Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/73930
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorChanakan Thebault Prom-u-thai-
dc.contributor.advisorSomchai Lapanantnoppakun-
dc.contributor.advisorSansanee Jamjod-
dc.contributor.authorKankunlanach Khampuangen_US
dc.date.accessioned2022-08-19T10:32:21Z-
dc.date.available2022-08-19T10:32:21Z-
dc.date.issued2020-12-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/73930-
dc.description.abstractRice (Oryza sativa L.) is the major staple food and source of energy for more than half of the world’s population, but it is poor in essential micronutrients such as zinc (Zn), compared with the other cereal crops. Low Zn contents in rice grain not only impact human health but also affect plant growth and productivity. Agronomic biofortification by fertilizer application, plant breeding and genetic engineering are suggested as a means to increase the grain Zn content in rice. Agronomical management is practical and effective in farmer’s fields in many countries. However, there is limited information on the effects of rice variety and Zn fertilizer management, especially on those with different original grain Zn concentration and grain quality attributes, and also the confounding effects of yield under the influence of water and fertilizer management. This study aimed to evaluate the effects of genotypes and cultivation management on grain yield and quality in rice, in 4 experiments. The first study evaluated the effect of foliar Zn, applied as 0%, 0.1%, 0.2%, 0.3% and 0.4% ZnSO4.7H2O on two rice cultivars, Chai Nat 1 (CNT1) and Kam Doi Saket (KDK) grown as wetland rice in the field at the Faculty of Agriculture, Chiang Mai University, in 2016 and 2017 on yield, grain Zn and phytate concentrations as well as bioavailability of Zn in the rice grain, as indicated by the molar ratio between phytate:Zn. The effect of foliar Zn on Zn concentration of the unpolished and polished grain was different between the varieties and cropping years. Foliar Zn application did not affect grain yield, foliar Zn with 0.3% ZnSO4 had the highest unpolished grain Zn ranging 35.5 - 37.0 mg kg-1 in both cropping years, but had no effect in CNT1. In the polished grain Zn, increasing foliar Zn application rate at 0.2 - 0.3% ZnSO4 increased Zn concentration in both the varieties, ranging between 11.2% - 20% in CNT1 and 8.3 - 24.1% in KDK, respectively in both years. In addition, the application of 0.3% ZnSO4 decreased phytate concentration in unpolished rice of KDK (by 