Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/73918
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ประทุม สร้อยวงค์ | - |
dc.contributor.advisor | พิกุล พรพิบูลย์ | - |
dc.contributor.author | รัชดาวรรณ ปินตา | en_US |
dc.date.accessioned | 2022-08-16T16:33:58Z | - |
dc.date.available | 2022-08-16T16:33:58Z | - |
dc.date.issued | 2563 | - |
dc.identifier.uri | http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/73918 | - |
dc.description.abstract | Palliative care for patients with cancer who face physio-psycho-social-spiritual distress should be holistic care delivered by a multidisciplinary health care team. The case management model is based on the concept of efficient care in order to gain great patient care outcomes. This outcome research aimed to describe palliative care quality based on the case management model among patients. Participants were recruited using purposive sampling. They consisted of 60 cancer patients receiving palliative care at a provincial hospital and 60 of their family caregivers from May 2019 to July 2019. Additionally, seven palliative health care providers and three hospital administrators participated in this study. Research instruments were; 1) the semi-structured interview guidelines for health care providers related to coordination in palliative care based on a case management model for cancer patients, 2) the semi-structured interview guidelines for case manager based on case management practices and activities in palliative care in a case management model for cancer patients. 3) the semi-structured interview guidelines for executives related to palliative care structure based on the case management model, 4) the patient's outcome record, 5) the patient satisfaction questionnaire towards palliative care based on a case management model for cancer patients, 6) the caregivers' family satisfaction questionnaire towards palliative care based on a case management model for cancer patients, and 7) the observation checklist regarding nurse case managers providing palliative care. Data were analyzed using descriptive statistics and point-based classification. The results revealed that: 1. For structure, it was found that this hospital had a policy on organizing an outpatient and inpatient service system, allocating human resources following the Ministry of Public Health standards, budgets for palliative care, and supporting pain relief. Additionally, the hospital provided adequate essential equipment for patient care and appropriate establishments/services for palliative care and the healthcare systems' interconnection. A palliative care system also collaborates with the various levels of network service. 2. For processes, it was found that the hospital has a nurse who is a case manager. The case manager's roles include selecting patients for care, evaluating and identifying problems, coordination of planned care, continued evaluation, and monitoring until termination of care. Nevertheless, coordinating with the network service to link data about treatment plans before discharging and forwarding patients' data to a health care service network or community, and providing assistance in various fields enables patients to receive continuing palliative care. 3. For outcomes, in terms of patient outcomes, it was found that