Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/73857
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorไพลิน ภู่จีนาพันธุ์-
dc.contributor.authorกฤษฎากรณ์ สันโดษen_US
dc.date.accessioned2022-08-14T01:33:51Z-
dc.date.available2022-08-14T01:33:51Z-
dc.date.issued2022-05-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/73857-
dc.description.abstractThe objectives of this research paper are to study and analyze the process for the Member of the House of Representatives in Chiang Mai Province and the use of the Future Forward Party's primary vote system in the general election on 24 March 2019, and to analyze the problems, limitations, and recommendations of the Chiang Mai House of Representatives selection system and the use of the Future Forward Party’s primary vote during the general election on the same period. This research employed a qualitative method, and the researcher accumulated data from documentary research and in-depth interviews with a group of 17 informants. The data were analyzed using the conceptual framework and theories about political parties, and the conceptual framework of the electoral system and candidate selection. The results showed that the Organic Act on Political Parties (B.E. 2560) provides guidelines for political parties to adopt primary vote in candidate selection for the House of Representatives for the first time, but this approach was exempt from the Head of the National Council for Peace and Order No. 13/256. However, the Future Forward Party still chose to use primary vote through an online platform where the party’s central election committee would interview, screen and select to seek for a qualified person, with the upright legal and political views, and then arrange a voting system for party members to do an online vote. Nevertheless, although every member has the right to vote, the only person who has the power to make the final decision or “knock” on selecting a candidate to represent in an election is the party's executive committee, and any decision made from the committee is considered final according to the regulations of the Future Forward Party. The adoption of the primary vote system as a means for candidate selection for the Future Forward Party still encountered some external and internal problems and obstacles. As for the external factors, there were problems related to the Organic Act on Political Parties B.E. 2560, particularly on the sections relevant to the selection of candidates for an election, such as the requirement for political parties to have all four party branches – one in each part of the country – or the minimum number of party members. These were major obstacles that hindered political parties from organizing an online primary vote. As for internal factors, there were problems within political parties that occurred on a national level, and that happened in the case of Chiang Mai Province as well. The problems included i) technical problems as the online system for the primary vote was not completed; therefore, the website crashed, and party members did not receive a One Time Password (OTP) in the online primary vote; ii) party members’ participation issues in the online primary vote. There were only a small number of participants voting in the primary vote (35.5% out of the total number of 14,203 Future Forward Party members in the country); iii) there were also time limitations. Although the primary vote system allowed the Future Forward Party to completely select and submit all 350 candidates from the constituencies in a short period of time, there were still problems in coordination, communication, and collaboration between candidates and party branches or provincial representatives of the Future Forward Party in the election campaign; and iv) there were problems, complaints and attacks on the online primary vote from those who were not selected to run for the election on behalf of the Future Forward Party, and this was a common problem found in Chiang Mai and many constituencies. Based on the findings, the researcher proposed the following suggestions: several sections of the Organic Act on Political Parties should be reconsidered and opinions from stakeholders should be taken in consideration and should therefore be applied to the current sections so that they are consistent to the reality. Besides, to know the exact number of party members, there should be a system recording all of the information of party’s members. In addition, political parties need to raise awareness of the people regarding the importance of being a political party member, the primary vote system, and campaigns and public relations encouraging political members to exercise their right to vote in a primary vote. These approaches will potentially increase the electoral participation of political party members, create transparency in the system, and emphasize that a primary vote is not just a superficial act. This will be the cornerstone of building democracy within political parties (Intra-Party Democracy) and the Quality of the Representation.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleพรรคอนาคตใหม่กับระบบการคัดสรรผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงใหม่ ในการเลือกตั้งทั่วไปวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2562en_US
