Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/74052
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorจิรกฤตธ์ ลีลารุ่งระยับ-
dc.contributor.advisorสุรพล นธการกิจกุล-
dc.contributor.advisorสุรินทร์พร ลิขิตเสถียร-
dc.contributor.authorรุ่งทิวา กันทะอินทร์en_US
dc.date.accessioned2022-09-01T16:50:54Z-
dc.date.available2022-09-01T16:50:54Z-
dc.date.issued2564-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/74052-
dc.description.abstractObjectives: This study aimed to evaluate the effectiveness of the 2- weeks of integrative smoking cessation counselling, physical therapy program (relaxation-deep breathing with chest mobilization exercises), and Vernonia cinerea (VC) hard candy product on a 7-day point prevalence abstinence rates (7-day PARs), continuous abstinence rates (CARs) and oxidative stress status among active smokers. Methods: The pilot hard candy of VC spray-drying extracts and was industrially prepared with eight pills-sealed in a blister packing and the main active compounds were identified before studied in active smokers who wanted to quit smoking. All thirty male active smokers were randomly divided into a control group (aged 25.60 士 2.67 years, n = 10), placebo group (aged 26.90 士 3.71 years, n = 10), and product group (aged 25.00 士 3.00 years, n = 10). All groups were counseled for smoking cessation, whereas relaxation-deep breathing with chest mobilization exercise was educated and trained in both placebo and product groups for 2 weeks. Then the oxidative stress markers as malondialdehyde (MDA) and glutathione (GSH) were evaluated before and after 2 weeks period, addition, the PARs and CARs were recorded at week 2, 4, 6 and 8, respectively. Chi-square and one- way ANOVA tests were used for statistical analysis. Results: The results showed that the main active compounds in the Vernonia cinerea hard candy (weight 2.81-3.2 1 gram per piece) contained the total phenolic (3.76 士 0.72 mg), total flavonoid (0.42 士 0.02 mg) and nicotine (2.35 士 0.33 mg). The results of 7- day PARs showed a significant difference between the control and product groups at week 4 (20% and 60%) and week 6 (20% and 80%) as same as between the placebo and product groups (30% and 60%) at week 6. Finally, the 7- day PARs between the control and product groups (20% and 90%) and between the placebo and study groups (40% and 90%) at week 8 were significantly different. Besides, the 7-day PARs in a product group showed a significant increase from 2 weeks (20%) to followed up period at week 4 (60%), 6 (80%), and 8 (90%), respectively. For the CARs results, there was a difference between the control and product