11.5 - 20.9%), while it was not affected in CNT1 in both cropping years. On the other hand, the phytate concentration in the polished rice in 2016, applied at 0.4% ZnSO4 decreased by 26.2% and 16.2% in KDK and CNT1, respectively while in KDK it was increased at 13.6% in 2017. However, foliar 0.3% ZnSO4 decreased molar ratio between phytate:Zn in the unpolished grain by 26.0 - 37.7% in KDK but it was not observed in CNT1 in both cropping years. Furthermore, foliar 0.1 - 0.4% ZnSO4 in both cropping years decreased polished grain by 32.0 - 38.5% in both varieties. These findings indicated that foliar Zn application improved grain Zn concentration as well as it’s bioavailability. However, the other cultivation management may also effect on grain yield and Zn concentration such as water managements. In the second experiment, effects of water management and method of Zn fertilizer application on grain yield and Zn concentration was investigated in a wetland rice cv. Chai Nat 1 (CNT1) and an upland rice cv. Kam Hom Morchor (KH CMU), grown in two different water regimes of waterlogged and well-drain conditions with three Zn fertilizer managements (nil Zn, soil Zn and foliar Zn). The fertilizer was foliar applied with 0.5% ZnSO4.7H2O and soil Zn application was applied at 50 kg ha-1 as ZnSO4.7H2O. Grain yield was significantly affected by an interaction between rice variety and water condition, not by the Zn fertilizer treatment. In CNT1, the wetland rice grown under well-drained condition was found to have 16.0% lower grain yield lower than when grown in waterlogged soil, while the grain yield of KH CMU was not significantly different between the two water conditions. The concentration of Zn in unpolished rice was not affected by water regime but it was affected by Zn application methods. In CNT1, grain Zn was increased by 19.5% and 32.6% in soil and foliar Zn application, respectively. The interaction effect between water regime and Zn application was found in KH CMU. Applying Zn fertilizer through soil and foliar under waterlogged condition had the highest grain Zn concentration of 40.0 - 42.8 mg kg-1, while the highest grain Zn at 41.4 mg kg-1 was found in foliar Zn application under well-drained condition compared with 29.6 mg kg-1 and 36.1 mg kg-1 in no Zn application of well-drained and waterlogged condition. Therefore, applying Zn fertilizer would be an effective way to improve Zn deficiency in both plant and human but it should be carried under an appropriate management of growing condition such