Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/74156
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | สายนที เฉินบำรุง | - |
dc.contributor.author | พลอยไพลิน ฉัตตะวิริยะ | en_US |
dc.date.accessioned | 2022-09-28T09:51:19Z | - |
dc.date.available | 2022-09-28T09:51:19Z | - |
dc.date.issued | 2022-08 | - |
dc.identifier.uri | http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/74156 | - |
dc.description.abstract | The independent study on “Consumer Behavior Towards Buying Plant-based Food” aimed to examine the behavior of consumers towards buying plant-based food and the questionnaires were used as a tool to collect data. Samples of this study were the consumers of plant-based food: Plant-based Meat and Plant-based Meal. Since the number of samples was uncertain, Ken Black, 2007’s formula with a 95% of confidence level and a 5% of error level was applied to determine the sample size for this study. According to this formula, the sample size for this study was suggested to be 385 consumers. The study was conducted in accordance with the theoretical frameworks on consumer behavior and marketing mix. The obtained data were analyzed by descriptive statistics: frequency, percentage, and means. In addition, the inferential statistics: One-Way ANOVA was also applied to compare the marketing mix’s mean values derived from different groups of age, monthly income, and consumption expense in a meal. The pairwise test of differentiation level in each sub-factor was conducted in accordance with the Scheffe method. The findings showed that most respondents were male, aged 30-39 years old, and single. They graduated with bachelor's degrees and worked as employees in a private company. They earned an income of over 30,000 Baht. Results of the study on consumer behavior towards buying plant-based food revealed that the brand of plant-based food that the respondents bought the most was Meat Avatar; followed by More Meat, and Beyond Meat, respectively. They usually bought plant-based meat products from a hypermarket. Reasons for buying the studied products were to try the plant-based meats; followed by to control weight, and to consume contaminated-free food, respectively. They decided to buy the studied products by themselves. The frequency of buying plant-based meat products was less than once a week. They acknowledged the plant-based meat products mostly through online advertising such as websites and Facebook. In a meal, they spent around 100-250 Baht on plant-based food. Results of the study on the importance of marketing mix for plant-based meals suggested that the marketing mix affected their buying decision at a moderate level. The factor with the highest mean values was product; followed by price, promotion, and place factors, respectively. In the product factor, the top-three sub-factors with the highest mean values were full of nutrition; good quality of raw materials; and standard certification. In the price factor, the top-three sub-factors with the highest mean values were the reasonable price compared to the convenience of buying it; the reasonable price compared to the manufacturing process, and the reasonable price compared to the nutrition. In the place factor, the top-three sub-factors with the highest mean values were the convenience of buying products from general department stores and supermarkets; the convenience location where was located near their residence; and the convenient location where was located near their workplace. In the promotion factor, the top-three sub-factors with the highest mean values were online advertising and activities through Facebook, LINE, etc.; the arrangement of promotion booths at the points-of-sale: department stores and shops; the special price offer during the product introduction phase: discount coupon. Results of the differentiation test presented that the respondents in different groups of age paid importance to the marketing mix factors namely product, price, place, and promotion differently at statistical significance. Results of the differentiation test presented that the respondents in different groups of income paid importance to the marketing mix factors namely product, price, place, and promotion differently at statistical significance. Results of the differentiation test presented that the respondents in different groups of consumption expense in a meal paid importance to the marketing mix factors namely product, price, and place differently at statistical significance. However, in promotion factor, the difference at statistical significance was not found among the respondents in different groups of consumption expense in a meal. | en_US |
dc.language.iso | other | en_US |
dc.publisher | เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | en_US |
dc.title | พฤติกรรมผู้บริโภคในการซื้ออาหารจากพืช | en_US |
dc.title.alternative | Consumer behavior towards buying plant-based food | en_US |
dc.type | Thesis | |
thailis.controlvocab.thash | พฤติกรรมผู้บริโภค | - |
thailis.controlvocab.thash | ผู้บริโภค | - |
