Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/73991
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอรชร มณีสงฆ์-
dc.contributor.authorพัทธดนย์ ไชยโชติen_US
dc.date.accessioned2022-08-23T00:55:14Z-
dc.date.available2022-08-23T00:55:14Z-
dc.date.issued2022-06-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/73991-
dc.description.abstractThis study aimed to examine marketing mix affecting consumers in upper northern region towards decision to buy vitamin water. Samples of this study were specified to 405 consumers of vitamin water in the upper northern provinces. These samples were drawn in accordance with the convenience sampling method and the questionnaires were used as the tool to collect data. Data analysis was conducted by the descriptive statistics i.e. frequency, percentage, and mean; the Independent Sample t-test; and the Analysis of Variance: ANOVA to determine whether there was a difference between different sample groups. The Least Significant Different Test (LSD) was also applied to compare differences between groups of the samples in pairs. In this study, the level of statistical significance was determined at 0.05. The findings presented that most respondents were female with single status. They were aged between 24-37 years old with an educational background in bachelor’s degree. They worked as private company employees and averagely earned a monthly income of under 15,000 Baht. Their favorite leisure activity or hobby was doing exercises. Results of the study on consumer behavior towards purchasing vitamin water presented that most of them purchased the vitamin water in Purra brand in the 320 ml. PET container. The reason for purchasing a certain brand of vitamin water was the preference after seeing it in the advertisement. They purchased it for the health-concern purpose as it was the water with necessary nutrition and vitamin for body function enhancement. The advertising media acknowledging them on the studied product and influencing them to purchase it the most was the advertisement on the internet/website, which was also the media channel where they mostly received information about the selected brand of vitamin water from. They made purchase decisions for the vitamin water by themselves. They purchased and consumed it infrequently. In each purchase, they purchased 1 bottle of vitamin water from a general mini mart such as 7-11 / Lotus Express / Mini Big C / Family Mart. Results of the study on marketing mix factors affecting the consumers in the upper northern provinces towards purchasing vitamin water showed that elements of each factor affecting their purchasing decision at the highest level were presented as follows. In the product factor, it was the clear product ingredient information such as no sugar, no sodium, etc. In the price factor, it was a reasonable price compared to its quantity. In the place factor, it was the product accessibility at general shops. In the promotion factor, it was the advertisement through online media. Results of the t-test as conducted to observe if there was a difference in marketing mix factors in the overview showed that for the variable of gender, the differences among respondents in different gender groups were found in the place factor at the 0.05 level of statistical significance; while for the variable of ages, the differences among the respondents in different age groups were found in the product, the price, and the promotion factors at the 0.05 level of statistical significance.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectน้ำดื่มผสมวิตามินen_US
dc.subjectภาคเหนือตอนบนen_US
dc.titleส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อผู้บริโภคในเขตพื้นที่ภาคเหนือตอนบนในการตัดสินใจซื้อน้ำดื่มผสมวิตามินen_US