as water regime and rice varieties. In addition, the effect of other fertilizer application in rice cultivation should also be evaluated. The third study examined how N fertilizer affect Zn and N concentrations while having different effects on grain yield, in five rice varieties, Chai Nat 1 (CNT1), RD21, Khao Dawk Mali 105 (KDML105), Khao Pong Krai (KPK) and Nam Roo (NR), which differ in yield potential and original grain Zn concentration. Nitrogen fertilizer was applied to the soil at 50, 100, 150, 200, 250 and 300 kg ha-1, or as foliar N with a solution of urea (NH2CONH2) applied at 0, 0.5, 1.0, 1.5, 2.0 and 2.5% N. Increasing soil N at 150 kg ha-1 increased grain yield in CNT1 and RD21 ranged from 47.7 - 73.5 g pot-1, but increasing N at 300 kg ha-1 decreased grain yield in KPK and NR by 52.9% and 65.8%, respectively compared with N supply 50 kg ha-1. Foliar N application had no effect on the yield of all five varieties which was found at 44.7 - 68.8 g pot-1. Applying soil and foliar Zn had affected on grain Zn concentration. Applying soil N at 100 - 300 kg ha-1 increased grain Zn by 50 - 63% in low grain Zn variety (CNT1 and NR), while in medium grain Zn variety (KDML 105) increased by 35 - 37% and in high grain Zn variety (KPK and NR) increased by 33 - 183%. Applying foliar N with 0.5% - 2.5% were found to increase grain Zn concentration in the low grain Zn varieties by 24 - 67%, increased by 45 -59% in KDML105, and increased by 29 - 68% in the high grain Zn varieties. The results indicated that applying N fertilizer to the soil was more effective on grain Zn than the foliar spray, especially in the low-yielding/high grain Zn varieties. These results suggested that applying N fertilizer is not only effect on grain yield, but also grain Zn and N concentrations depending on rice varieties. The fourth study evaluated the effect of sulfur (S) and Zn fertilization on grain Zn and yield. The Osmancik 97 rice variety was grown in greenhouse condition at Sabanci University, Turkey. Plants were grown under low (0.25 mg Zn kg-1 soil) and adequate (5 mg Zn kg-1 soil) applied as ZnCl2, with a factorial combination of soil S as CaSO4.2H2O (2.5, 10 and 50 mg kg-1) and foliar Zn (with 0.5% ZnSO4.7H2O and without) treatments. Increasing S rates increased grain yield in both soil Zn conditions, which great response in adequate soil Zn than low Zn condition. Grain Zn concentration responded to Zn and S rates differently from grain yield. The highest grain Zn concentration was found at 42 mg kg-1 when applied