Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/74005
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | นันทพร แสนศิริพันธ์ | - |
dc.contributor.advisor | ฉวี เบาทรวง | - |
dc.contributor.author | วราภรณ์ แก้วสุข | en_US |
dc.date.accessioned | 2022-08-25T10:07:56Z | - |
dc.date.available | 2022-08-25T10:07:56Z | - |
dc.date.issued | 2022-06 | - |
dc.identifier.uri | http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/74005 | - |
dc.description.abstract | Fear of childbirth (FOC) can be found starting from pregnancy through the postpartum period. FOC affects the physiological and psycho-emotional state of pregnant women and includes their fetus. Therefore, care that reduces FOC is an important for nurse-midwives. This quasi-experimental research study aimed to examine the effect of social support via a mobile application on FOC among primigravidas. The subjects were 42 primigravidas selected following inclusion criteria which included gestational age at 34-38 weeks and an FOC score of moderate or over, who had attended the antenatal clinic at the Health Promotion Hospital, Health Promotion Center Region 1, Chiang Mai between November 2020, and November 2021. Using simple random sampling, two groups of 20 and 22 subjects each, were assigned into an experimental and a control group, respectively. Subjects in the experimental group received social support via the application along with routine nursing care, while subjects in the control group received only routine nursing care. The research instruments were a social support plan developed by the researcher based on House’s social support model (1981), a mobile application, and the application handbook. The data collection tools were a personal data record form and the Wijma Delivery Expectancy/Experience Questionnaire [W-DEQ] (Wijma et al., 1998), Thai version (Tampawiboon, 2005). Data were analyzed using descriptive statistics, paired t-test and independent t-test. The research results revealed that: 1. After receiving social support via the application, the experimental group had a statistically significantly lower FOC mean score than before the experiment (p < .05). 2. After receiving social support via the application, the experimental group had a statistically significantly lower FOC mean score than the control group (p < .05). The findings from this study suggest that nurse-midwives could use the social support application as part of their nursing care to effectively lessen fear of childbirth among primigravidas. | en_US |
dc.language.iso | other | en_US |
dc.publisher | เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | en_US |
dc.subject | การสนับสนุนทางสังคมผ่านแอปพลิเคชัน | en_US |
dc.subject | แอปพลิเคชัน | en_US |
dc.subject | ความกลัวการคลอดบุตร | en_US |
dc.title | ผลของการสนับสนุนทางสังคมผ่านแอปพลิเคชันต่อความกลัวการคลอดบุตรในสตรีครรภ์แรก | en_US |
dc.title.alternative | Effect of social support via application on fear of childbirth among Primigravidas | en_US |
dc.type | Thesis | |
thailis.controlvocab.thash | สตรีมีครรภ์ | - |
thailis.controlvocab.thash | ความกลัว | - |
thailis.controlvocab.thash | การคลอด | - |
thailis.controlvocab.thash | โปรแกรมประยุกต์ | - |
thesis.degree | master | en_US |
thesis.description.thaiAbstract | ความกลัวการคลอดบุตรพบได้ตั้งแต่ระยะตั้งครรภ์ไปจนถึงระยะหลังคลอด ความกลัวการคลอดบุตรที่เกิดขึ้นส่งผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์ทั้งด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ รวมถึงทารกในครรภ์ พยาบาลผดุงครรภ์จึงเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการดูแลเพื่อลดความกลัวการคลอดบุตร การวิจัยกึ่งทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการสนับสนุนทางสังคมผ่านแอปพลิเคชันต่อความกลัวการคลอดบุตรในสตรีครรภ์แรก กลุ่มตัวอย่างคือสตรีครรภ์แรกจำนวน 42 รายที่คัดเลือกตามคุณสมบัติที่กำหนด คือ อายุครรภ์อยู่ในช่วง 34-38 สัปดาห์ และมีคะแนนความกลัวการคลอดบุตรระดับปานกลางขึ้นไป ที่มารับบริการที่แผนกฝากครรภ์ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 1 จังหวัดเชียงใหม่ ระหว่างเดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2563 ถึง เดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2564 ใช้วิธีสุ่มกลุ่มตัวอย่างโดยการจับสลาก แบ่งเป็นกลุ่มทดลองจำนวน 20 ราย และกลุ่มควบคุมจำนวน 22 ราย กลุ่มทดลองได้รับการสนับสนุนทางสังคมผ่านแอปพลิเคชันร่วมกับการพยาบาลตามปกติ ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินการวิจัย ได้แก่ แผนการสนับสนุนทางสังคมผ่านแอปพลิเคชันที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นตามแนวคิดการสนับสนุนทางสังคมของเฮาส์ (House, 1981) แอปพลิเคชันและคู่มือการใช้แอปพลิเคชัน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล และแบบประเมินความกลัวการคลอดบุตรของวิจมา และคณะ (Wijma et al., 1998) ฉบับภาษาไทยโดย กชกร ตัมพวิบูลย์ (Tampawiboon, 2005) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา สถิติ ค่าทีชนิดไม่เป็นอิสระต่อกัน และค่าทีชนิดเป็นอิสระต่อกัน ผลการวิจัยพบว่า 1. หลังได้รับการสนับสนุนทางสังคมผ่านแอปพลิเคชัน กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนความกลัวการคลอดบุตรต่ำกว่าก่อนการทดลองอย่างมี นัยสำคัญทางสถิติ (p < .05) 2. หลังได้รับการสนับสนุนทางสังคมผ่านแอปพลิเคชัน กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนความกลัวการคลอดบุตรต่ำกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมี นัยสำคัญทางสถิติ (p < .05) ผลการวิจัยครั้งนี้เสนอแนะว่า พยาบาลผดุงครรภ์สามารถนำแอปพลิเคชันการสนับสนุนทางสังคมไปใช้ในการพยาบาลเพื่อลดความกลัวการคลอดบุตรในสตรีครรภ์แรกได้อย่างมีประสิทธิภาพ | en_US |
Appears in Collections: | NURSE: Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
611231040 วราภรณ์ แก้วสุข watermark.pdf | 2.15 MB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.