Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/77866
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorหทัยกาญจน์ เชาวนพูนผล-
dc.contributor.authorรวิวรรณ เอกปันเงินกุลen_US
dc.date.accessioned2022-11-19T03:04:13Z-
dc.date.available2022-11-19T03:04:13Z-
dc.date.issued2022-10-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/77866-
dc.description.abstractObjective: To analyze the situation of medication management in schools (MMS), Chiang Rai Province and to develop the MMS model for the school in Phan District, Chiang Rai Province. Method: This mixed method research had two phases. Phase 1, quantitative research, data were collected by questionnaire in 566 schools of primary and secondary schools under the Office of the Basic Education Commission in Chiang Rai province during July-September 2021. Data were analyzed by descriptive statistics, frequency, and percentage. Phase 2, quality research, the results of the first phase were used as input data for a group discussion of 7 school nurses in Phan District, Chiang Rai Province, and in-depth interviewed with 10 stakeholders including school nurses, school directors, officer under Chiang Rai Primary and Secondary Educational Service Area, and student parents during December 2021-January 2022. The data were analyzed by using content analysis. Result: The majority of schools, 90.44% had one first aid room. About 72% of school had one school nurse, with 73.48% of school nurses did not receive training in medicine use in the past one year. The drugs selection criteria were indication, safety, and efficiency, etc. The schools (82.19%) purchased medicines from drug stores, that the budget was allocated by the schools themselves. However, it was found that the budget was insufficient for medication management. About 13% of schools found dangerous drugs such as Diclofenac, Mefenamic acid and Loperamide, etc. 68.01% of schools did not have a drug practice guideline. As a result, 89.34% of school nurses searched for information on treatment and dispensed medications to students from the Internet. For the services of first aid room, there were 85% routine procedures such as asking students' names and surnames, drug allergies, symptom of illnesses, then dispensing medicines, follow-up treatment and recording data into a service form. In case of referring, students normally referred to primary health care center. There was no clear drug policy in school from policy makers. The participants indicated that the problems in medication management in schools were insufficient number of school nurse, lack of knowledge, lack of medication management budget and no clear drug policy. They suggested to solve problems by training nursing teachers or hiring staff and creating project plans. Participants were required the standard practice guidelines. Conclusion: According to situations and problems about medication management in schools, related stakeholders including health care workers and teachers must cooperate in the development of the MMS model. All sectors should have a meeting to formulate policies, set indicators, determined personnel responsible for medicine in schools that receive medication knowledge training, regularly collect data, plan to use the budget for drug management in schools to be sufficient. And as a result, students are safe to use medicines.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectMedication management in schoolen_US
dc.titleสถานการณ์และรูปแบบการจัดการด้านยาในโรงเรียน จังหวัดเชียงรายen_US
dc.title.alternativeMedication management situations and model in schools, Chiang Rai provinceen_US
