Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/77808
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorนงค์คราญ วิเศษกุล-
dc.contributor.advisorนงเยาว์ เกษตร์ภิบาล-
dc.contributor.authorวัชราภรณ์ ไพโรจน์en_US
dc.date.accessioned2022-11-05T08:13:22Z-
dc.date.available2022-11-05T08:13:22Z-
dc.date.issued2564-07-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/77809-
dc.description.abstractUrinary tract infection (UTI) in patients with spinal cord injuries is a frequent condition, due to disorder of the urinary excretory system. The patient must receive clean intermittent catheterization by a caregiver. This developmental research aimed to develop video media for caregivers on preventing UTI from clean intermittent catheterization. The sample consisted of 42 caregivers who provided care for the patients undergoing treatment at a regional hospital and required clean urinary catheterization at home. This study was performed from November 2020 to June 2021. Research instruments included a development and design plan for the video media, a video media user opinion questionnaire, a demographic data questionnaire, a knowledge test on preventing UTI from clean intermittent catheterization, and a video media satisfaction questionnaire. All of these instruments were validated by six content experts and three media experts. The content validity index of the knowledge test and the video media satisfaction questionnaire were .95 and 1.00 respectively, and the reliability were .85 and .82 respectively. The efficiency of the video media was tested using one-to- one test, small group, and field test. Data were analyzed using descriptive statistics. The research findings revealed that the video media for this study consisted of two sections. The topic of section one was UTI in patients receiving clean intermittent catheterization which was comprised of the content regarding the definition of clean intermittent catheterization, indication of catheterization, factors related to UTI, the impact of UTI, and mode of transmissions of UTI. The topic of section two was practices for caregivers in preventing UTI from clean intermittent catheterization. The efficiency of the video media was 1.47, achieving Meguigans's standard criteria of 1.00. User satisfaction of the video media was highest for content (4.53-5.00), design and presentation (4.86-5.00), and usability (5.00). The results of the study showed that the video media increased caregivers' knowledge on preventing UTI from clean intermittent catheterization, and it should be disseminated to caregivers to increase knowledge, thus improving practices in preventing UTI from clean intermittent catheterization.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleการพัฒนาสื่อวีดิทัศน์สำหรับผู้ดูแลในการป้องกันการติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะจากการสวนปัสสาวะเป็นเวลาแบบสะอาดen_US
dc.title.alternativeDevelopment of a video media for caregivers in preventing urinary tract infection from clean intermittent catheterizationen_US
dc.typeThesis
thailis.controlvocab.thashทางเดินปัสสาวะติดเชื้อ-
thailis.controlvocab.thashทางเดินปัสสาวะ -- โรค-
thailis.controlvocab.thashผู้ป่วย – การดูแล-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะในผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บไขสันหลังเป็นภาวะที่เกิดขึ้นได้ บ่อย เนื่องจากระบบควบคุมการขับถ่ายปัสสาวะผิดปกติ ซึ่งผู้ป่วยต้องได้รับการสวนปัสสาวะเป็นเวลา แบบสะอาดโดยผู้ดูแล การวิจัยเชิงพัฒนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาสื่อวีดิทัศน์สำหรับผู้ดูแลในการ ป้องกันการติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะจากการสวนปัสสาวะเป็นเวลาแบบสะอาด ศึกษาในกลุ่ม ตัวอย่างคือ ผู้ดูแลผู้ป่วย โดยอยู่ระหว่างการรักษาในโรงพยาบาลศูนย์แห่งหนึ่ง ซึ่งต้องได้รับการสวน ปัสสาวะเป็นเวลาแบบสะอาดเมื่อกลับไปอยู่ที่บ้าน จำนวน 42 คน ดำเนินการวิจัยตั้งแต่เดือน พฤศจิกายน พ.ศ. 2563 จนถึงเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2564 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ แผนการ ออกแบบ และพัฒนาสื่อวีดิทัศน์ แบบสอบถามความคิดเห็นต่อสื่อวีดิทัศน์ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป ของกลุ่มตัวอย่างแบบวัดความรู้ในการป้องกันการติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะจากการสวนปัสสาวะ เป็นเวลาแบบสะอาด และแบบสอบถามความพึงพอใจของผู้ดูแลต่อสื่อวีดิทัศน์ ซึ่งผ่านการตรวจสอบ จากผู้ทรงคุณวุฒิ ด้านเนื้อหาจำนวน 6 ท่าน และผู้ทรงคุณวุฒิด้านสื่อจำนวน 3 ท่าน โดยแบบวัดความรู้ ในการป้องกันการติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะและแบบสอบถามความพึงพอใจของผู้ดูแลต่อสื่อวีดิทัศน์ มีค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหาเท่ากับ .95 และ 1.00 ตามลำดับ และมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .85 และ .82 ตามลำดับ มีการประเมินประสิทธิภาพของสื่อวีดิทัศน์ โดยการนำไปทดสอบแบบหนึ่งต่อหนึ่ง แบบกลุ่มย่อย และแบบภาคสนาม วิเคราะห์ ข้อมูลโดยสถิติเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า สื่อวีดิทัศน์สำหรับผู้ดูแลในการป้องกันการติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะจาก การสวนปัสสาวะเป็นเวลาแบบสะอาด มี 2 ตอน คือ ตอนที่ 1 การติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะใน ผู้ป่ายที่ได้รับการสวนปัสสาวะเป็นเวลาแบบสะอาด ประกอบด้วยความหมายของการสวนปัสสาวะ เป็นเวลาแบบสะอาด ข้อบ่งชี้ในการเริ่มสวนปัสสาวะ ปัจจัยที่ทำให้เกิดการติดเชื้อ ผลกระทบของการ ติดเชื้อ และวิถีทางการได้รับเชื้อเข้าสู่ร่างกาย ตอนที่ 2 การปฏิบัติในการป้องกันการติดเชื้อระบบ ทางเดินปัสสาวะสำหรับผู้ดูแลผู้ป่วยที่ ได้รับการสวนปัสสาวะเป็นเวลาแบบสะอาด โดยประสิทธิภาพ ของสื่อวีทัศน์เท่ากับ 1.47 ซึ่งผ่านเกณฑ์มาตรฐานของเมกุยแกนส์ที่กำหนดค่าไว้ให้มากกว่า 1.00 โดยกลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจต่อสื่อวีดิทัศน์ในการป้องกันการติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะจาก การสวนปัสสาวะเป็นเวลาแบบสะอาด ในระดับมากที่สุดทั้งในด้านเนื้อหา (4.53-5.00) ด้านการ ออกแบบและนำเสนอ (4.86-5.00) และด้านประโยชน์ที่ได้รับ (5.00) ผลการศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าสื่อวีดิทัศน์มีประสิทธิภาพ นำไปให้ความรู้แก่ผู้ดูแลในการ ป้องกันการติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะจากการสวนปัสสาวะเป็นเวลาแบบสะอาด และควรนำไป เผยแพร่เพื่อให้ผู้ดูแลมีความรู้เกี่ยวกับการป้องกันการติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะมากขึ้น นำไปสู่ การปฏิบัติในป้องกันการติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะจากการสวนปัสสาวะเป็นเวลาแบบสะอาดได้ อย่างถูกต้องต่อไปen_US
Appears in Collections:NURSE: Theses
NURSE: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
621231026 วัชราภรณ์ ไพโรจน์.pdf1.37 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.