Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/73990
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | อรชร มณีสงฆ์ | - |
dc.contributor.author | ฤทธิ์บัญชา สันติวรานุรักษ์ | en_US |
dc.date.accessioned | 2022-08-22T10:17:18Z | - |
dc.date.available | 2022-08-22T10:17:18Z | - |
dc.date.issued | 2022-06 | - |
dc.identifier.uri | http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/73990 | - |
dc.description.abstract | This study aimed to investigate consumer behavior towards tire purchasing in Mueang Lamphun District. In this study, the samples were specified to 384 owners of personal cars with less than 7 seats and personal pickup trucks, residing, or working in Mueang Lamphun District, and had decision-making authority in purchasing tires. These samples were drawn in accordance with the convenience sampling method and the questionnaires were used as the tool to collect data. Obtained data were analyzed by the descriptive statistics i.e. frequency, percentage, and mean; the Independent Sample t-test; and the Analysis of Variance: ANOVA to determine whether there was a difference between different groups of those samples. The Least Significant Different Test (LSD) was also applied to compare differences between groups of the samples in pairs. In this study, the level of statistical significance was determined at 0.05. The findings presented that most respondents were males with married status. They were aged 30-39 years old and had an educational background in bachelor’s degree. They were self employed and averagely earned a monthly income of 15,001-20,000 Baht. The type of car that the majority used was the sedan with the average used time at 2-5 years and driven time/year at 15,001- 30,000 kilometers. The tire brand that they used prior to this purchase was Bridgestone. Results of the study on consumer behavior towards tire purchasing revealed that for this purchase, the majority purchased the tires at a tire service center and a general tire shop for the reason of its convenient location where was near their house or workplace. They purchased the tires in the Bridgestone brand as they had used this brand before, and they purchased the tires to replace the worn down ones. The qualification of tire that they paid the highest concern was the beauty of tire thread. Person influencing the decision-making towards selecting a tire shop was the respondents themselves. They visited the tire shop on an uncertain date and time depending on their own convenience. The specific circumstances affecting their purchase were the worn-down tires and the special promotion offered. The information that they searched prior to make-decision in choosing a tire shop included the convenience and the service time spent, as well as the availability of cheap tires. They asked for information about a tire shop from an acquaintance. The promotion influencing their decision-making towards selecting a tire shop the most was the offer of giveaways. They paid in cash for the tire service and spent 10,001-20,000 Baht for 4 tires in each purchase. The results also suggested that for this purchase, most respondents had a high level of satisfaction with purchasing tires from a certain shop and would certainly return to that shop for the next purchase. Those who would return to the same shop for the next purchase were satisfied with the service that the staff provided; while those who would not return to the same shop were not satisfied with the services. For those who were uncertain if they would return to the same shop for the next purchase, they said that the location of the shop was not convenient for them. Results of the study on service marketing mix factors presented that the respondents paid the highest level of concern to people factor; followed by price and process; product/service; place; physical evidence; and promotion factors, respectively. Results of the t-test as conducted to observe if there was a difference in service marketing mix factors in the overview showed that for the variable of ages, the difference among respondents in different age groups was not found at the 0.05 level of statistical significance; while for the variable of the rates of monthly income, the differences among the respondents in different groups of monthly incomes were observed in price, place, promotion, and people factors at the 0.05 level of statistical significance | en_US |
