Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/73931
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสุภาพร ชินชัย-
dc.contributor.advisorเบญจมาศ พระธานี-
dc.contributor.authorณัฐศาสตร์ อุณาศรีen_US
dc.date.accessioned2022-08-19T10:48:51Z-
dc.date.available2022-08-19T10:48:51Z-
dc.date.issued2021-02-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/73931-
dc.description.abstractCleft lip and/or palate (CLP) is a congenital malformation. Hypernasality with/without articulation disorders is the most common speech defects in patients with CLP. This study aimed to conduct 1) develop program “Hypernasality Modification Program in School Aged Children with CLP”, 2) compare pre-and post-test the severity of hypernasality, nasal air emission, and the number of articulation errors: word and sentence levels by perceptual assessment; also, nasalance scores after providing the program. Hypernasality modification program was designed after literature reviewing, from word to telling story level-based on Thai phonetic and language structure. All five experts performed content validity index (CVI) revealed that the hypernasality modification program with the item content validity index (I-CVI) = 0.8 to 1 and scale content validity index (S-CVI) = 0.98. Hypernasality modification program has tested the effectiveness in 15 school-aged children with CLP who have the severity of hypernasality mild to a moderate degree. Participants were assessed pre-and post-test the severity of hypernasality (Normal = 0, 1 = Mild, 2 = Moderate), nasal air emission (Normal = 0, 1 = Intermittent, 2 = Pervasive), the number of articulation errors by perceptual assessment, and nasalance scores by nasometer before and after providing the program. Hypernasality Modification Program in School-Aged Children with CLP was used for children with CLP 6 weeks, therapy session was 30-minutes session for each week. Parents did home exercises. Results revealed that the severity of hypernasality mild degree = 6.67% increased to the normal degree of 33.33%. Compared to the severity median of the hypernasality at the word level found statistically significant difference (Median Difference (MD) = 0.5, 95% Confident Interval (CI) = 0 to 0.5). The severity of hypernasality mild degree = 6.67% increased to the normal degree of 40%. Compared to the severity median of the hypernasality at the sentence level presented statistically significant difference (MD = 0.5, 95% CI = 0 to 1) and the severity of nasal air emission intermittent level = 26.67% increased to the normal degree of 40%. Compared to the severity median of nasal air emission at the sentence level found a statistically significant difference (MD = 0.5, 95% CI = 0 to 1). The number of articulation errors was significantly decreased at the word and sentence level (Word level; MD = 2.5, 95% CI = 1 to 4; Sentence level; MD = 2.5, 95% CI = 1 to 4 respectively). However, the nasalance scores when assessed by nasometer and nasal air emission when assessed by perceptual found no statistically significant differences. In conclusion, Hypernasality Modification Program in School Aged Children with CLP had CVI high level, can be used as a guideline for modifying hypernasality in school-aged children with CLP.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleการพัฒนาโปรแกรมปรับลดเสียงขึ้นจมูกมากเกินไป ในเด็กวัยเรียนที่มีภาวะปากแหว่งเพดานโหว่en_US
dc.title.alternativeDevelopment of the hypernasality modification program in school aged children with Cleft Lip/Palateen_US
dc.typeThesis
thailis.controlvocab.thashปากแหว่ง -- ผู้ป่วย-
