Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/74154
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorนงค์คราญ วิเศษกุล-
dc.contributor.advisorนงเยาว์ เกษตร์ภิบาล-
dc.contributor.authorเจนจิรา อยู่อินทร์en_US
dc.date.accessioned2022-09-28T00:55:17Z-
dc.date.available2022-09-28T00:55:17Z-
dc.date.issued2021-07-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/74154-
dc.description.abstractHospital-acquired infections are a major contributor to severe illnesses and death in patients. A relative of a patient is a person who has close contact with the patient and has the opportunity to be exposed and transmit microorganisms in the hospital. This descriptive correlational study aimed to examine the knowledge, attitudes, and practices of relatives regarding infection transmission prevention in a hospital, and to study the relationship between the knowledge, attitudes, and practices of relatives regarding infection transmission prevention in a hospital. The participants were 285 relatives of patients who visited and provided care for patients in medical units of a tertiary care hospital from November 2020 to May 2021. The research instrument was a questionnaire consisting of four parts: demographic data, knowledge of infection transmission prevention in a hospital, attitudes towards infection transmission prevention in a hospital, and practices of infection transmission prevention in a hospital among relatives of patients. The content validity of the questionnaire was examined by six experts. The content validity index was .95, .98, and .96 respectively. The reliability of the knowledge, attitudes, and practices parts of the questionnaire were .82, .81, and .80 respectively. Data were analyzed using descriptive statistics. The relationship between knowledge, attitudes, and practices of infection transmission prevention in a hospital among relatives of patients was analyzed using the Spearman correlation coefficients. The research findings showed that the participants had knowledge of infection transmission prevention in a hospital at a high level with a median score of 22 out of 25 points. The samples had attitudes regarding infection transmission prevention at a high level with a median score of 64 out of 80 points, and practice was at a moderate level with a median score of 38 out of 60 points. It was also found that the participants’ knowledge and attitudes regarding infection transmission prevention in a hospital among relatives of patients were positively correlated at a low level with a statistical significance of .01 (r = .384). The knowledge and practices of the participants regarding infection transmission prevention were positively correlated at a very low level with a statistical significance of .01 (r = .144), while their attitudes and practices were positively correlated at a very low level with a statistical significance of .01 (r = .130). The results of this research can be used as baseline information and guidance on planning to promote knowledge, attitudes, and practices regarding infection transmission prevention among relatives of patients in hospitals under the Ministry of Public Health.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติในการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อในโรงพยาบาลของญาติผู้ป่วยen_US
dc.title.alternativeKnowledge, attitudes, and practices regarding infection transmission prevention in a hospital among relatives of patientsen_US
dc.typeThesis
thailis.controlvocab.thashการติดเชื้อ -- การป้องกันและควบคุม-
thailis.controlvocab.thashโรคติดเชื้อในโรงพยาบาล-
thailis.controlvocab.thashเครือญาติ-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการติดเชื้อในโรงพยาบาลเป็นสาเหตุสำคัญทำให้ผู้ป่วยเกิดภาวะเจ็บป่วยที่รุนแรง และถึงขั้นเสียชีวิต ญาติเป็นบุคคลที่สัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยและมีโอกาสสัมผัสเชื้อโรคและแพร่กระจายเชื้อในโรงพยาบาล การวิจัยเชิงพรรณนาหาความสัมพันธ์นี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติในการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อในโรงพยาบาลของญาติผู้ป่วย รวมทั้งศึกษาความสัมพันธ์ของความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติในการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อในโรงพยาบาลของญาติผู้ป่วยกลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา คือ ญาติผู้ป่วย จำนวน 285 คน ที่เข้าเยี่ยมและดูแลผู้ป่วยในหอผู้ป่วยอายุรกรรมโรงพยาบาลระดับตติยภูมิแห่งหนึ่ง ดำเนินงานวิจัยระหว่างเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2563 ถึงเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2564 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 4 ส่วนคือ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไปแบบวัดความรู้ในการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อในโรงพยาบาล แบบวัดทัศนคติในการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อในโรงพยาบาล และแบบสอบถามการปฏิบัติในการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อในโรงพยาบาลของญาติผู้ป่วย ซึ่งแบบสอบถามดังกล่าวผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ 6 ท่าน ได้ค่าดัชนีความตรงเชิงเนื้อหาเท่ากับ .95, 98 และ .96 ตามลำคับ และทดสอบความเชื่อมั่นได้ค่าเท่ากับ .82, .81 และ .80 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ระหว่างคะแนนความรู้ ทัศนติ และการปฏิบัติในการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อในโรงพยาบาลของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์สเปียร์แมน ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีคะแนนความรู้ในการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อในโรงพยาบาลในระดับสูง โดยมีค่ามัธยฐานเท่ากับ 22 คะแนน จากคะแนนเต็ม 25 คะแนน กลุ่มตัวอย่างมีคะแนนทัศนคติในการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อในโรงพยาบาลในระดับสูง โดยมีค่ามัธยฐานเท่ากับ 64 คะแนน จากคะแนนเต็ม 80 คะแนน และกลุ่มตัวอย่างมีคะแนนการปฏิบัติในการป้องกันการแพร่กระจาขเชื้อในโรงพยาบาลในระดับปานกลาง โดยมีค่ามัธยฐานเท่ากับ 38 คะแนน จากคะแนนเต็ม 60 คะแนน นอกจากนี้ยังพบว่า คะแนนความรู้ของกลุ่มตัวอย่างมีความสัมพันธ์ทางบวกกับคะแนนทัศนคติในการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อในโรงพยาบาลของญาติผู้ป่วยในระดับที่ต่ำอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (r=.384) กะแนนความรู้มีความสัมพันธ์ทางบวกกับคะแนนการปฏิบัติในการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อในโรงพยาบาลของญาติผู้ป่วยในระดับต่ำมาก อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 ( r= .141) ส่วนคะแนนทัศนคติมีความสัมพันธ์ทางบวกกับคะแนนการปฏิบัติในการป้องกันการแพร่กระจาขเชื้อใน โรงพยาบาลของญาติผู้ป่วยในระดับต่ำมาก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (r = .130) ผลการวิจัยนี้สามารถนำไปใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานและเป็นแนวทางในการวางแผนเพื่อส่งเสริมความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติในการป้องกันการแพร่กระจาขเชื้อใน โรงพยาบาลของญาติสู้ป่วยในโรงพยาบาล กระทรวงสาธารณสุขen_US
Appears in Collections:NURSE: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
621231121 เจนจิรา อยู่อินทร์.pdf1.45 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.