thailis.controlvocab.thash | อาหารเพื่อสุขภาพ | - |
thailis.controlvocab.thash | อาหารธรรมชาติ | - |
thesis.degree | master | en_US |
thesis.description.thaiAbstract | การค้นคว้าอิสระเรื่องพฤติกรรมของผู้บริโภคในการซื้ออาหารจากพืช มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมของผู้บริโภคในการเลือกซื้ออาหารจากพืช ผู้ศึกษาได้เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม ประชากรในการศึกษาครั้งนี้ คือ กลุ่มผู้บริโภคที่เคยบริโภคอาหารจากพืช อาหารจากพืช ได้แก่ Plant-based Meat และ Plant-based Meal ซึ่งไม่ทราบจำนวนประชากรที่ชัดเจน จึงใช้สูตรการคำนวณหาขนาดกลุ่มตัวอย่างของ (Ken Black, 2007) โดยกำหนดค่าระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 และระดับความคลาดเคลื่อนร้อยละ 5 ได้ขนาดของกลุ่มตัวอย่างจำนวน 385 ราย โดยศึกษาตามกรอบของทฤษฎีพฤติกรรมผู้บริโภคและทฤษฎีส่วนประสมการตลาด ข้อมูลที่ได้นำมาวิเคราะห์โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistics) เพื่อหาความถี่ (Frequency) และค่าร้อยละ (Percent) ค่าเฉลี่ย (Mean) และใช้สถิติอนุมาน ได้แก่ การวิเคราะห์ความแปรปรวน (One-Way ANOVA) โดยใช้การเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยปัจจัยส่วนประสมการตลาด จำแนกตามอายุ รายได้เฉลี่ยต่อเดือน และค่าใช้จ่ายในการบริโภคต่อมื้อ โดยทำการทดสอบความแตกต่างของระดับปัจจัยย่อยเป็นรายคู่ ด้วยวิธีการของเชฟเฟ่ (Scheffe) ผลการศึกษา พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุระหว่าง 30-39 ปี สถานภาพโสด จบการศึกษาระดับปริญญาตรี ประกอบอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน มีรายได้มากกว่า 30,000 บาท พฤติกรรมผู้บริโภคในการซื้ออาหารจากพืช พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามเลือกซื้อยี่ห้ออาหารที่ผลิตมาจากพืช ยี่ห้อ Meat Avatar มากที่สุด รองลงมา คือ ยี่ห้อ More Meat และยี่ห้อ Beyond Meat ตามลำดับ ซื้อผลิตภัณฑ์เนื้อที่ผลิตมาจากพืชผ่านช่องทางห้างค้าปลีกขนาดใหญ่ เหตุผลในการซื้อเพื่อต้องการลองบริโภคเนื้อสัตว์ที่ผลิตจากพืชมากที่สุด รองลงมา คือ เพื่อต้องการควบคุมน้ำหนัก และปลอดภัยจากการปนเปื้อนของสารพิษ ตามลำดับ โดยมีการตัดสินใจซื้อด้วยตนเอง มีความถี่ในการซื้อผลิตภัณฑ์เนื้อที่ผลิตมาจากพืชน้อยกว่า 1 ครั้งต่อสัปดาห์ โดยรับทราบข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์เนื้อที่ผลิตมาจากพืชจากโฆษณาทางสื่อออนไลน์ เช่น เว็บไซต์ เฟซบุ๊ค ฯลฯ มากที่สุด โดยมีค่าใช้จ่ายในการบริโภคต่อมื้อระหว่าง 100-250 บาท ส่วนประสมการตลาดที่มีความสำคัญต่อการซื้ออาหารจากพืช พบว่า มีผลต่อการตัดสินใจซื้อในระดับปานกลาง โดยปัจจัยที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือ ปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์ รองลงมา คือ ปัจจัยด้านราคา ปัจจัยด้านการส่งเสริมการตลาด และปัจจัยด้านช่องทางการจัดจำหน่าย ตามลำดับ ปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์ ปัจจัยย่อยที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด 3 ลำดับแรก ได้แก่ คุณค่าทางอาหารครบถ้วน ใช้วัตถุดิบที่มีคุณภาพ และได้ผ่านการรับรองมาตรฐาน ปัจจัยด้านราคา ปัจจัยย่อยที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด 3 ลำดับแรก ได้แก่ ราคามีความเหมาะสมเมื่อเทียบกับความสะดวกในการหาซื้อผลิตภัณฑ์ ราคามีความเหมาะสมเมื่อเทียบกับกระบวนการผลิต และราคามีความเหมาะสมเมื่อเทียบกับประโยชน์ของสารอาหารที่ได้รับ ปัจจัยด้านช่องทางการจัดจำหน่าย ปัจจัยย่อยที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด 3 ลำดับแรก ได้แก่ หาซื้อผลิตภัณฑ์ได้อย่างสะดวก มีจำหน่ายในห้างสรรพสินค้าและซุปเปอร์มาร์เก็ตทั่วไป ทำเลที่ตั้งของร้านค้าที่จำหน่ายอยู่ใกล้บ้าน และทำเลที่ตั้งของร้านค้าที่จำหน่ายอยู่ใกล้ที่ทำงาน ปัจจัยด้านการส่งเสริมการตลาด ปัจจัยย่อยที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด 3 ลำดับแรก ได้แก่ มีการโฆษณาผลิตภัณฑ์และจัดกิจกรรมผ่านระบบออนไลน์ เช่น เฟซบุ๊ค ไลน์ ฯลฯ มีการจัดบูทประชาสัมพันธ์แนะนำผลิตภัณฑ์เนื้อที่ผลิตมาจากพืช ณ จุดจำหน่าย เช่น ห้างสรรพสินค้า ร้านค้าที่จำหน่ายผลิตภัณฑ์ มีการเสนอราคาพิเศษในช่วงแนะนำผลิตภัณฑ์เนื้อที่ผลิตมาจากพืช เช่น ส่วนลดคูปองเพื่อซื้อผลิตภัณฑ์เนื้อที่ผลิตมาจากพืชในราคาพิเศษ ผลเปรียบเทียบความแตกต่าง พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามที่มีอายุแตกต่างกันให้ความสำคัญกับปัจจัยส่วนประสมการตลาด ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านราคา ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย และด้านการส่งเสริมการตลาด แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ผลเปรียบเทียบความแตกต่าง พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามที่มีรายได้แตกต่างกันให้ความสำคัญกับปัจจัยส่วนประสมการตลาด ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านราคา ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย และด้านการส่งเสริมการตลาด แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ผลเปรียบเทียบความแตกต่าง พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามที่มีค่าใช้จ่ายในการบริโภคต่อมื้อแตกต่างกันให้ความสำคัญกับปัจจัยส่วนประสมการตลาด ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านราคา ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ อย่างไรก็ตาม พบว่า ด้านการส่งเสริมการตลาด ผู้ตอบแบบสอบถามที่มีค่าใช้จ่ายในการบริโภคต่อมื้อแตกต่างกันให้ความสำคัญต่อส่วนประสมการตลาด ด้านการส่งเสริมการตลาด ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ | en_US |
Appears in Collections: | BA: Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
631532069-พลอยไพลิน ฉัตตะวิริยะ.pdf | 2.21 MB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.