dc.title.alternativeMarketing mix affecting consumers in upper Northern region towards decision to buy vitamin wateren_US
dc.typeIndependent Study (IS)-
thailis.controlvocab.thashพฤติกรรมผู้บริโภค -- ไทย (ภาคเหนือ)-
thailis.controlvocab.thashผู้บริโภค --- ไทย (ภาคเหนือ)-
thailis.controlvocab.thashน้ำดื่ม -- ไทย (ภาคเหนือ)-
thailis.controlvocab.thashวิตามิน -- ไทย (ภาคเหนือ)-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการศึกษามีวัตถุประสงค์เพื่อส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อผู้บริโภคในเขตพื้นที่ภาคเหนือตอนบนในการตัดสินใจซื้อน้ำดื่มผสมวิตามิน ตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาคือกลุ่มผู้บริโภคที่ซื้อน้ำดื่มผสมวิตามิน ในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน จำนวน 405 ราย ใช้วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบตามสะดวก โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าสถิติทดสอบที (Independent Sample t-test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวน (Analysis of Variance: ANOVA) ในการเปรียบเทียบความแตกต่างของกลุ่มตัวอย่างคนละกลุ่ม และการเปรียบเทียบความแตกต่างเป็นรายคู่ โดยวิธีการของ LSD (Least significant difference test) ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 ผลการศึกษาพบว่าผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีสถานภาพโสด อายุระหว่าง 24-37 ปี ระดับการศึกษาปริญญาตรี อาชีพพนักงานบริษัทเอกชน รายได้โดยเฉลี่ยต่อเดือนคือ ไม่เกิน 15,000 บาท การใช้เวลาว่าง หรืองานอดิแรกที่ชอบคือ การออกกำลังกาย ผลการศึกษาข้อมูลพฤติกรรมการซื้อน้ำดื่มผสมวิตามิน พบว่าส่วนใหญ่เลือกซื้อตรายี่ห้อน้ำดื่มผสมวิตามินคือ Purra ลักษณะบรรจุภัณฑ์ที่เลือกซื้อเป็นประจำคือ แบบขวด PET ขนาดบรรจุภัณฑ์ที่เลือกซื้อเป็นประจำ คือ ขนาด 320 มล. เหตุผลที่ชอบน้ำดื่มผสมวิตามินที่เลือกซื้อคือชอบยี่ห้อนี้เพราะเห็นจากโฆษณา โดยวัตถุประสงค์ที่เลือกซื้อ คือ เป็นเครื่องดื่มที่ผสมสารอาหารและวิตามินที่จำเป็นต่อร่างกายช่วยเสริมสร้างการทำงานของร่างกายในหลายๆ ส่วน และสื่อโฆษณาที่เห็นว่ามีส่วนทำให้เกิดการรู้จัก และมีส่วนในการตัดสินใจซื้อมากที่สุด คือ อินเทอร์เน็ต/เว็บไซต์ และช่องทางที่ได้รับข้อมูลเครื่องดื่มผสมวิตามินที่เลือกบ่อยที่สุดคือ อินเทอร์เน็ต/เว็บไซต์ เช่นกัน และการตัดสินใจซื้อเครื่องดื่มผสมวิตามินด้วยตัวเอง โดยมีความถี่ในการซื้อน้ำดื่มผสมวิตามินนานๆจะซื้อครั้ง และความถี่ในการดื่มน้ำผสมวิตามินนานๆครั้ง เช่นกัน โดยจำนวนชิ้นของเครื่องดื่มผสมวิตามินที่ซื้อ คือ 1 ขวด และสถานที่ในการซื้อเครื่องดื่มผสมวิตามิน คือ ร้านมินิมาร์ททั่วไป เช่น 7-11 / Lotus Express / Mini Big C / Family Mart ผลการศึกษาปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการซื้อน้ำดื่มผสมวิตามินของผู้บริโภคในจังหวัดภาคเหนือตอนบน พบว่าผู้ตอบแบบสอบถามให้ระดับที่มีผลต่อการตัดสิใจซื้อในระดับมากลำดับแรกในแต่ละปัจจัยดังนี้ ปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์ คือ มีการแสดงรายละเอียดของส่วนประกอบของ ผลิตภัณฑ์อย่างชัดเจน เช่น ไม่มีน้ำตาล ไม่มีโซเดียม ปัจจัยด้านราคา คือราคาเหมาะสม กับปริมาณของผลิตภัณฑ์ ปัจจัยด้านช่องทางการจัดจำหน่าย คือสามารถหาซื้อง่ายมีจำหน่ายทั่วไป ปัจจัยด้านการส่งเสริมการตลาด คือ มีการโฆษณาผ่านสื่อออนไลน์ ผลการทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยระดับที่มีผลต่อปัจจัยส่วนประสมการตลาดในแต่ละด้าน เมื่อจำแนกตามเพศ ทางสถิติด้วย t-test ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 พบว่าผู้ตอบแบบสอบถามให้ระดับที่มีผลแตกต่างกัน ในด้านช่องทางการจัดจำหน่าย และผลทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยระดับที่มีผล เมื่อจำแนกตามอายุ ทางสถิติด้วย F-test ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 พบว่าผู้ตอบแบบสอบถามให้ระดับที่มีผลแตกต่างกัน ในด้านผลิตภัณฑ์ ด้านราคา และด้านการส่งเสริมการตลาดen_US
Appears in Collections:BA: Independent Study (IS)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
รวมไฟล์ พัทธดนย์.pdf2.53 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.