Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/74173
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorจุฑามาศ โชติบาง-
dc.contributor.advisorพัชรี วรกิจพูนผล-
dc.contributor.authorสุวรรณา หมูจุนen_US
dc.date.accessioned2022-10-02T01:21:01Z-
dc.date.available2022-10-02T01:21:01Z-
dc.date.issued2022-08-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/74173-
dc.description.abstractPreschool children are at the most critical stage of brain development in which positive discipline in raising children has been positively correlated with brain development, social development, emotional development, communication and behavior. Caregivers are important persons for fostering positive discipline in preschool-aged children. This quasi-experimental research was done to compare the positive discipline enhancement of preschool children’s caregivers between the control and the experimental groups and to compare positive discipline enhancement of preschool children’s caregivers before and after participating in the empowerment enhancement program. The sample for the study consisted of 38 caregivers for preschool children who lived in Ontai sub-district, Chiang Mai province, from April to June 2022. The sample was selected according to qualifications, and participants were divided into a control and an experimental group of 19 people each. The control group did not receive the empowerment enhancement program on positive discipline, while the experimental group did. The research instruments were 1) the empowerment enhancement program on positive discipline of preschool children’s caregivers; 2) the positive discipline enhances empowerment manual for preschool children’s caregivers; and 3) a form on positive discipline enhancement of the preschool children’s caregiver. Data were analyzed using descriptive statistics and T-test. The results revealed that the average positive discipline enhancement scores of preschool children’s caregivers who received the empowerment enhancement program were significantly higher than those of caregivers who did not received the empowerment enhancement program on positive discipline (p < .001). It was also found that the positive discipline enhancement scores of preschool children’s caregivers, after participating in the empowerment enhancement program, were significantly higher than before participating (p < .001). The research findings will be able to guide pediatric nurses to appropriately enhance the positive discipline of preschool children’s caregivers.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอํานาจen_US
dc.subjectการสร้างวินัยเชิงบวกen_US
dc.subjectเด็กวัยก่อนเรียนen_US
dc.subjectผู้ดูแลเด็กวัยก่อนเรียนen_US
dc.titleผลของโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอํานาจสําหรับผู้ดูแลต่อการสร้างวินัยเชิงบวกในเด็กวัยก่อนเรียนen_US
dc.title.alternativeEffect of the empowerment enhancement program for caregivers on positive discipline among preschool childrenen_US
dc.typeThesis
thailis.controlvocab.thashวินัยของเด็ก-
thailis.controlvocab.thashการเลี้ยงดูเด็ก-
thailis.controlvocab.thashเด็ก -- การดูแล-
thailis.controlvocab.thashผู้ดูแลเด็ก-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractเด็กวัยก่อนเรียนเป็นช่วงวัยของชีวิตที่สำคัญที่สุดต่อการพัฒนาสมองของเด็ก ซึ่งการเลี้ยงดูเด็กโดยใช้วินัยเชิงบวกมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับพัฒนาการด้านสมอง พัฒนาการด้านสังคม พัฒนาการด้านอารมณ์ การสื่อสารและพฤติกรรม ผู้ดูแลเป็นบุคคลที่มีความสำคัญต่อการสร้างวินัยเชิงบวกให้กับเด็กวัยก่อนเรียน การศึกษาวิจัยแบบกึ่งทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบการสร้างวินัยเชิงบวกของผู้ดูแลเด็กวัยก่อนเรียนระหว่างกลุ่มทดลองกับกลุ่มควบคุม และเปรียบเทียบการสร้างวินัยเชิงบวกของผู้ดูแลเด็กวัยก่อนเรียนระหว่างก่อนและหลังได้รับโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ดูแลเด็กวัยก่อนเรียนจำนวน 38 ราย ที่อาศัยอยู่ในเขตเทศบาลตำบลออนใต้ จังหวัดเชียงใหม่ ตั้งแต่เดือน เมษายน 2565 ถึงเดือน มิถุนายน 2565 เลือกกลุ่มตัวอย่างตาม คุณสมบัติที่กำหนดโดยแบ่งเป็นกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองกลุ่มละ 19 ราย กลุ่มควบคุมไม่ได้รับโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจ ส่วนกลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) โปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจต่อการสร้างวินัยเชิงบวกของผู้ดูแลเด็กวัยก่อนเรียน 2) คู่มือการสร้างวินัยเชิงบวกของผู้ดูแลเด็กวัยก่อนเรียน และ 3) แบบประเมินการสร้างวินัยเชิงบวกในผู้ดูแลเด็กวัยก่อนเรียน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า ผู้ดูแลเด็กวัยก่อนเรียนกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจมีค่าเฉลี่ยคะแนนการสร้างวินัยเชิงบวกมากกว่ากลุ่มที่ไม่ได้รับโปรแกรมเสริมสร้างพลังอำนาจอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .001) และพบว่าคะแนนการสร้างวินัยเชิงบวกผู้ดูแลเด็กวัยก่อนเรียนภายหลังการเข้าร่วมโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจมีคะแนนเฉลี่ยของการสร้างวินัยเชิงบวกสูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .001) ผลการวิจัยนี้สามารถใช้เป็นแนวทางสำหรับการเสริมสร้างพลังอำนาจให้แก่ผู้ดูแลต่อการสร้างวินัยเชิงบวกในเด็กวัยก่อนเรียนต่อไปen_US
Appears in Collections:NURSE: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
631231175 สุวรรณา หมูจุน watermark.pdf1.99 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.