with 2.5 mg S kg-1 soil in the adequate soil Zn condition. While, increasing S rates under low soil Zn condition did not affect grain Zn concentration. This indicating that the accumulation of grain Zn by S fertilizer is depending on the availability of Zn in the soil, the balance soil Zn and S may be the way to improve grain Zn accumulation. In conclusion, foliar Zn application did not affect grain yield while the different plant types of rice varieties used in this study exhibited variation in grain yield. The modern rice variety had a higher grain yield than the traditional rice variety. Considering the rice varieties grown in different cropping years, it was found that grain Zn concentration in different rice varieties was affected by foliar Zn application rates differently. This indicating that the application rates of Zn fertilizer is an essential factor to improve grain Zn concentration, but the response can vary between cropping years. Cropping year has been largely affected by environmental factors (i.e. precipitation, humidity and sunshine duration). In addition, water management with the original ecotype of wetland variety was affected on grain yield, while it was not found the response to water regime in the upland variety. Moreover, increasing Zn concentrations in unpolished rice of the wetland variety was affected by Zn fertilizer management (soil Zn and foliar Zn applications), but in upland rice was affected by an interaction between water regimes (well-drained and waterlogged conditions) and Zn fertilizer management. On the other hand, grain Zn varieties, but there was little effect of foliar N, depends on in yield potential and original grain Zn concentration. However, grain yield of rice varieties responded differently to soil N fertilizer rates, while foliar N had no effect on yield of all varieties. In addition, the application of S fertilizer effect on plant growth and development of rice differently at different soil Zn conditions which can consequently impact on its grain yield and Zn accumulation. Therefore, the appropriate agronomic management and rice variety is not only improved yield and grain Zn concentration, but it would also enhancing Zn intakes in human diet which would be able to alleviate Zn malnutrition among the world population.en_US
dc.language.isoenen_US
dc.publisherChiang Mai : Graduate School, Chiang Mai Universityen_US
dc.titleEffects of genotypes and zinc fertilizer management on grain yield and quality in riceen_US