dc.typeThesis
thailis.controlvocab.thashยา -- การจัดการ-
thailis.controlvocab.thashยา -- การบริหาร-
thailis.controlvocab.thashโรงเรียน -- เชียงราย-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractวัตถุประสงค์: เพื่อวิเคราะห์สถานการณ์การจัดการด้านยาในโรงเรียน จังหวัดเชียงราย และเพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการด้านยาที่เหมาะสมกับบริบทโรงเรียนในอำเภอพาน จังหวัดเชียงราย วิธีการ: การวิจัยแบบผสมผสาน แบ่งออกเป็น 2 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 การวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แบบสอบถามเก็บข้อมูลในโรงเรียนระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ในจังหวัดเชียงราย จำนวน 566 โรงเรียน ระหว่างเดือนกรกฎาคม ถึง กันยายน 2564 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ในระยะที่ 2 การวิจัยเชิงคุณภาพ โดยนำผลการวิจัยระยะที่ 1 มาเป็นข้อมูลเพื่อใช้การสนทนากลุ่มครูพยาบาลระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา จำนวน 7 ราย ในโรงเรียนอำเภอพาน จังหวัดเชียงราย และการสัมภาษณ์เชิงลึกรายบุคคลของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องด้านยา จำนวน 10 ราย ได้แก่ ผู้อำนวยการโรงเรียนระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา ในอำเภอพาน จังหวัดเชียงราย เจ้าหน้าที่สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาและมัธยมศึกษา เจ้าหน้าที่สาธารณสุขจังหวัดเชียงราย และผู้ปกครองนักเรียนระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา ระหว่างเดือนธันวาคม 2564 ถึง มกราคม 2565 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการศึกษา: โรงเรียนส่วนใหญ่ร้อยละ 90.44 มีห้องพยาบาลประจำโรงเรียน และร้อยละ 72.06 มีครูพยาบาลหนึ่งคนทำหน้าที่ดูแลห้องพยาบาล โดยร้อยละ 73.48 ของครูพยาบาลไม่ได้รับการอบรมความรู้ด้านการใช้ยาในช่วงหนึ่งปีที่ผ่านมา สำหรับเกณฑ์ในการคัดเลือกยา ได้แก่ ข้อบ่งชี้ ความปลอดภัย และประสิทธิภาพ ซึ่งการซื้อยาส่วนใหญ่มาจากร้านยา ร้อยละ 82.19 โดยงบประมาณส่วนใหญ่มาจากการจัดสรรของโรงเรียน อย่างไรก็ตามพบว่างบประมาณยังไม่เพียงพอต่อการจัดการด้านยา มีโรงเรียนร้อยละ 12.87 พบยาอันตราย Diclofenac, Mefenamic acid, Loperamide เป็นต้น และร้อยละ 68.01ไม่มีคู่มือแนวทางการจ่ายยา ส่งผลให้ครูพยาบาลร้อยละ 89.34 สืบค้นข้อมูลการรักษาและจ่ายยาให้แก่นักเรียนจากทางอินเทอร์เน็ต สำหรับการให้บริการของห้องพยาบาลมีขั้นตอนที่ปฏิบัติเป็นประจำร้อยละ 85 ได้แก่ ซักถามชื่อ-สกุลนักเรียน การแพ้ยา อาการเจ็บป่วย การจ่ายยา และติดตามการรักษา พร้อมทั้งบันทึกข้อมูลการใช้ห้องพยาบาล การส่งต่อการรักษาส่วนใหญ่ไปยังโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ในส่วนนโยบายด้านยายังไม่มีนโยบายจากส่วนกลางที่ชัดเจน จากการเก็บข้อมูลบุคคลที่เกี่ยวข้องทั้งในและนอกโรงเรียน พบปัญหาที่เกิดขึ้นในการจัดการด้านยาในโรงเรียน ได้แก่ จำนวนบุคลากรที่ไม่เพียงพอและขาดความรู้ ไม่มีงบประมาณด้านการจัดการด้านยา และไม่มีนโยบายด้านยาที่ชัดเจน ทำให้เกิดข้อเสนอต่อการแก้ไขปัญหาโดยการอบรมให้ความรู้ครูพยาบาล หรือจ้างเจ้าหน้าที่เพิ่ม การเขียนแผนโครงการเพิ่มเติม รวมทั้งโรงเรียนต้องการให้มีความชัดเจนในการออกนโยบายดูแลเรื่องยาในโรงเรียนที่เป็นมาตรฐานจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้มีแนวทางปฏิบัติเหมือนกันทุกโรงเรียน สรุปผลการศึกษา: สถานการณ์และปัญหาการจัดการด้านยาในโรงเรียนที่เกิดขึ้น ต้องอาศัยความร่วมมือของภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ สสอ. รพช. รพสต. และโรงเรียน ในการร่วมกันพัฒนารูปแบบการจัดการด้านยาในโรงเรียน ตั้งแต่การประชุมกำหนดนโยบายพร้อมตัวชี้วัด กำหนดให้มีบุคลากรรับผิดชอบห้องพยาบาลและด้านยาในโรงเรียนที่ได้รับการอบรมความรู้ด้านยา และเก็บข้อมูลอย่างสม่ำเสมอ เพื่อนำไปทำแผนการใช้งบประมาณในการจัดการด้านยาในโรงเรียนให้เกิดความเพียงพอ และส่งผลให้นักเรียนมีความปลอดภัยในการใช้ยาen_US
Appears in Collections:PHARMACY: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
621031005-รวิวรรณ เอกปันเงินกุล.pdf1.88 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.