่ยวกับการใช้สมุนไพรเพื่อแบ่งปันและเผยแพร่ความรู้และการปฏิบัติที่ดี ส่งเสริมการจัดตั้งกองทุนเกษตรกรอินทรีย์ และเครือข่ายความร่วมมือด้านสมุนไพรป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืช และสนับสนุนการใช้สมุนไพรที่มีอยู่ในท้องถิ่นให้มากที่สุด ดังนั้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ควรมีการจัดฝึกอบรมเกี่ยวกับการใช้สมุนไพรให้แก่ผู้ปลูกผักอินทรีย์ ในด้านการส่งเสริมความรู้และแนวทางปฏิบัติแก่ผู้ปลูกผักอินทรีย์ รวมถึงด้านองค์ความรู้ใหม่ในยุคปัจจุบันที่สอดคล้องต่อการเปลี่ยนแปลงของโรคพืชและแมลงศัตรูพืช เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรควรสนับสนุนให้ผู้ปลูกผักอินทรีย์จัดทำสื่อและคลิป เกี่ยวกับการใช้สมุนไพรเพื่อป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืชในการปลูกผักอินทรีย์ และสนับสนุนให้ผู้ปลูกผักอินทรีย์แบ่งปันและเผยแพร่คลิปองค์ความรู้แก่กันทางสื่อสังคมออนไลน์ ควรสนับสนุนให้กลุ่มผู้ปลูกผักอินทรีย์จัดตั้งกองทุนเกษตรกรอินทรีย์ และจัดตั้งกลุ่มหรือเครือข่ายความร่วมมือด้านสมุนไพรป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืช เพื่อส่งเสริมความร่วมมือและจัดหาสมุนไพร นอกจากนี้ ผู้ที่เกี่ยวข้องควรสนับสนุนให้ผู้ปลูกผักอินทรีย์นำสมุนไพรที่มีอยู่ในท้องถิ่นไปใช้เพื่อป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืชให้มากที่สุดen_US
Appears in Collections:AGRI: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
620831057-sayyan chithtavong.pdfวิทยานิพนธ์ฉบับสมบูรณ์ สายยัน จิดตะวง1.36 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.