Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/73977
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | อารตี อยุทธคร | - |
dc.contributor.author | จุติพร เปี้ยตั๋น | en_US |
dc.date.accessioned | 2022-08-20T08:38:10Z | - |
dc.date.available | 2022-08-20T08:38:10Z | - |
dc.date.issued | 2022-07 | - |
dc.identifier.uri | http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/73977 | - |
dc.description.abstract | The thesis on “Discipline, Self-Regulation and Depression of the Graduate Students” aims to understand the incidence of depression among graduate students, who are six times more likely to experience the condition than the general population under this ideology of neoliberalism. With the qualitative research method. Data were collected through in-depth interviews, participant observation, and descriptive data analysis. A total of 16 key informants were identified in the study targeting people graduating from graduate studies and mild to moderate depression. The results showed that. The neoliberal system that affects all sectors of society, even education, has been transformed in line with neoliberal approaches. Governance creates rules and converts instruction into products. In addition, neoliberal systems have come to direct the individual’s life in the way society wants. This makes students struggle to compete in every plane of their lives to push themselves to live the good life that society requires. They are studying in higher education to obtain a degree to add value to themselves. Simultaneously, they have to work to finance the expenses incurred during their studies and manage their relationships with others to create a social capital that will lead to a smooth life. Therefore, students have to shoulder the overlapping roles in life—as students, employees, and family members. Each part has a discourse that governs the student's practice. As a result, students must be disciplined and monitor themselves to comply with those discourse frameworks. Planning time management behaviors and social relationships over 24 hours leave no time to relax and take care of themselves. Because they have to monitor their actions, force themselves to follow discourses and rules fully and punish themselves when it is impossible or not as expected. Those processes have led to the path of people with depression to eventually becoming depressed patients. In other words, depression is not caused by the individual alone. Instead, it results from a distorted society that forces people in the community to believe and follow social stereotypes. Suggestion 1. Diagnosis and treatment of depressed patients should look beyond the disease but should also look into the patient's world. Adjusting the attitude and way of thinking goes hand in hand with medical treatment. At the same time, individuals should lower their expectations. Because too many expectations put them into the “not good enough” state repeatedly beat themselves up. In addition, excessive stress in managing life according to the schedule of life that is not resting can lead to health problems, both physical and mental health. 2. Government agencies and educational institutions should reflect and establish a comprehensive and inclusive welfare system, for example, encouraging space for discussion and exchange of ideas. Consultation in an anonymous form, or there is a mechanism to create a network of students who will help and encourage each other. Concurrently, in this area, the agency must be able to monitor and monitor the service users’ conditions to assist promptly. | en_US |
dc.language.iso | other | en_US |