all patients received symptoms management and died on-demand, and 92.3 1 %o received care consistent with their advance care planning. Only 70.00 % had advanced care planning and had decision-making at the end of life stage. Satisfaction with physical symptoms relief management, psychological suffering relief management, family well-being assistance, and an enhancing moral care were at high level of 95.00, 98.33, 88.33, and 95.00 %, respectively, at a high level. For family caregivers' outcomes, it was found that satisfaction towards caring for family members and assistance in managing family well-being problems was 81.67 and 86.67 %, respectively. For the organization's outcomes were found that the patients and family caregivers were highly satisfied with the overall quality of care under this model at 86.67 and 70.00 %, respectively. Implementing this palliative care based on case management model can reduce costs by reflecting on the length of stay in hospital and lower hospital re-admission rate and enhance multidisciplinary teamwork in efficient palliative care. This study's results can be applied as preliminary data for supporting the development and improvement of palliative care in other hospitals. The institution should determine the case manager's scope of duties and systemically evaluate their practices' outcomes. Further study should develop a competency development model of nurse case managers for palliative care and examine that model's effects. | en_US |
dc.language.iso | other | en_US |
dc.publisher | เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | en_US |
dc.subject | การดูแลแบบประคับประคอง | en_US |
dc.title | คุณภาพการดูแลแบบประคับประคองตามรูปแบบการจัดการรายกรณี ในผู้ป่วยมะเร็ง | en_US |
dc.title.alternative | Quality of palliative care based on case management model among cancer patients | en_US |
dc.type | Thesis | |
thailis.controlvocab.thash | มะเร็ง -- ผู้ป่วย | - |
thailis.controlvocab.thash | ผู้ป่วย -- การดูแล | - |
thailis.controlvocab.thash | การรักษาเพื่อบรรเทาอาการ | - |
thesis.degree | master | en_US |
thesis.description.thaiAbstract | การดูแลผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับการดูแลแบบประคับประคองที่เผชิญกับความทุกข์ทรมานทั้งด้าน ร่างกาย จิตใจ สังคม และจิตวิญญาณ ต้องอาศัยการดูแลแบบองค์รวมโดยทีมสหสาขาวิชาชีพ ซึ่งแนวคิด การดูแลที่จะช่วยสนับสนุนให้มีการดำเนินการดูแลที่มีประสิทธิภาพและเกิดผลลัพธ์ของการดูแลผู้ป่วย ที่ดีก็คือแนวคิดของการจัดการรายกรณี การวิจัยเชิงผลลัพธ์นี้มีวัดถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณภาพการดูแล แบบประคับประคองตามรูปแบบการจัดการรายกรณีในผู้ป่วยมะเร็ง คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง ประกอบด้วย กลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้ป่วยมะเร็งและครอบครัวผู้ดูแลผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับการดูแล แบบประคับประคอง ณ โรงพยาบาลจังหวัดแห่งหนึ่ง ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2562 ถึง เดือน กรกฎาคม 2562 จำนวนกลุ่มละ 60 คน กลุ่มบุคลากรทีมสุขภาพ จำนวน 7 คน ผู้บริหารของโรงพยาบาล และผู้บริหารทางการพยาบาล จำนวน 3 คน เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย 1) แนวคำถามสำหรับการ สัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างของทีมสุขภาพเกี่ยวกับการประสานการทำงานร่วมกันในการดูแลแบบ ประคับประคองตามรูปแบบการจัดการรายกรณีในผู้ป่วยมะเร็ง 2) แนวคำถามสำหรับการสัมภาษณ์แบบ กึ่งโครงสร้างของผู้จัดการรายกรณีเกี่ยวกับลักษณะการปฏิบัติและกิจกรรมของผู้จัดการรายกรณีในการ ดูแลแบบประคับประคองตามรูปแบบการจัดการรายกรณีในผู้ป่วยมะเร็ง 3) แนวคำถามสำหรับการ สัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างของผู้บริหารเกี่ยวกับโครงสร้างของการดูแลแบบประกับประคองที่เกี่ยวข้อง กับการจัดการรายกรณี 4) แบบรวบรวมข้อมูลผลลัพธ์ผู้ป่วย 5) แบบสอบถามความพึงพอใจของผู้ป่วย ต่อคุณภาพการดูแลแบบประคับประคองตามรูปแบบการจัดการรายกรณีในผู้ป่วยมะเร็ง 6) แบบสอบถาม ความพึงพอใจของครอบครัวผู้ดูแลต่อคุณภาพการดูแลแบบประกับประคองตามรูปแบบการจัดการ รายกรณีในผู้ป่วยมะเร็ง และ 7) แบบสังเกตการปฏิบัติงานของผู้จัดการรายกรณีในการดูแลแบบ ประคับประคอง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและการจัดหมวดหมู่ตามประเด็นคำถาม ผลการวิจัยพบว่า 1. ด้านโครงสร้าง พบว่าโรงพยาบาลมีนโยบายเกี่ยวกับการจัดระบบบริการสำหรับผู้ป่วยนอก และผู้ป่วยใน และการจัดสรรทรัพยากรบุคคลให้เป็นไปตามมาตรฐานกระทรวงสาธารณสุข มีการจัดสรร งบประมาณในการดำเนินงานด้านการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคองและใช้สนับสนุนการรักษาบรรเทา อาการปวด การจัดให้มีคลังอุปกรณ์ที่จำเป็นในการดูแลผู้ป่วยให้เพืยงพอกับความด้องการ มีการจัด สถานที่ หน่วยบริการสำหรับให้บริการด้านการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคอง และมีการเชื่อมโยง ระบบบริการการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคองระหว่างโรงพยาบาลกับเครือข่ายระดับต่าง ๆ 2. ด้านกระบวนการ พบว่ามีพยาบาลผู้จัดการรายกรณีที่มีบทบาทในการคัดเลือกผู้ป่วยเข้าไว้ ในการดูแล ประเมินและระบุปัญหา ร่วมวางแผนการดูแล ประสานงานการดูแลตามแผน ประเมิน และติดตามผล และกำกับติดตามอย่างต่อเนื่อง ประสานงานกับเครือข่ายบริการเพื่อเชื่อมโยงข้อมูล การวางแผนการดูแลรักษาเพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลที่ต่อเนื่อง 3. ด้านผลลัพธ์ ด้านผู้ป่วยพบว่าผู้ป่วยทุกรายได้รับการจัดการอาการรบกวน และ ได้เสียชีวิตตาม ความประสงค์ และร้อยละ 92.31 ได้รับการดูแลรักษาที่สอดคล้องกับการวางแผนการดูแลที่วา แผนไว้ ล่วงหน้า มีเพียงร้อยละ 70.00 ที่ด้รับการวางแผนการดูแลล่วงหน้าและได้มีการตัดสินใจเกี่ยวกับวาระ ท้ายของชีวิต และมีความพึงพอใจต่อการจัดการบรรเทาอาการทางกาย การจัดการบรรเทาความทุกข์ ทรมานทางจิตใจ การช่วยเหลือในการจัดการปัญหาความเป็นอยู่ในครอบครัว และการดูแลด้านการสร้าง ขวัญและกำลังใจอยู่ในระดับมาก ร้อยละ 95.00, 98.33, 88.33 และ 95.00 ตามลำคับ ด้านครอบครัวผู้ดูแล พบว่ามีความพึงพอใจต่อการดูแลสมาชิกในครอบครัว และการช่วยเหลือในการจัดการปัญหาความ เป็นอยู่ในครอบครัวอยู่ในระดับมาก ร้อยละ 81.67 และ 86.67 ตามลำดับ และผลลัพธ์ต่อองค์กรพบว่า กลุ่มผู้ป่วยและกลุ่มครอบครัวผู้ดูแลมีความพึงพอใจต่อคุณภาพการดูแลตามรูปแบบนี้ โดยรวมอยู่ใน ระดับมาก ร้อยละ 86.67 และ 70.00 ตามลำดับ รูปแบบการดูแลนี้สามารถลดค่าใช้ง่ายโดยสะท้อนจาก ระยะเวลาการนอนโรงพยาบาลและอัตราการกลับเข้ารับการรักษาซ้ำในโรงพยาบาลลดลง และส่งเสริม ให้มีการทำงานเป็นทีมสหสาขาวิชาชีพในการดูแลแบบประคับประคองอย่างมีประสิทธิภาพ ผลการวิจัยครั้งนี้สามารถนำไปใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานเพื่อสนับสนุนการพัฒนาและปรับปรุง คุณภาพการดูแลแบบประคับประคองของโรงพยาบาล โดยหน่วยงานควรมีการกำหนดขอบเขตหน้ที่ ของพยาบาลผู้จัดการรายกรณีและประเมินผลลัพธ์การปฏิบัติงานอย่างเป็นระบบ การศึกษาครั้งต่อไป ควรทำวิจัยเพื่อพัฒนารูปแบบการพัฒนาสมรรถนะของพยาบาลผู้จัดการรายกรมีสำหรับการดูแลแบบ ประคับประคองและศึกษาผลของรูปแบบนั้น | en_US |
Appears in Collections: | NURSE: Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
591231035 รัชดาวรรณ ปินตา.pdf | 6.9 MB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.