Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/74218
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | เทพินทร์ พัชรานุรักษ์ | - |
dc.contributor.advisor | อารตี อยุทธคร | - |
dc.contributor.author | อภิญญ์ พรหมจันทร์ | en_US |
dc.date.accessioned | 2022-10-15T08:11:44Z | - |
dc.date.available | 2022-10-15T08:11:44Z | - |
dc.date.issued | 2564-08 | - |
dc.identifier.uri | http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/74218 | - |
dc.description.abstract | This qualitative research explores consumption practices of frozen ready meals in relation to health concepts in the context of urban society and modern food industry. Based on the social practice concept developed by Elizabeth Shove and colleagues, this research explains to what extent the interaction between three elements: Material, Competence, and Meaning initiate and change eating practices. The researcher uses documentary research and in-depth interview method to collect data from 19 participants living in urban area Chiang Mai. The participants are recruited by purposive sampling with different age, sex, occupation, and economic status. The participants consist of students, the medical profession, office workers, and freelance with different sociocconomic backgrounds. The result shows that eating practice is not independent behavior but it is shaped by urban condition and food industry, which impacts the participants' lifestyle, work pattern, food accessibility, food availability, and other social service. The participants eating practice consists of three elements which are interaction. Firstly, material involves food packaging, refrigerator, microwave oven, food transport system, and convenience store. Secondly, competence refers to knowledge and experience about buying, preparing, and eating. Finally, meaning of practice relates to convenience, unhealthy food; stale food, artificial food, and less nutrition. Even though the participants perceive the frozen ready food as unhealthy food, they alternatively consume fruits and other healthy foods as well as getting enough sleep. | en_US |
dc.language.iso | other | en_US |
dc.publisher | เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | en_US |
dc.title | พฤติกรรมการบริโภคอาหารแช่แข็งพร้อมทานในเขตสังคมเมืองเชียงใหม่ | en_US |
dc.title.alternative | Consumption practice of frozen ready meals in urban Chiangmai | en_US |
dc.type | Thesis | |
thailis.controlvocab.thash | พฤติกรรมผู้บริโภค -- เชียงใหม่ | - |
thailis.controlvocab.thash | อาหารแช่แข็ง | - |
thesis.degree | master | en_US |
thesis.description.thaiAbstract | วิทยานิพนธ์เรื่องพฤติกรรมการบริโภคอาหารแช่เข็งพร้อมทานในเขตสังคมเมืองเชียงใหม่ เป็นการศึกษาวิจัยชิงคุณภาพ เพื่ออธิบายความสัมพันธ์ของสังคมเมือง เศรษฐกิจ แนวคิดและการ ให้ความหมายอาหารและสุขภาพที่ส่งผลต่อปฏิบัติการบริโภคอาหารแช่แข็งพร้อมทาน ผ่านแนวคิด ปฏิบัติการทางสังคมของโชฟและคณะ โดยมุ่งอธิบายผ่านความสัมพันธ์ของ 3 องค์ประกอบสำกัญ ที่มีความสัมพันธ์กัน ได้แก่ วัตถุ ความสามารถและการให้ความหมาย การศึกษาครั้งนี้มีขอบเขต และพื้นที่ในการศึกษาคือ พื้นที่อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ ประชากรที่ศึกษาคือ กลุ่ม ผู้บริโภคอาหารแช่แข็งพร้อมทาน โดยมีเกณฑ์การคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงและมีความ แตกต่างทางเพศ อายุ อาชีพ ฐานะทางเศรษฐกิจ จำนวน 19 ราย ประกอบด้วย นักศึกษา บุคลากร ทางการแพทย์ พนักงานประจำ และรับจ้างทั่วไป เพื่อสามารถเข้าใจแบบแผนการดำเนินชีวิต พฤติกรรมการบริโภคอาหารและการให้ความหมาย โดยมีการศึกษาเชิงเอกสารและการสัมภาษณ์ เชิงลึกรายบุคคลเป็นเครื่องมือในการศึกษา ผลการศึกษา พบว่า ปฏิบัติการบริโภคอาหารแช่แข็งพร้อมทานไม่ได้เกิดขึ้นจากการ ตัดสินใจของผู้บริโภคอย่างเป็นอิสระ แต่ถูกกำกับด้วยบริบทสังคมเมืองและอุตสาหกรรมอาหารที่ เข้ามากำกับวิถีชีวิต แบบแผนการทำงาน การเข้าถึงและการมีอยู่ของอาหารและบริการต่างๆที่เอื้อ ให้ผู้บริโภคมีแบบแผนการบริโภคอาหารเป็นไปในทิศทางเดียวกันและมีจุดมุ่งหมายร่วมกัน ผ่าน ความสัมพันธ์ระหว่าง 3 องค์ประกอบ ประกอบด้วย วัตถุของปฏิบัติการชุดนี้ได้แก่ บรรจุภัณฑ์ อาหาร ตู้เย็น ไมโครเวฟ ระบบการขนส่ง ร้านสะดวกซื้อ ล้วนเป็นวัตถุเกิดขึ้นและมีการเปลี่ยน แปลงอยู่เสมอตามบริบทเวลาและสถานที่ นอกจากนี้การเกิดขึ้นของวัตถุยังมีความสัมพันธ์กับ ความสามารถของผู้ปฏิบัติที่มีการเรียนรู้ สั่งสมเป็นความสามารถที่สอดคล้องกับการเลือกซื้อ การ เตรียมและการรับประทานอาหาร รวมถึงผู้บริโภคได้ให้ความหมายของปฏิบัติการนี้ว่าเป็นไปเพื่อ ความสะดวก ความรวดเร็ว แต่เมื่อให้ความหมายผ่านกรอบคิดทางด้านอาหารและสุขภาพกลับให้ ความหมายว่าอาหารแช่แข็งพร้อมทานเป็นอาหารที่ไม่สดใหม่ มีปริมาณสารอาหารไม่เพียงพอต่อ ความต้องการของร่างกาย ซึ่งเป็นอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพ ส่งผลให้ผู้บริโภคในสังคมเมืองต้อง แสวงหาแนวทางปฏิบัติรูปแบบอื่นๆ เข้ามาทดแทนการบริโภคอาหารแช่แข็งพร้อมทานเพื่อ ส่งเสริมการมีสุขภาพที่ดี เช่น การเพิ่มการรับประทานผลไม้ การนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ หรือ แม้ว่าการเพิ่มการรับประทานอาหารอื่นๆ ที่ดีต่อสุขภาพเมื่อมีโอกาส เป็นต้น | en_US |
Appears in Collections: | SOC: Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
590431006 อภิญญ์ พรหมจันทร์.pdf | 1.59 MB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.