dc.title.alternativeผลของพันธุ์และการจัดการปุ๋ยสังกะสีต่อผลผลิตและคุณภาพเมล็ดข้าวen_US
dc.typeThesis
thailis.controlvocab.lcshRice -- Seeds-
thailis.controlvocab.thashFertilizers-
thailis.controlvocab.thashField crops-
thesis.degreedoctoralen_US
thesis.description.thaiAbstractข้าวเป็นอาหารหลักที่สำคัญและเป็นแหล่งพลังงานสำหรับประชากรมากกว่าครึ่งหนึ่งของโลก แต่มีปริมาณสังกะสีในเมล็ดค่อนข้างต่ำ เมื่อเปรียบเทียบกับเมล็ดธัญพืชชนิดอื่น ๆ ซึ่งนอกจากการส่งผลต่อโภชนาการผู้บริโภคแล้ว ยังส่งผลต่อการเจริญเติบโต และผลผลิตของข้าวด้วย ปัจจุบันมีวิธีการเพิ่มผลผลิตและธาตุสังกะสีในเมล็ดข้าว โดยการเขตกรรม เช่น การจัดการน้ำหรือปุ๋ย การปรับปรุงพันธุ์ และพันธุวิศวกรรม เป็นต้น โดยเฉาะอย่างยิ่งการเขตกรรม เป็นวิธีการที่สามารถปฏิบัติได้จริงและที่ใช้ได้ผลในระดับแปลงในหลายประเทศ แต่ยังมีการศึกษาถึงรายละเอียดของอิทธิพลของพันธุ์ข้าว และการจัดการแต่ละแบบต่อผลผลิต และคุณภาพเมล็ดอย่างน้อยมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพันธุ์ข้าวที่มีคุณภาพเมล็ดแตกต่างกัน อีกทั้งยังมีผลกระทบสืบเนื่องจากผลผลผลิตที่ขึ้นอยู่กับการจัดน้ำและปุ๋ยไนโตรเจนดังนั้นการศึกษาครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินอิทธิพลของพันธุกรรมและการจัดการปุ๋ยสังกะสี ในการเพิ่มผลผลิตและคุณภาพของเมล็ดข้าว ประกอบด้วย 4 การทดลอง ดังนี้ การทดลองที่ 1 ทดสอบการให้ปุ๋ยสังกะสีทางใบแก่ข้าวสองพันธุ์ที่มีลักษณะคุณภาพเมล็ด ปริมาณสังกะสีในเมล็ดในเบื้องต้น และศักยภาพการให้ผลผลิตแตกต่างกันคือพันธุ์ชัยนาท 1 และพันธุ์ก่าดอยสะเก็ด ที่ได้รับปุ๋ยสังกะสีทางใบ ในรูปสารละลายสังกะสีซัลเฟต (ZnSO4.7H2O) ที่ระดับความเข้มข้น 0% 0.1% 0.2% 0.3% และ 0.4% ที่ปลูกในปี 2559 และ ปี 2560 ต่อผลผลิต ความเข้มข้นของธาตุสังกะสี ไฟเตท และความเป็นประโยชน์ของธาตุสังกะสีในเมล็ด ที่วัดด้วยอัตราส่วนต่อโมล ระหว่างไฟเตทและสังกะสี เมื่อพิจารณาจากพันธุ์ข้าวที่ปลูกภายใต้ปีการเพาะปลูกที่แตกต่างกัน พบว่าผลผลิตข้าวแต่ละพันธุ์ไม่มีการตอบสนองต่อระดับการพ่นปุ๋ยสังกะสีทางใบ แต่อย่างไรก็ตามอัตราปุ๋ยสังกะสี มีผลต่อความเข้มข้นของธาตุสังกะสี ไฟเตท อัตราส่วนต่อโมล ระหว่างไฟเตทและสังกะสี ในข้าวกล้อง และข้าวขัดขาวแตกต่างกัน เมื่อเทียบกับการไม่พ่นสังกะสี การพ่นที่ระดับ 0.3% สามารถเพิ่มความเข้มข้นสังกะสีในเมล็ดข้าวกล้องของข้าวพันธุ์ก่าดอยสะเก็ดสูงสุด ในช่วง 35.0 - 37.0 มก./กก. ในสองปีการเพาะปลูกแต่ไม่พบการตอบสนองในพันธุ์ชัยนาท 1 ในขณะที่การให้ปุ๋ยสังกะสีทางใบ 0.2 - 0.4% ทำให้ความเข้มข้นสังกะสีในข้าวขัดขาวทั้งสองสายพันธุ์เพิ่มขึ้น โดยพันธุ์ก่าดอยสะเก็ดเพิ่มขึ้น 11.2 - 20.0% และพันธุ์ชัยนาท 1 เพิ่มขึ้น 8.3 - 24.1% ภายใต้สองปีการเพาะปลูก นอกจากนี้การพ่นที่ระดับความเข้มข้น 0.3% พบว่าลดความเข้มข้นของไฟเตทในเมล็ดข้าวกล้องสูงสุด 11.5 - 20.9% ในสองปีการเพาะปลูก ในขณะที่ไม่พบการตอบสนองในข้าวพันธุ์ชัยนาท 1 และการพ่นปุ๋ยสังกะสีทางใบที่ระดับความเข้มข้น 