Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/74194
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | พรชัย วิสุทธิศักดิ์ | - |
dc.contributor.author | พิมพร สุทะเงิน | en_US |
dc.date.accessioned | 2022-10-15T07:07:00Z | - |
dc.date.available | 2022-10-15T07:07:00Z | - |
dc.date.issued | 2565 | - |
dc.identifier.uri | http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/74194 | - |
dc.description.abstract | Innovations took place to bring about food delivery apps on mobile devices. Companies create platforms enabling customers to order food from their phone or tablet and this order will be collected and delivered by a motorcycle driver. However, such employment contracts between the platform provider and the delivery drivers act to deem the workers as self-employed, which do not offer the workers the protections of labor law. When the employees suffer an injury or sickness caused by their work, the platform owner is not held responsible to pay compensation for lost income. Driving a motorcycle to deliver food involves the risk of road accidents or contracting illness. Being classed as self-employed means the worker has to take personal responsibility for this instead of the company who owns the application. Therefore, the author studied the laws concerning this matter and seeked to learn if there was any law that provides protection in case of an employee in this field becoming sick or injured through their work. Furthermore, if they have to stop work in order to recover, what law can seek to provide compensation for lost income from their lack of work. From my studies, it was found that the only law pertaining workers of this nature is the Road Accident Victim Protections Act B.E. 2535 (1992). This financial compensation due to lost income at the amount of 200 baht per day for a maximum of 20 days if it could be proven that the worker was the innocent party in a road accident. And the Social Security Act B.E. 2533 (1990) according to section 40. The worker must have made enough contributions according to the period specified by the law before being faced with injury or sickness in order to qualify for this protection. | en_US |
dc.language.iso | other | en_US |
dc.publisher | เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | en_US |
dc.subject | Labor Law | en_US |
dc.subject | Platform Labor | en_US |
dc.subject | Gig | en_US |
dc.title | ช่องว่างกฎหมายความสัมพันธ์การจ้างงานกับการให้ความคุ้มครอง กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยจากการทำงาน และการจ่ายเงินทดแทนการขาดรายได้ของแรงงานส่งอาหารผ่านแอปพลิเคชัน | en_US |
dc.title.alternative | The Absence of law regarding labor relations and protections for food-delivery app riders in the case of work hazards and the matter of compensation for loss of income | en_US |
dc.type | Thesis | |
thailis.controlvocab.thash | การจ้างงาน | - |
thailis.controlvocab.thash | แรงงาน -- รายได้ | - |
thailis.controlvocab.thash | กฎหมายแรงงาน | - |
thesis.degree | master | en_US |
thesis.description.thaiAbstract | การพัฒนานวัตกรรมของทุนนิยม นำมาซึ่งแพลตฟอร์มการส่งอาหารผ่านแอปพลิเคชัน ซึ่งบริษัทเจ้าของแพลตฟอร์มได้ประกาศรับสมัครแรงงานส่งอาหาร ให้ทำหน้าที่ส่งอาหารตามคำสั่งของลูกค้าหรือผู้ใช้บริการที่ปรากฎบนหน้าจอโทรศัพท์ โดยใช้จักรยานยนต์เป็นพาหนะในการทำงาน แต่สัญญาการจ้างงานดังกล่าวมิใช่การจ้างแรงงานในฐานะลูกจ้าง มีผลทำให้แรงงานมีสถานะเป็นแรงงานอิสระ ไม่มีนายจ้าง จึงไม่อยู่ภายใต้การคุ้มครองของกฎหมายแรงงานที่มุ่งให้ความคุ้มครองเฉพาะความสัมพันธ์การจ้างงานแบบลูกจ้าง-นายจ้าง เมื่อแรงงานส่งอาหารผ่านแอปพลิเคชันประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยจากการทำงาน บริษัทเจ้าของแพลตฟอร์มจึงไม่มีหน้าที่ในการจ่ายเงินทดแทนการขาดรายได้ จากลักษณะการทำงานที่ต้องขับขี่รถในการส่งอาหาร ชีวิตของแรงงานจึงมีความเสี่ยงต่ออุบัติเหตุบนท้องถนนเป็นอย่างมาก ขณะเดียวกันด้วยสถานะแรงงานอิสระทำให้ต้องรับผิดชอบชีวิตในการทำงานด้วยตัวเอง จึงได้ทำการศึกษาว่าภายใต้กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์การจ้างงานของแรงงานส่งอาหารผ่านแอปพลิเคชัน มีกฎหมายใดบ้างที่ให้ความคุ้มครองกรณีการประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยจากการทำงาน และหากต้องรักษาตัวไม่สามารถทำงานได้จะมีกฎหมายใดบ้างที่จ่ายเงินทดแทนการขาดรายได้ให้กับแรงงานเหล่านั้น ผลการศึกษาพบว่ากฎหมายที่จ่ายเงินทดแทนการขาดรายได้ให้แก่แรงงานส่งอาหาร กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยจากการทำงาน ขณะใช้พาหนะ มีเพียงพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 ที่จ่ายเงินทดแทนการขาดรายได้ให้วันละ 200 บาททั้งนี้ไม่เกิน 20 วัน หากพิสูจน์ได้ว่าเป็นฝ่ายถูกหรือเป็นผู้ประสบภัยจากรถ และจะได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้จากพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ.2533 ด้วยหากเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 40 แต่ทั้งนี้จะต้องส่งเงินสมทบมาแล้วเป็นระยะเวลาตามที่กฎหมายกำหนดก่อนประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย จึงจะได้รับความคุ้มครอง | en_US |
Appears in Collections: | LAW: Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
นางสาวพิมพร สุทะเงิน.pdf | 1.39 MB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.