groups at week 6 (20% and 80%) and week 8 (20% and 80%). Then, the CARs in the product group showed a significant increase at week 4 (60%), 6 (80%) and 8 (80%), respectively. Finally, the significant increase of GSH and decrease in MDA were represented in a product group. Conclusion: This study can be concluded that integrating the smoking cessation counseling via physical therapy of relaxation-deep breathing with chest mobilization exercises and Vernonia cinerea hard candy for 2 weeks effects on 7-day point prevalence abstinence rate at 4, 6 and 8 weeks and the continuous abstinence rate at 6 and 8 weeks, when compared to the smoking cessation counseling without or with the physical therapy program. Moreover, it can reduce the oxidative stress status.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectลูกอมแข็งหญ้าดอกขาวen_US
dc.titleการบูรณาการการหยุดบุหรี่ด้วยการให้คำปรึกษา การออกกำลังกาย ด้วยการหายใจลึกผ่อนคลายร่วมกับเคลื่อนไหวทรวงอก และลูกอม แข็งหญ้าดอกขาวen_US
dc.title.alternativeIntegrative smoking cessation with counselling, relaxation- deep breathing with chest mobilization exercises and vernonia cinerea hard candyen_US
dc.typeThesis-
thailis.controlvocab.thashการเลิกบุหรี่-
thailis.controlvocab.thashการออกกำลังกาย-
thailis.controlvocab.thashกายภาพบำบัด-
thailis.controlvocab.thashลูกกวาด-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractวัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาประสิทธิผลของการบูรณาการ การให้คำปรึกษาเลิกบุหรี่ การออก กำลังกายด้วยการหายใจลึกผ่อนคลาย การเคลื่อนไหวผนังทรวงอก และการใช้ลูกอมแข็งหญ้าดอกขาว ต่ออัตราการเลิกบุหรี่ตลอด 7 วัน ก่อนวันประเมิน และอัตราการเลิกบุหรี่อย่างต่อเนื่อง ที่สัปดาห์ที่ 2, 4, 6 และ 8 ของการศึกษารวมไปถึงศึกษาประสิทธิผลต่อภาวะออกซิเดทีฟสเตรสในเลือด ได้แก่ ปริมาณมาลอนไดออลคีไฮด์ และกลูตาไทโอน เป็นระยะเวลา 2 สัปดาห์ ในกลุ่มอาสาสมัครที่สูบบุหรี่ วิธีการศึกษา: ทำการพัฒนาลูกอมแข็งหญ้าดอกขาวจากสารสกัดหยาบหญ้าดอกขาวในโรงงาน อุตสาหกรรม วิเคราะห์สารองค์ประกอบและความปลอดภัยของลูกอมแข็งหญ้าดอกขาวใน ห้องปฏิบัติการ ก่อนนำผลิตภัณฑ์ต้นแบบมาศึกษาในกลุ่มอาสาสมัครที่สูบบุหรี่ ที่ต้องการเลิกบุหรี่ โดยแบ่งอาสาสมัครจำนวน 30 รายแบบสุ่ม ได้แก่ ผู้สูบบุหรี่ที่ไม่ได้รับผลิตภัณฑ์เป็นกลุ่มควบคุม อายุ เฉลี่ย 25.60 +- 2.67 ปี จำนวน 10 ราย กลุ่มที่ได้รับผลิตภัณฑ์หลอกอายุเฉลี่ย 26.90 +- 3.71 ปี จำนวน 10 ราย และกลุ่มศึกษาที่ได้รับผลิตภัณฑ์ลูกอมแข็งหญ้าดอกขาวอายุเฉลี่ย 25.00 +- 3.00 ปี จำนวน 10 ราย ตามลำดับ โดยทุกกลุ่มจะได้รับคำปรึกษาเลิกบุหรี่ ส่วนกลุ่มที่ได้ผลิตภัณฑ์หลอกและผลิตภัณฑ์จริง ได้รับโปรแกรมทางกายภาพบำบัดด้วยการหายใจลึกผ่อนคลายและการเคลื่อนไหวผนังทรวงอก เป็น ระยะเวลา 2 สัปดาห์ และทำการประเมินตัวแปร ของภาวะออกซิเดทีฟเสตรส คือ มาลอนไดอัลดีไฮด์ และกลูตาไทโอน