dc.publisher | เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | en_US |
dc.title | การสร้างวินัยและการกำกับตนเองกับภาวะซึมเศร้าของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา | en_US |
dc.title.alternative | Discipline, self-regulation and depression of the graduate students | en_US |
dc.type | Thesis | |
thailis.controlvocab.thash | ความซึมเศร้า | - |
thailis.controlvocab.thash | บุคคลซึมเศร้า | - |
thailis.controlvocab.thash | ความซึมเศร้าในวัยรุ่น | - |
thesis.degree | master | en_US |
thesis.description.thaiAbstract | วิทยานิพนธ์เรื่อง การสร้างวินัยและการกำกับตนเองกับภาวะซึมเศร้าของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา มุ่งหมายที่จะทำความเข้าใจต่อการเกิดภาวะซึมเศร้าของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาที่มีอัตราการเผชิญกับภาวะนี้มากกว่าคนทั่วไป 6 เท่าตัวภายใต้อุดมการณ์ของเสรีนิยมใหม่ ด้วยวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกและการสังเกตแบบมีส่วนร่วมวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา โดยกำหนดกลุ่มเป้าหมายในการศึกษาแบบเจาะจงเป็นผู้ที่กำลังศึกษาอยู่ระดับบัณฑิตศึกษาและอยู่ในภาวะซึมเศร้าระดับต้นถึงปานกลางเป็นผู้ให้ข้อมูลสำคัญทั้งหมด 16 ราย ผลการศึกษาพบว่า ระบบเสรีนิยมใหม่ที่มีผลกระทบต่อทุกภาคส่วนของสังคม แม้กระทั่งการศึกษาก็เกิดการเปลี่ยนแปลงไปตามแนวทางของเสรีนิยมใหม่ มีการกำกับมาตรฐาน สร้างกฏเกณฑ์ต่างๆ แปลงการศึกษาให้เป็นสินค้า นอกจากนี้ระบบเสรีนิยมใหม่ยังเข้ามากำกับควบคุมชีวิตของปัจเจกบุคคลให้เป็นไปในแบบที่สังคมต้องการ ทำให้นักศึกษาต้องดิ้นรนแข่งขันในทุกระนาบของชีวิตเพื่อที่จะผลักดันตัวเองให้มีชีวิตที่ดีตามที่สังคมกำหนด ทั้งการศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาเพื่อให้ได้ใบปริญญามาเพิ่มมูลค่าให้ตนเอง ขณะเดียวกันก็ต้องทำงานหาเงินทุนสำหรับค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในระหว่างเรียนตลอดจนบริหารจัดการความสัมพันธ์กับผู้อื่นเพื่อสร้างทุนทางสังคมที่จะนำไปสู่ความราบรื่นในชีวิต ดังนั้นนักศึกษาจึงต้องแบกรับบทบาทในชีวิตที่ซ้อนทับกันอยู่ ทั้งเป็นนักศึกษา เป็นพนักงาน และเป็นสมาชิกในครอบครัว ซึ่งแต่ละบทบาทก็มีวาทกรรมที่คอยกำกับแนวทางการปฏิบัติของนักศึกษา เป็นผลให้นักศึกษาต้องมีวินัยและคอยการกำกับตนเองให้ปฏิบัติตามกรอบวาทกรรมเหล่านั้นอยู่ตลอดเวลา โดยการวางแผนบริหารจัดการเวลา พฤติกรรมและความสัมพันธ์ทางสังคมในช่วงเวลาตลอด 24 ชั่วโมงจนทำให้ไม่มีเวลาพักผ่อนและดูแลตัวเอง เนื่องจากต้องคอยติดตามการดำเนินการของตนเองบังคับตัวเองให้ทำตามวาทกรรมและกฎระเบียบอย่างครบถ้วน ตลอดจนเกิดการลงโทษตัวเองเมื่อทำไม่ได้หรือไม่เป็นดั่งหวัง กระบวนการเหล่านั้นได้นำไปสู่วิถีของผู้ที่มีภาวะซึมเศร้าจนเกิดเป็นผู้ป่วยซึมเศร้าได้ในที่สุด กล่าวได้ว่าภาวะซึมเศร้านั้นไม่ได้เกิดจากตัวปัจเจกบุคคลแต่เพียงผู้เดียว หากแต่เป็นผลพวงมาจากสังคมที่บิดเบี้ยวที่คอยบีบบังคับให้คนในสังคมเชื่อและทำตามแบบแผนทางสังคม ข้อเสนอแนะ 1.การวินิจฉัยและรักษาผู้ป่วยซึมเศร้าควรมองให้มากกว่ามองโรคแต่ควรมองลึกไปถึงโลกของผู้ป่วยด้วย เพื่อที่จะได้ปรับทัศนคิติ วิธีคิดที่ควบคู่ไปกับการรักษาทางการแพทย์ ในขณะเดียวกันปัจเจกก็ควรลดความคาดหวังในตนเอง เพราะความคาดหวังที่มากจนเกินไปทำให้เราต้องตกอยู่ในสภาวะ “ไม่ดีพอ” จนโบยตีตนเองซ้ำแล้วซ้ำเล่า อีกทั้งความเคร่งเครียดที่มากเกินไปในการจัดการชีวิตให้เป็นไปตามตารางชีวิตที่กำหนดจนไม่ได้พักผ่อนจะนำมาซึ่งปัญหาสุขภาพทั้งสุขภาพกายและสุขภาพจิตได้ 2.หน่วยงานรัฐและสถาบันการศึกษาควรดูและจัดตั้งระบบสวัสดิการให้ครอบคลุมและทั่วถึง เช่น สนับสนุนให้มีพื้นที่ในการพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิด ให้คำปรึกษาในรูปแบบที่ไม่ต้องเปิดเผยตัวตน หรือมีกลไกให้เกิดการสร้างเครือข่ายนักศึกษาที่จะช่วยเหลือให้กำลังใจกันและกัน ขณะเดียวกันพื้นที่นี้ทางหน่วยงานก็ต้องสามารถดูแลและติดตามสภาวะของผู้เข้าใช้บริการเพื่อให้ช่วยเหลือได้ทันท่วงที | en_US |
Appears in Collections: | SOC: Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
600431029 (ลายน้ำ).pdf | 1.61 MB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.