0.4% มีผลต่อความเข้มข้นของไฟเตทในข้าวขัดขาวแตกต่างกันระหว่างพันธุ์ข้าวและปีที่ปลูก โดยพบว่าสามารถลดความเข้มข้นของไฟเตทในข้าวพันธุ์ชัยนาท 1 และก่าดอยสะเก็ด 26.2% และ 16.2% ตามลำดับ ในปี 2559 ส่วนในปี 2560 เพิ่มความเข้มข้นของไฟเตทในข้าวพันธุ์ก่าดอยสะเก็ด 13.6% ในอีกทางหนึ่งในข้าวพันธุ์ก่าดอยสะเก็ด การพ่นที่ความเข้มข้น 0.3% พบว่าอัตราส่วนต่อโมล ระหว่างไฟเตทและสังกะในเมล็ดข้าวกล้องลดลงสูงสุด 26.0 - 37.7% ในสองปีการเพาะปลูก และการพ่นสังกะสีทางใบที่ความเข้มข้น 0.1 - 0.4% สามารถลด อัตราส่วนต่อโมล ระหว่างไฟเตทและสังกะสี อยู่ในช่วง 32.0 - 38.5% ในขัดขาวของข้าวทั้งสองสายพันธุ์ที่ปลูกภายใต้ปีการเพาะปลูกที่แตกต่างกัน จากผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่า แม้การพ่นสังกะสีทางใบไม่มีผลต่อผลผลิตข้าวแต่พบว่าสามารถเพิ่มความเข้มข้นสังกะสีในเมล็ดข้าวที่สามารถเป็นประโยชน์ต่อโภชนาการในมนุษย์ได้ แต่อย่างไรก็ตามยังมีปัจจัยสภาพแวดล้อมอื่น ๆ ที่มีผลต่อผลผลิตและความเข้มข้นสังกะสีในเมล็ดข้าว การทดลองที่ 2 ประเมินผลการจัดการน้ำร่วมกับกรรมวิธีการจัดการปุ๋ยสังกะสี ในข้าวสองพันธุ์ที่มีศักยภาพการให้ผลผลิตและมีปริมาณสังกะสีในเมล็ดแตกต่างกันคือ พันธุ์ชัยนาท 1 และพันธุ์ก่าหอม มช. ปลูกเปรียบเทียบสภาพขังน้ำและไม่ขังน้ำ ร่วมกับการพ่นปุ๋ยสังกะสีทางใบในอัตรา 0.5% ของสังกะสีซัลเฟต ใส่ปุ๋ยสังกะสีซัลเฟตทางดินในอัตรา 50 กก./เฮกตาร์ และกรรมวิธีควบคุมที่ไม่ใส่ปุ๋ยสังกะสี พบว่าการจัดการปุ๋ยสังกะสีไม่มีผลต่อผลผลิต ในขณะเดียวกันข้าวทั้ง 2 สายพันธุ์ มีการตอบสนองของผลผลิตต่อการจัดการน้ำที่แตกต่างกัน ข้าวนาสวน (ชัยนาท 1) ที่ปลูกภายใต้สภาพไม่น้ำขังมีผลผลิตลดลง 16 % เมื่อเปรียบเทียบกับการปลูกในสภาพขังน้ำ ในขณะที่การจัดการน้ำไม่มีผลต่อผลผลิตในข้าวพันธุ์ก่าหอม มช. บ่งชี้ว่าการปลูกข้าวในสภาพการจัดการน้ำที่เหมาะสมกับพันธุ์ข้าวสามารถส่งเสริมผลผลิตได้ นอกจากนี้พบว่าการจัดการน้ำและปุ๋ยสังกะสีมีผลต่อการสะสมสังกะสีในเมล็ดข้าวแตกต่างกันในข้าวทั้ง 2 พันธุ์ การจัดการน้ำไม่มีผลต่อการสะสมธาตุสังกะสีในเมล็ดในข้าวพันธุ์ชัยนาท 1 แต่มีการตอบสนองต่อการจัดการปุ๋ยสังกะสี โดยการใส่ปุ๋ยทางดินและทางใบ ทำให้ความเข้มข้นสังกะสีในเมล็ดเพิ่มขึ้น 19.5% และ 32.6% ตามลำดับ ในขณะที่พบการตอบสนองระหว่างการจัดการน้ำร่วมกับการจัดการปุ๋ยในข้าวพันธุ์ก่าหอม มช. โดยพบว่าการให้ปุ๋ยทางดินและทางใบภายใต้การปลูกแบบไม่ขังน้ำ ทำให้มีการสะสมธาตุสังกะสีในเมล็ดสูงสุด อยู่ในช่วง 40.0 - 42.8 มก./กก. ในขณะที่การปลูกแบบขังน้ำและพ่นปุ๋ยทางใบทำให้เมล็ดข้าวมีความเข้มข้นสังกะสีสูงสุดที่ 41.4 มก./กก. เปรียบเทียบกับการไม่ใส่ปุ๋ยสังกะสีในสภาพไม่ขังน้ำและขังน้ำที่มีความเข้มข้นสังกะสีในเมล็ด 29.6 มก./กก. และ 36.1 มก./กก. จากการทดลองแสดงให้เห็นว่าการจัดการปุ๋ยสังกะสีเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพในการเพิ่มผลผลิตและความเข้มข้นในเมล็ด แต่ควรจัดการภายใต้สภาพการปลูกและพันธุข้าวที่เหมาะสม