นอกจากนั้นแล้วทำการประเมินอัตราการเลิกบุหรี่ตลอด 7 วัน และอัตราการเลิก บุหรี่ต่อเนื่องที่สัปดาห์ที่ 2, 4, 6 และ ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วยสถิติไคสแควร์และการ วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ผลการศึกษา: สารประกอบสำคัญในผลิตภัณฑ์ลูกอมแข็งหญ้าดอกขาว พบว่า ในลูกอมแข็ง หญ้าดอกขาว 1 เม็ด น้ำหนักเฉลี่ย 2.81 - 3.21 กรัม มีปริมาณฟืโนลิกทั้งหมด 3.76 +- 0.72 มิลลิกรัม ปริมาณฟลาโวนอยด์ทั้งหมด 0.42 +- 0.02 มิลลิกรัม และนิโคติน 2.35 +- 0.33 มิลลิกรัม อัตราการเลิก บุหรี่ตลอด 7 วันก่อนวันประเมินผล พบความแตกต่างกันระหว่างกลุ่มกวบกุมและกลุ่มที่ได้ผลิตภัณฑ์ จริงในสัปดาห์ที่ 4 (ร้อยละ 20 และร้อยละ 60) ในสัปดาห์ที่ 6 พบความแตกต่างระหว่างกลุ่มควบคุม และกลุ่มผลิตภัณฑ์ลูกอมแข็งหญ้าดอกขาว (ร้อยละ 20 และร้อยละ 80 ตามลำดับ) และระหว่างกลุ่ม ผลิตภัณฑ์หลอกและกลุ่มผลิตภัณฑ์ลูกอมแข็งหญ้าดอกขาว (ร้อยละ 30 และร้อยละ 60 ตามลำดับ) ใน สัปดาห์ที่ 8 พบความแตกต่างระหว่างกลุ่มควบคุมและกลุ่มผลิตภัณฑ์ลูกอมแข็งหญ้าดอกขาว (ร้อยละ 20 และร้อยละ 90 ตามลำดับ) และระหว่างกลุ่มผลิตภัณฑ์หลอกและกลุ่มผลิตภัณฑ์ลูกอมแข็งหญ้า ดอกขาว (ร้อยละ 40 และร้อยละ 90 ตามลำดับ) เมื่อเปรียบเทียบความแตกต่างภายในกลุ่มตามช่วงเวลา ต่างๆ พบว่าเฉพาะในกลุ่มผลิตภัณฑ์ลูกอมแข็งหญ้าดอกขาวที่พบความแตกต่างของอัตราการเลิกบุหรี่ ตลอด 7 วัน ที่สัปดาห์ที่ 2, 4, 6 และ 8 (20%, 60%, 80% และ 90% ตามลำดับ) ส่วนอัตราการเลิกบุหรี่ อย่างต่อเนื่อง พบความแตกต่างกันระหว่างกลุ่มควบคุมและกลุ่มผลิตภัณฑ์ลูกอมแข็งหญ้าดอกขาวใน สัปดาห์ที่ 6 (ร้อยละ 20 และร้อยละ 80 ตามลำดับ) ส่วนในสัปดาห์ที่ 8 พบความแตกต่างระหว่างกลุ่ม ควบคุมและกลุ่มผลิตภัณฑ์ลูกอมแข็งหญ้าดอกขาว (ร้อยละ 20 และร้อยละ 80 ตามลำดับ) เมื่อ เปรียบเทียบความแตกต่างภายในกลุ่มตามช่วงเวลาต่างๆ พบว่าเฉพาะในกลุ่มศึกษาที่พบความแตกต่าง ของอัตราเลิกบุหรี่ อย่างต่อเนื่องที่สัปดาห์ที่ 4, 6 และ 8 (60%, 800 และ 80% ตามลำดับ) ผลการ ทดสอบภาวะออกซิเดทีฟสเตรสพบว่า กลุ่มที่ได้รับผลิตภัณฑ์ลูกอมแข็งหญ้าดอกขาว มีปริมาณกลูตา- ไท โอนเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติและปริมาณมาลอนไคออลดีไซค์ลคลงอย่างมีนัยสำคัญทาง สถิติ (p = 0.05) สรุปผลการศึกษา: การศึกษาครั้งนี้ สามารถสรุปได้ว่าการบูรณาการการ ให้คำปรึกษาเลิกบุหรี่ โปรแกรมทางกายภาพบำบัดด้วยการหายใจลึกผ่อนคลายร่วมกับเคลื่อนไหวผนังทรวงอก และการ ได้รับผลิตภัณฑ์ลูกอมเข็งหญ้าคอกขาว มีผลช่วยทำให้อัตราการเลิกบุหรี่ ทั้งอัตราการเลิกบุหรี่ตลอด 7 วัน ก่อนวันประเมินผล ที่ระยะเวลา 4, 6 และ 8 สัปดาห์ และอัตราการเลิกบุหรี่อย่างต่อเนื่อง ที่ ระยะเวลา 6 และ 8 สัปดาห์ เมื่อเปรียบเทียบกับการได้รับคำปรึกษาเลิกบุรี่และหรือร่วมกับโปรแกรม ทางกายภาพบำบัด ยิ่งไปกว่านั้นยังมีผลช่วยทำให้ภาวะออกซิเดทีฟสเตรสลดลงen_US
Appears in Collections:AMS: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
611131005-รุ่งทิวา-กันทะอินทร์.pdf6.38 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.