Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/77778
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorพิศักดิ์ ชินชัย-
dc.contributor.advisorจนัญญา ปัญญามี ทิพย์พยอม-
dc.contributor.authorกวินท์ ศิริเมืองมูลen_US
dc.date.accessioned2022-11-05T04:48:06Z-
dc.date.available2022-11-05T04:48:06Z-
dc.date.issued2022-09-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/77778-
dc.description.abstractCerebrovascular accident or “Stroke” is main cause that led to disability. The severity of stroke depends on the pathology of the brain lesion and there are varying chief complaints. Particularly, upper extremity dysfunction is present in 70 % of stroke patients. Meanwhile, the 35 % of depression is emotional symptom in post stroke. Upper extremity dysfunction and depression affect occupational performance in stroke patients. Art as purposeful activities are types of therapeutic media in occupational therapy to recover stroke patients as far as possible. Umbrella painting activity as art also is believed to encourage upper extremity function and decrease depression in stroke patients. The present study was to investigate the effects of umbrella painting activity on upper extremity function and depression in stroke patients. Recruitment was in Chiang Mai’s rehabilitation center. Sample size was calculated with 22 stroke patients and divided into experimental group and control group equally. The experimental group received painting activity combined with conventional therapy, and the control group received only conventional therapy. The measurements were 1) The Functional Test for Hemiplegic Upper Extremity in Persons with Hemiplegia - Thai Version and 2) The Patient Health Questionnaire - Thai version. The statistical analysis was the Wilcoxon Sign Rank Test and the Mann Whitney U - test. As a result, the experimental group showed significantly improved upper extremity function and reduced depressive symptoms (p > 0.05). The control group improved in upper extremity function and reduced depressive symptoms, but not significantly. Compared between groups, there was no difference in upper extremity function and reduced depressive symptoms after the session. Therefore, umbrella painting activity combined with conventional therapy able to improve upper extremity function and reduce depressive symptoms compared to conventional practice.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectกิจกรรมบำบัดen_US
dc.subjectโรคหลอดเลือดสมองen_US
dc.subjectรยางค์ส่วนบนen_US
dc.subjectความซึมเศร้าen_US
dc.subjectการระบายสีร่มen_US
dc.titleผลของการใช้กิจกรรมระบายสีร่มต่อความสามารถในการใช้รยางค์ส่วนบนและความซึมเศร้าในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองen_US
dc.title.alternativeEffects of umbrella painting activity on upper extremity function and depression in stroke patientsen_US
dc.typeThesis
thailis.controlvocab.thashโรคหลอดเลือดสมอง-
thailis.controlvocab.thashโรคหลอดเลือดสมอง -- ผู้ป่วย-
thailis.controlvocab.thashกิจกรรมบำบัด-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractโรคหลอดเลือดสมองเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดความพิการต่อผู้ป่วย ซึ่งผลกระทบของความพิการที่เกิดขึ้นจากโรคนี้ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของพยาธิสภาพบริเวณของสมอง อาการสำคัญ ได้แก่ อาการอ่อนแรงของรยางค์ส่วนบนซึ่งพบถึงร้อยละ 70 และความซึมเศร้ามักเป็นอารมณ์ที่เกิดขึ้นหลังเกิดโรคหลอดเลือดสมอง พบได้ถึงร้อยละ 35 ซึ่งอาการเหล่านี้ส่งผลต่อความสามารถในการประกอบกิจกรรมการดำเนินชีวิตของผู้ป่วย นักกิจกรรมบำบัดมีบทบาทสำคัญในการบำบัดฟื้นฟูรยางค์ส่วนบน และความซึมเศร้าของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองโดยใช้กิจกรรมที่มีจุดมุ่งหมายเป็นหนึ่งในสื่อของการบำบัดฟื้นฟู ทั้งนี้กิจกรรมระบายสีร่มเป็นรูปแบบหนึ่งที่เชื่อว่าสามารถบำบัดฟื้นฟูความสามารถของรยางค์ส่วนบนและลดความซึมเศร้าได้ วัตถุประสงค์ของการศึกษานี้เพื่อศึกษาผลของกิจกรรมระบายสีร่มต่อความสามารถในการใช้รยางค์ส่วนบนและความซึมเศร้าในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างจากศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพใน จ. เชียงใหม่ จำนวนทั้งหมด 22 คน และสุ่มเลือกเป็นกลุ่มทดลอง 11 คน ซึ่งได้รับกิจกรรมระบายสีร่มในการบำบัดฟื้นฟูรยางค์ส่วนบนร่วมกับ การบำบัดฟื้นฟูสมรรถภาพปกติ และกลุ่มควบคุม 11 คน ซึ่งได้รับการบำบัดฟื้นฟูสมรรถภาพตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ 1) เครื่องมือทดสอบการทำงานของแขนและมือข้างอ่อนแรงในผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีก ฉบับภาษาไทย และ 2) แบบสอบถามสุขภาพผู้ป่วย ฉบับภาษาไทย สถิติที่ใช้ในงานวิจัย คือ Wilcoxon Sign Rank Test และ Mann Whitney U - Test ผลการศึกษาพบว่าผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองกลุ่มทดลองมีความสามารถการใช้งานของรยางค์ส่วนบนหลังจากได้รับกิจกรรมระบายสีร่มเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) เปรียบเทียบกับก่อนการทดลอง ในขณะที่กลุ่มควบคุมมีแนวโน้มของความสามารถในการใช้รยางค์ส่วนบนเพิ่มขึ้นเช่นกันแต่ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ สำหรับความซึมเศร้าพบว่ากลุ่มทดลองมีความซึมเศร้าลดลงหลังจากได้รับกิจกรรมระบายสีร่มอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) เปรียบเทียบกับก่อนการทดลอง ในขณะที่กลุ่มควบคุมมีแนวโน้มความซึมเศร้าลดลงเช่นกันแต่ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ อย่างไรก็ตามเมื่อเปรียบเทียบตัวแปรศึกษาทั้ง 2 ด้านระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม พบว่าคะแนนความสามารถของรยางค์ส่วนบน และคะแนนความซึมเศร้าไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติทั้งก่อนและหลังการทดลอง ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าการใช้กิจกรรมระบายสีร่มร่วมกับการบำบัดฟื้นฟูสมรรถภาพปกติสามารถเพิ่มความสามารถในการใช้รยางค์ส่วนบนและลดความซึมเศร้าในผู้ป่วยกลุ่มนี้ได้en_US
Appears in Collections:AMS: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
601131043-KAWIN SIRIMUENGMOON.pdf9.18 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.