dc.language.iso | other | en_US |
dc.publisher | เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | en_US |
dc.title | พฤติกรรมการซื้อยางรถยนต์ของผู้บริโภคในอำเภอเมืองลำพูน | en_US |
dc.title.alternative | Tire purchasing behavior of consumers in Mueang Lamphun District | en_US |
dc.type | Independent Study (IS) | |
thailis.controlvocab.thash | พฤติกรรมผู้บริโภค -- ลำพูน | - |
thailis.controlvocab.thash | รถยนต์ -- ยางล้อ -- การจัดซื้อ | - |
thesis.degree | master | en_US |
thesis.description.thaiAbstract | การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการซื้อยางรถยนต์ของผู้บริโภคในอำเภอ เมือง จังหวัดลำพูน กลุ่มตัวอย่างเป็นเจ้าของรถยนต์ ประเภทรถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 ที่นั่งและรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล อาศัยหรือมีสถานที่ทำงานอยู่ในอำเภอเมือง จังหวัดลำพูน และเป็นผู้ที่มีอำนาจในการตัดสินใจเลือกซื้อยางรถยนต์ จำนวน 384 ราย ใช้วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบตามสะดวก (Convenience Sampling) โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าสถิติทดสอบที (Independent Sample t-test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวน (Analysis of Variance: ANOVA) ในการเปรียบเทียบความแตกต่างของกลุ่มตัวอย่างคนละกลุ่ม และการเปรียบเทียบความแตกต่างเป็นรายคู่ โดยวิธีการของ LSD (Least significant difference test) ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 ผลการศึกษาพบว่าผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีสถานภาพสมรส มีอายุ 30 – 39 ปี ระดับการศึกษา ปริญญาตรี ประกอบอาชีพธุรกิจส่วนตัว มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 15,001-20,000 บาท ประเภทรถยนต์ที่ใช้ส่วนใหญ่ คือ รถเก๋ง อายุการใช้งานเฉลี่ยคือ 2-5 ปี ระยะทางวิ่ง/ปี คือ 15,001-30,000 กิโลเมตร และยี่ห้อยางรถยนต์ที่เคยใช้งานอยู่ก่อนการซื้อในครั้งนี้ Bridgestione ผลการศึกษาพฤติกรรมการเลือกซื้อยางรถยนต์ พบว่าผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เลือกใช้บริการร้านยางรถยนต์ในครั้งนี้คือร้านยางรถยนต์ศูนย์บริการ และร้านยางรถยนต์ทั่วไป เหตุผลที่เลือกใช้บริการร้านยางรถยนต์ดังกล่าว คือ ใกล้บ้าน ใกล้ที่ทำงาน และยางรถยนต์ยี่ห้อที่เลือกซื้อจากร้านจำหน่ายยางในครั้งนี้ คือ Bridgestione เหตุผลที่เลือกซื้อยางรถยนต์ยี่ห้อดังกล่าว เพราะเคยใช้ยางรถยนต์ยี่ห้อนี้มาก่อน และสาเหตุที่เปลี่ยนยางรถยนต์ในครั้งนี้ คือ เพราะดอกยางเสื่อมสภาพ คุณลักษณะของยางรถยนต์ที่ให้ความสำคัญมากที่สุด คือ ลายดอกยางสวยงาม ผู้ที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกร้านขายยางยนต์ตนเอง วันที่สะดวกมาใช้บริการร้านขายยางรถยนต์ไม่แน่นอน และช่วงเวลาแล้วแต่สะดวก สำหรับสถานการณ์เฉพาะที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อยางรถยนต์ คือ เมื่อยางที่ใช้อยู่เก่าและมีโปรโมชั่น การค้นหาข้อมูลก่อนการตัดสินใจเลือกร้านขายยางรถยนต์ คือ สะดวกรวดเร็ว และมียางรถยนต์ราคาถูกจำหน่าย วิธีการหาข้อมูลเกี่ยวกับร้านยางรถยนต์โดยการสอบถามจากคนรู้จัก สำหรับโปรโมชั่นหรือรายการส่งเสริมการขายที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกร้านยางรถยนต์มากที่สุด คือ แจกของแถม ส่วนวิธีการชำระเงิน คือจ่ายเป็นเงินสด โดยมีค่าใช้จ่ายต่อครั้งในการซื้อยางรถยนต์ 10,001-20,000 บาท โดยซื้อยางรถยนต์ต่อครั้งพร้อมกันทั้ง 4 เส้น นอกจากนี้พบว่าผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีความพึงพอใจในระดับมากในการซื้อยางรถยนต์จากร้านขายยางรถยนต์ในครั้งนี้ และจะกลับมาใช้บริการร้านยางรถยนต์เดิมในครั้งต่อไปแน่นอน เหตุผลในกรณีที่จะกลับมาใช้บริการร้านเดิมเพราะการบริการของพนักงาน สำหรับกรณีที่จะไม่กลับมาใช้บริการร้านเดิม คือไม่ประทับใจในการให้บริการของพนักงาน และเหตุผลในกรณีที่ไม่แน่ใจว่าจะกลับมาใช้บริการร้านเดิมอีก คือ สถานที่ไม่สะดวกต่อการเดินทาง ผลการศึกษาปัจจัยส่วนประสมการตลาดบริการ ผู้ตอบแบบสอบถามให้ระดับที่มีผลมีค่าเฉลี่ยสูงสุดลำดับแรกคือ ปัจจัยด้านบุคลากร รองลงมาคือ ปัจจัยด้านราคา และปัจจัยด้านกระบวนการให้บริการ ปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์/บริการ ปัจจัยด้านการจัดจำหน่าย ปัจจัยด้านลักษณะทางกายภาพ และปัจจัยด้านการส่งเสริมการตลาด ตามลำดับ ผลการทดสอบค่าเฉลี่ยระดับที่มีผลต่อปัจจัยส่วนประสมการตลาดบริการในภาพรวม เมื่อจำแนกตามเพศ โดยวิธีการ t-test พบว่าผู้ตอบแบบสอบถามให้ระดับที่มีผลไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 และเมื่อทดสอบค่าเฉลี่ยระดับที่มีผลจำแนกตามรายได้เฉลี่ยต่อเดือน โดยวิธีการ ANOVA พบว่าผู้ตอบแบบสอบถามให้ระดับที่มีผลแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05ในด้านราคา ด้านการจัดจำหน่าย ด้านการส่งเสริมการตลาด และด้านบุคลากร | en_US |
Appears in Collections: | BA: Independent Study (IS) |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
รวมไฟล์ฤทธิ์บัญชา.pdf | 2.73 MB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.