Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/77806
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorนงเยาว์ เกษตร์ภิบาล-
dc.contributor.advisorนงค์คราญ วิเศษกุล-
dc.contributor.authorมรกต ดอกแก้วen_US
dc.date.accessioned2022-11-05T08:09:08Z-
dc.date.available2022-11-05T08:09:08Z-
dc.date.issued2564-06-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/77806-
dc.description.abstractOperating room nurses are at a high risk of blood and body fluid exposure (BBFE). Practices following standard guidelines may reduce the risk of BBFE. This quasi-experimental research aimed to study the effectiveness of the BBFE prevention program on the knowledge, practice, and BBFE incidence of operating room nurses in a university hospital during March 2020 to May 2021. The study sample consisted of 36 operating room nurses. The BBFE prevention program consisted of training, demonstration, return demonstration, individual and group feedback, and supporting of BBFE prevention equipment. The research instruments used for data collection consisted of demographic questionnaires, a knowledge test, a practice observational recording form and a BBFE incidence form. The content validity of these instruments was examined by six experts. The content validity index of the knowledge test and the practice observational recording form were 0.98 and 0.99, respectively. The reliability of the knowledge test and the interrater reliability of the practice observational recording form were 0.73 and 1.00, respectively. The data were analyzed using descriptive statistics, Wilcoxon signed rank test, Chi-square test and Fisher exact test. The results of the study revealed that after implementing the prevention program, the participants significantly increased knowledge scores on prevention of exposure to BBFE than before implementing from 16.00 to 19.00 out of 20.00 points (p < 0.001) and the proportion of correct practices on prevention of BBFE significantly increased than before implementing from 67.63% to 93.25% (p < 0.001). The incidence of BBFE decreased by 57.00%. The results of the study showed that the BBFE prevention program could improve knowledge and prevention practices, and reduce the incidence of BBFE among operating room nurses. This program should be implemented in other hospitals to prevent BBFE in operating rooms.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleประสิทธิผลของโปรแกรมการป้องกันการสัมผัสเลือดและสารคัดหลั่งในพยาบาลห้องผ่าตัดen_US
dc.title.alternativeEffectiveness of the blood and body fluid exposure prevention program among operating room nursesen_US
dc.typeThesis
thailis.controlvocab.thashพยาบาลห้องผ่าตัด-
thailis.controlvocab.thashการพยาบาลห้องผ่าตัด-
thailis.controlvocab.thashการคัดหลั่ง-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractพยาบาลห้องผ่าตัดมีความเสี่ยงต่อการสัมผัสเลือดและสารคัดหลั่งสูง การปฏิบัติตามแนวปฏิบัติ ที่ได้มาตรฐาน จะช่วยลดความเสี่ยงจากการสัมผัสเลือดและสารคัดหลั่งได้ การวิจัยกึ่งทดลองนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมการสัมผัสเลือดและสารคัดหลั่ง ต่อความรู้ การปฏิบัติ และอุบัติการณ์การสัมผัสเลือดและสารคัดหลั่งของพยาบาลห้องผ่าตัด โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง ดำเนินการวิจัยระหว่างเดือนมีนาคม พ.ศ. 2563 ถึง พฤษภาคม พ.ศ. 2564 กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา คือ พยาบาลห้องผ่าตัด จำนวน 36 คน โปรแกรมส่งเสริมความรู้และการปฏิบัติ ประกอบด้วย การอบรม ให้ความรู้ การสาธิต การสาธิตย้อนกลับ การให้ข้อมูลย้อนกลับรายบุคคล และรายกลุ่ม และการ สนับสนุนอุปกรณ์ที่ใช้ในการป้องกันการสัมผัสเลือดและสารคัดหลั่ง เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวม ข้อมูล ประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบวัดความรู้ แบบสังเกตการปฏิบัติ และแบบบันทึก อุบัติการณ์การสัมผัสเลือดและสารคัดหลั่ง โดยผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ 6 ท่าน ได้ค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหาของแบบวัดความรู้ และแบบสังเกตการปฏิบัติเท่ากับ 0.98 และ 0.99 ตามลำดับ ค่าความเชื่อมั่นของแบบวัดความรู้ และค่าความเชื่อมั่นของการสังเกตได้เท่ากับ 0.73 และ 1.00 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา สถิติทดสอบวิลคอกซัน สถิติไคสแควร์ และสถิติฟิชเชอร์ ผลการศึกษาพบว่า ภายหลังดำเนินโปรแกรม กลุ่มตัวอย่างมีคะแนนมัธยฐานความรู้ในการ ป้องกันการสัมผัสเลือดและสารคัดหลั่งมากกว่าก่อนการดำเนินโปรแกรมจาก 16.00 คะแนน เป็น 19.00 คะแนน จากคะแนนเต็ม 20.00 คะแนน ซึ่งแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.001) และ สัดส่วนการปฏิบัติในการป้องกันการสัมผัสเลือดและสารกัดหลั่งที่ถูกต้องมากกว่าก่อนคำเนิน โปรแกรม จากร้อยละ 67.63 เป็นร้อยละ 93.25 ซึ่งแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.001) และหลังดำเนินโปรแกรม อุบัติการณ์การสัมผัสเลือดและสารคัดหลั่งลดลงร้อยละ 57.00 การวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่า การใช้โปรแกรมการป้องกันการสัมผัสเลือดและสารคัดหลั่ง ทำให้ พยาบาลห้องผ่าตัดมีความรู้และการปฏิบัติในการป้องกันการสัมผัสเลือดและสารคัดหลั่งเพิ่มขึ้น ส่งผลให้อุบัติการณ์การสัมผัสเลือดและสารคัดหลั่งของพยาบาลห้องผ่าตัดลดลง ควรนำโปรแกรมนี้ ไปใช้ในโรงพยาบาลอื่น เพื่อป้องกันการสัมผัสเลือดและสารคัดหลั่งในห้องผ่าตัดen_US
Appears in Collections:NURSE: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
621231022 มรกต ดอกแก้ว.pdf1.41 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.