thailis.controlvocab.thashเพดานโหว่ -- ผู้ป่วย-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractภาวะปากแหว่งเพดานโหว่เป็นความพิการแต่กำเนิด ปัญหาที่พบได้บ่อยคือ ภาวะเสียงขึ้นจมูกมากเกินไปและ/หรือร่วมกับเสียงพูดไม่ชัด วัตถุประสงค์ของการศึกษาครั้งนี้เพื่อ 1) พัฒนาโปรแกรมปรับลดเสียงขึ้นจมูกมากเกินไปในเด็กวัยเรียนที่มีภาวะปากแหว่งเพดานโหว่เพื่อลดภาวะเสียงขึ้นจมูกมากเกินไป 2) เปรียบเทียบระดับความรุนแรงของภาวะเสียงขึ้นจมูกมากเกินไป ภาวะลมรั่วออกทางจมูก ค่าเฉลี่ยร้อยละของสัดส่วนพลังงานเสียงที่ออกทางจมูกและปาก และจำนวนเสียงพูดไม่ชัดในระดับคำและประโยคก่อนและหลังฝึกโปรแกรมปรับลดเสียงขึ้นจมูกมากเกินไปในเด็กวัยเรียนที่มีภาวะปากแหว่งเพดานโหว่ โปรแกรมปรับลดเสียงขึ้นจมูกมากเกินไปในเด็กวัยเรียนที่มีภาวะปากแหว่งเพดานโหว่ ถูกออกแบบจากการทบทวนวรรณกรรมมีลำดับขั้นตอนตั้งแต่ระดับคำจนถึงระดับการเล่าเรื่อง ตามหลักสัทศาสตร์และโครงสร้างในพยางค์ภาษาไทย ผลการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้เชี่ยวชาญ 5 ท่าน พบว่า มีค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหารายข้ออยู่ที่ (I-CVI) 0.8 1 และค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหาทั้งชุดอยู่ที่ (S-CVI) 0.98 การทดสอบประสิทธิภาพของโปรแกรมปรับลดเสียงขึ้นจมูกมากเกินไปในเด็กวัยเรียนที่มีภาวะปากแหว่งเพดานโหว่จำนวน 15 ราย ที่มีภาวะเสียงขึ้นจมูกมากเกินไปอยู่ที่ระดับความรุนแรงน้อยถึงปานกลางโดยประเมินภาวะเสียงขึ้นจมูกมากเกินไป (ระดับปกติ = 0, 1 = รุนแรงน้อย, 2 = รุนแรงปานกลาง) ภาวะลมรั่วออกทางจมูก (ระดับปกติ = 0, ลมรั่วออกเป็นครั้งคราว = 1, ลมรั่วออกเป็นบ่อยครั้ง = 2) จำนวนเสียงพูดไม่ชัดผ่านการฟัง และค่าเฉลี่ยร้อยละของสัดส่วนพลังงานเสียงที่ออกทางจมูกและปาก (nasalance score) ด้วยเครื่องเนโซมิเตอร์ทั้งก่อนและหลังฝึกโปรแกรมปรับลดเสียงขึ้นจมูกมากเกินไปในเด็กวัยเรียนที่มีภาวะปากแหว่งเพดานโหว่ ทาการฝึกพูดเป็นเวลา 6 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 1 ครั้ง ครั้งละ 30 นาที และผู้ปกครองนำโปรแกรมไปฝึกอย่างต่อเนื่องที่บ้าน การศึกษาพบว่า ระดับความรุนแรงของภาวะเสียงขึ้นจมูกมากเกินไปในระดับคำเมื่อประเมินผ่านการฟังจากระดับรุนแรงน้อยร้อยละ 6.67 เพิ่มขึ้นมาอยู่ในระดับปกติร้อยละ 33.33 และเมื่อเปรียบค่ามัธยฐานระดับความรุนแรงของภาวะเสียงขึ้นจมูกมากเกินไปในระดับคำ พบว่า หลังฝึกโปรแกรมปรับลดเสียงขึ้นจมูกมากเกินไปมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (Median Difference (MD) = 0.5, 95% Confident Interval (CI) = 0 0.5) และมีระดับความรุนแรงของภาวะเสียงขึ้นจมูกมากเกินไปในระดับประโยคเมื่อประเมินผ่านการฟังจากระดับรุนแรงน้อยร้อยละ 6.67 เพิ่มขึ้นมาอยู่ในระดับปกติร้อยละ 40 และเมื่อเปรียบค่ามัธยฐานระดับความรุนแรงของภาวะเสียงขึ้นจมูกมากเกินไปในระดับประโยค พบว่า หลังฝึกโปรแกรมปรับลดเสียงขึ้นจมูกมากเกินไปมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (MD = 0.5, 95% CI = 0 1) ระดับความรุนแรงของภาวะลมรั่วออกทางจมูกในระดับประโยคเมื่อประเมินผ่านการฟังจากระดับลมรั่วออกเป็นครั้งคราวร้อยละ 26.67 เพิ่มขึ้นมาอยู่ในระดับปกติร้อยละ 40 และเมื่อเปรียบค่ามัธยฐานระดับความรุนแรงของภาวะลมรั่วออกทางจมูกเป็นครั้งคราวในระดับประโยค พบว่า หลังฝึกโปรแกรมปรับลดเสียงขึ้นจมูกมากเกินไปมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (MD = 0.5, 95% CI = 0 1) จำนวนเสียงพูดไม่ชัดในระดับคำและประโยค หลังการฝึกตามโปรแกรมปรับลดเสียงขึ้นจมูกมากเกินไปมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (ระดับคำ; MD = 2.5, 95% CI = 1 4; ระดับประโยค; MD = 2.5, 95% CI = 1 4) แต่ค่าเฉลี่ยร้อยละของสัดส่วนพลังงานเสียงที่ออกทางจมูกและปากเมื่อประเมินด้วยเครื่องเนโซมิเตอร์ และระดับความรุนแรงของภาวะลมรั่วออกทางจมูกเมื่อประเมินผ่านการฟังในระดับคำพบความแตกต่างอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ สรุปโปรแกรมปรับลดเสียงขึ้นจมูกมากเกินไปในเด็กวัยเรียนที่มีภาวะปากแหว่งเพดานโหว่ มีค่าความตรงตามเนื้อหาอยู่ในระดับสูง และมีประสิทธิภาพในการปรับลดภาวะเสียงขึ้นจมูกมากเกินไป สามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการฝึกปรับลดเสียงขึ้นจมูกมากเกินไปในเด็กวัยเรียนที่มีภาวะปากแหว่งเพดานโหว่ได้ต่อไปen_US
Appears in Collections:AMS: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
591131016 ณัฐศาสตร์ อุณาศรี.pdf3.37 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.