รวมทั้งอาจต้องทดสอบอิทธิพลของการจัดการธาตุอาหารชนิดอื่น ๆ ร่วมด้วยว่ามีอิทธิพลร่วมกับการจัดการปุ๋ยสังกะสีอย่างไร การทดลองที่ 3 ทดสอบผลกระทบจากปุ๋ยไนโตรเจนที่ให้ทางดินในอัตราที่ส่งผลในการเพิ่มผลผลิตข้าว ได้แก่ 50 100 150 200 250 และ 300 กก./เฮกตาร์และที่ให้ทางใบที่ส่งผลต่อผลผลิตน้อยกว่า ด้วยสารละลายยูเรีย (NH2CONH2) ที่มีไนโตรเจน 0% 0.5% 1.0% 1.5% 2.0 และ 2.5 % ในข้าว 5 พันธุ์ ซึ่งมีศักยภาพในการสร้างผลผลิต และมีปริมาณสังกะสีในเมล็ดในเบื้องต้นแตกต่างกัน ได้แก่ พันธุ์ ชัยนาท 1 กข 21 ขาวดอกมะลิ 105 ขาวโปร่งไคร้ และ น้ำรู พบว่าเมื่อเพิ่มระดับปุ๋ยไนโตรเจนทางดินตั้งแต่ 150 กก./เฮกตาร์ ในข้าวพันธุ์ชัยนาท 1 และกข 21 มีผลผลิตเพิ่มขึ้นในช่วง 47.7 - 73.5 กรัม/กระถาง ในขณะที่พันธุ์ขาวโปร่งไคร้ และน้ำรูให้ผลลิตลดลง 52.9 – 65.8% ที่ระดับปุ๋ยไนโตรเจนทางดิน 300 กก./เฮกตาร์ ในทางตรงกันข้ามผลผลิตของข้าวทั้ง 5 สายพันธุ์ไม่ตอบสนองต่อการเพิ่มระดับปุ๋ยไนโตรเจนที่ฉีดพ่นทางใบ ซึ่งมีผลผลิตเฉลี่ยอยู่ในช่วง 44.7 – 68.8 กรัม/กระถาง นอกจากนี้พบว่าการจัดการปุ๋ยไนโตรเจนทั้งทางดินและทางใบ ทำให้สังกะสีในเมล็ดเพิ่มขึ้นแตกต่างกันในข้าวแต่ละพันธุ์ สำหรับการใส่ปุ๋ยไนโตรเจนทางดินที่ระดับ 100 - 300 กก./เฮกตาร์ พบว่าพันธุ์ข้าวที่มีปริมาณสังกะสีเริ่มต้นต่ำ (ชัยนาท 1 และ กข 21) สามารถเพิ่มความเข้มข้นสังกะสีในเมล็ดได้ 50 -63% พันธุ์ที่มีสังกะสีเริ่มต้นปานกลาง (ขาวดอกมะลิ 105) เพิ่มขึ้น 35 -75% ส่วนในพันธุ์ที่มีปริมาณสังกะสีเริ่มต้นสูง (ขาวโปร่งไคร้ และน้ำรู) เพิ่มได้สูงสุด 33 -183% ในขณะที่การพ่นปุ๋ยไนโตรเจนทางใบที่ระดับ 0.5% - 2.5% สามารถเพิ่มความเข้มข้นสังกะสี 45 - 59% (ขาวดอกมะลิ 105) 24 - 67% (ชัยนาท 1 และ กข 21) และ 29 - 68% (ขาวโปร่งไคร้ และ น้ำรู) อย่างไรก็ตามพบว่าการใส่ปุ๋ยไนโตรเจนทางดินมีประสิทธิภาพต่อการเพิ่มความเข้มข้นสังกะสีในเมล็ดข้าวสูงกว่าการพ่นปุ๋ยไนโตรเจนทางใบ โดยเฉพาะพันธุ์ข้าวที่มีศักยภาพในการสร้างผลผลิตต่ำและมีปริมาณสังกะสีในเมล็ดเบื้องต้นสูง บ่งชี้ว่าผลผลิตและความเข้มข้นสังกะสีในเมล็ดมีความแปรผันขึ้นอยู่กับกรรมวิธีการจัดการปุ๋ยไนโตรเจน และพันธุ์ข้าว การจัดการปุ๋ยไนโตรเจนที่เหมาะสมกับการตอบสนองของพันธุ์ข้าวจะเป็นแนวทางในการเพิ่มผลผลิตและความเข้มข้นสังกะสีในเมล็ดข้าวได้ เนื่องจากมีรายงานพบว่าการใช้ปุ๋ยกำมะถันสามารถส่งเสริมผลผลิต และปริมาณธาตุสังกะสีในเมล็ดได้ การทดลองที่ 4 นี้จึงได้ประเมินอิทธิพลร่วมระหว่างการจัดการปุ๋ยกำมะถันและปุ๋ยสังกะสี ต่อผลผลิต และปริมาณสังกะสีในเมล็ดข้าวพันธุ์ Osmancik 97 ที่ปลูกภายใต้สภาพโรงเรือน มหาวิทยาลัย Sabanci ประเทศตุรกี โดยมีการทดลองเป็นแฟคทอเรียล 3x2x2 ในการให้ปุ๋ยกำมะถันทางดิน (2.5 10 และ 50 มก./กก. ดิน) ในรูปยิปซัม หรือแคลเซียมซัลเฟต (CaSO4.2H2O) การให้ปุ๋ยสังกะสีทางดิน คือ ปุ๋ยสังกะสีคลอไรด์ (ZnCl2) (0.25 และ 5 มก./กก. ดิน) ภายใต้การฉีดพ่นปุ๋ยสังกะสี 2 ระดับ คือ สังกะสีซัลเฟต (ZnSO4.7H2O) (0% และ 0.5%) พบว่าการเพิ่มระดับปุ๋ยกำมะถันเพิ่มผลผลิตเมล็ดข้าวโดยไม่มีผลต่อปริมาณสังกะสีในเมล็ด การเพิ่มระดับปุ๋ยกำมะถันร่วมกับการจัดการปุ๋ยสังกะสีทางดินในระดับที่เพียงพอ ทำให้ผลผลิตเพิ่มขึ้นสูงกว่าการจัดการปุ๋ยสังกะสีทางดินในระดับต่ำ และมีการตอบสนองของปริมาณสังกะสีในเมล็ดแตกต่างจากการตอบสนองของผลผลิต โดยการใช้ปุ๋ยกำมะถันที่ระดับ 2.5 มก./กก. ดิน ร่วมกับการใส่ปุ๋ยสังกะสีทางดินที่ระดับ 5 มก./กก. ดิน มีการสะสมสังกะสีในเมล็ดสูงที่สุด 42 มก./กก. ในขณะที่การเพิ่มอัตราปุ๋ยกำมะถันในดินร่วมกับดินที่มีธาตุสังกะสีต่ำ ไม่มีผลต่อปริมาณธาตุสังกะสีในเมล็ด จากการศึกษาบ่งชี้ว่าการจัดการปุ๋ยกำมะถันร่วมกับปุ๋ยสังกะสีทางดินในอัตราที่เหมาะสมสามารถส่งเสริมการสร้างผลผลิตและการเพิ่มคุณภาพทางโภชนาการในเมล็ดข้าวได้ จากการศึกษาพบว่าอิทธิพลของการพ่นปุ๋ยสังกะสีทางใบ ไม่มีผลต่อผลผลิต แต่ชนิดของพันธุ์ข้าว (plant type) ที่ใช้ในการทดลองนี้ ข้าวพันธุ์ปรับปรุงสมัยใหม่มีผลผลิตสูงกว่าข้าวพันธุ์พื้นเมือง และเมื่อพิจารณาจากพันธุ์ข้าวที่ปลูกในปีการเพาะปลูกที่แตกต่างกัน พบว่าการสะสมสังกะสีในเมล็ดข้าวแต่ละพันธุ์มีการตอบสนองต่อระดับการพ่นปุ๋ยสังกะสีทางใบ ดังนั้นระดับความเข้มข้นของการพ่นปุ๋ยสังกะสีมีความสำคัญต่อการเพิ่มปริมาณสังกะสีในเมล็ด และความแปรปรวนของอัตราการเพิ่มขึ้นของธาตุสังกะสีในเมล็ดขึ้นอยู่กับปีการเพาะปลูก ซึ่งอิทธิพลของปีการเพาะปลูกที่แตกต่างกันที่อาจจะมีความแตกต่างของสภาพภูมิอากาศในแต่ละปี เช่น ปริมาณน้ำฝน ความชื้น และแสงแดด นอกจากนี้การจัดการน้ำให้เหมาะสมตามระบบนิเวศของข้าวนาสวนสามารถส่งเสริมผลผลิต แต่ไม่มีผลต่อผลิตข้าวไร่ สำหรับสังกะสีในเมล็ดข้าว พบว่ามีอิทธิพลมาจากกรรมวิธีการจัดการปุ๋ยสังกะสีทั้งทางดินและการพ่นทางใบในข้าวนาสวน ส่วนข้าวไร่พบอิทธิพลร่วมระหว่างกรรมวิธีการจัดการปุ๋ยสังกะสีและการจัดการน้ำ ทั้งแบบขังน้ำและไม่ขังน้ำ ในขณะที่การจัดการปุ๋ยไนโตรเจนทางดินและการพ่นปุ๋ยไนโตรเจนทางใบ มีผลต่อการสะสมธาตุสังกะสีในเมล็ดแตกต่างกันในข้าวแต่ละพันธุ์ ขึ้นอยู่กับศักยภาพในการสร้างผลผลิต และมีปริมาณสังกะสีในเมล็ดเริ่มต้นแตกต่างกัน ส่วนผลผลิตข้าวแต่ละพันธุ์ไม่ตอบสนองต่อระดับการพ่นปุ๋ยไนโตรเจนทางใบ แต่ตอบสนองต่อระดับปุ๋ยไนโตรเจนทางดิน นอกจากนี้การจัดการปุ๋ยกำมะถันร่วมกับปุ๋ยสังกะสี เป็นอีกหนึ่งแนวทางที่สามารถเพิ่มผลผลิตและความเข้มข้นของธาตุสังกะสีได้ ดังนั้นการเลือกใช้กรรมวิธีที่เหมาะสมในการเขตกรรมในข้าวแต่ละพันธุ์สามารถเพิ่มผลผลิตและปริมาณสังกะสีในเมล็ดได้ ซึ่งนอกจากผลต่อการเจริญเติบโตและสร้างผลผลิตในต้นข้าวแล้วยังสามารถทำให้ผู้บริโภคได้รับธาตุสังกะสีสูงไปด้วย ซึ่งน่าจะสามารถบรรเทาปัญหาการขาดธาตุสังกะสี ในกลุ่มประชากรที่บริโภคข้าวได้อีกด้วยen_US
Appears in Collections:AGRI: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
590851007 กัญญ์กุลณัช คำปวง.pdf2.08 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.