dc.title.alternativeFuture Forward Party and the Candidate Selection for member of the house of representatives in Chiang Mai on the 24 March B.E. 2562 general electionen_US
dc.typeThesis
thailis.controlvocab.thashสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร -- การเลือกตั้ง -- เชียงใหม่-
thailis.controlvocab.thashการเลือกตั้ง -- เชียงใหม่-
thailis.controlvocab.thashไทย -- การเมืองและการปกครอง-
thailis.controlvocab.thashพรรคอนาคตใหม่-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการศึกษาวิจัยในวิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ในการศึกษา คือ 1)เพื่อศึกษาและวิเคราะห์กระบวนการคัดสรรผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงใหม่ และการใช้ระบบไพรมารีโหวตของพรรคอนาคตใหม่ ในการเลือกตั้งทั่วไปวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2562 และ2) เพื่อวิเคราะห์ปัญหา ข้อจำกัดและข้อเสนอแนะของระบบการคัดสรรผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงใหม่ และการใช้ระบบไพรมารีโหวตของพรรคอนาคตใหม่ ในการเลือกตั้งทั่วไปวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2562 การศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยผู้วิจัยได้ดำเนินการเก็บข้อมูลจากการวิจัยเชิงเอกสารและการสัมภาษณ์เชิงลึกจากกลุ่มผู้ให้ข้อมูลทั้งหมด 17 คน และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้แนวคิด 1) แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับพรรคการเมือง 2) แนวคิดระบบการเลือกตั้งและการคัดสรรผู้สมัครรับเลือกตั้ง (Candidate Selection) ผลการศึกษาพบว่า พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2560 ได้กำหนดแนวทางให้พรรคการเมืองต้องนำเอาระบบการเลือกตั้งขั้นต้นหรือไพรมารีโหวต (Primary Vote) มาใช้ในการคัดสรรผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นครั้งแรก แต่แนวทางดังกล่าวกลับได้รับการยกเว้นตามคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ 13/2561 ทว่าพรรคอนาคตใหม่ได้นำเอาระบบไพรมารีโหวตมาใช้โดยสมัครใจ (Voluntary) ผ่านระบบออนไลน์กล่าวคือ คณะกรรมการเลือกตั้งส่วนกลางของพรรคจะทำหน้าที่ในการสัมภาษณ์ คัดสรร และคัดกรองคุณสมบัติของผู้ประสงค์ลงสมัครรับเลือกตั้งทั้งในด้านกฎหมายและทัศนคติทางการเมือง และจัดให้มีการลงคะแนนในระบบไพรมารีโหวตทางออนไลน์ของสมาชิกพรรค แต่อำนาจในการตัดสินใจสุดท้ายหรือ “การเคาะ” การส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งกลับเป็นอำนาจของคณะกรรมการบริหารพรรค และถือเป็นที่สิ้นสุดตามข้อบังคับของพรรคอนาคตใหม่ ทั้งนี้ การนำระบบไพรมารีโหวตมาใช้เป็นกลไกในการคัดสรรผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของพรรคอนาคตใหม่ยังพบปัญหาและอุปสรรค ซึ่งเกิดขึ้นจากทั้งปัจจัยภายนอกและปัจจัยภายในกล่าวคือ ปัจจัยภายนอกซึ่งเกี่ยวข้องกับพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมืองพ.ศ.2560 โดยเฉพาะหมวดที่เกี่ยวข้องกับการคัดสรรผู้สมัครรับเลือกตั้งหลายมาตราอาทิเช่นการกำหนดให้พรรคการเมืองต้องมีสาขาพรรคครบทั้ง 4 ภาคและการกำหนดจำนวนสมาชิกพรรคขั้นต่ำ เป็นอุปสรรคสำคัญที่ทำให้พรรคการเมืองไม่สามารถจัดทำไพรมารีโหวตได้ สำหรับปัจจัยภายในเป็นปัญหาภายในพรรคการเมืองที่ปรากฎในภาพรวมระดับประเทศและรวมถึงกรณีของจังหวัดเชียงใหม่ดังนี้ 1) ปัญหาเชิงเทคนิค โดยระบบในการทำไพรมารีโหวตแบบออนไลน์ ไม่มีความสมบูรณ์ เว็ปไซต์ขัดข้อง (เว็บล่ม) และสมาชิกพรรคไม่ได้รับรหัสตอบรับเพื่อยืนยันตัวตน (OTP) ในการลงคะแนนเสียงขั้นต้นออนไลน์ 2) ปัญหาการมีส่วนร่วมของสมาชิกพรรคในการลงคะแนนเสียงขั้นต้นออนไลน์ภาพรวมทั้งประเทศมีสัดส่วนที่ค่อนข้างจำกัดเพียงร้อยละ 35.5 จากจำนวนสมาชิกพรรคอนาคตใหม่ทั้งประทศ 14,203 คน 3) ปัญหาด้านระยะเวลา แม้ว่าระบบไพรมารีจะเอื้อให้พรรคอนาคตใหม่สามารถคัดสรรและส่งผู้สมัครส.ส.ได้ครบทั้ง 350 เขตเลือกตั้งในระยะเวลาอันสั้น แต่กลับพบปัญหาในแง่การประสานงาน การสื่อสาร และการทำงานร่วมกันระหว่างผู้สมัครรับเลือกตั้งและสาขาพรรคหรือตัวแทนประจำจังหวัดของพรรคอนาคตใหม่ในการหาเสียงเลือกตั้ง 4) ปัญหาข้อร้องเรียนและการโจมตีระบบไพรมารีโหวตแบบออนไลน์จากผู้ที่ไม่ได้รับการคัดสรรให้ลงสมัครรับเลือกตั้งในนามพรรคอนาคตใหม่ อันเป็นปัญหาที่พบในจังหวัดเชียงใหม่และอีกหลายเขตเลือกตั้ง จากข้อค้นพบดังกล่าวผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะดังนี้ 1) พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง หลายมาตราจำเป็นต้องมีการทบทวน รับฟังความคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและแก้ไขให้สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริง 2) การจัดเก็บฐานข้อมูลสมาชิกพรรคของพรรคการเมืองไทยควรจัดทำให้เป็นระบบ เพื่อทราบจำนวนสมาชิกพรรคที่แน่นอน 3) พรรคการเมืองจำเป็นต้องให้ความรู้แก่ประชาชนถึงความสำคัญของการเป็นสมาชิกพรรคการเมือง การทำไพรมารีโหวต และการรณรงค์และประชาสัมพันธ์ให้สมาชิกพรรคการเมืองไปใช้สิทธิในการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งขั้นต้น แนวทางดังกล่าวจะทำให้ระบบการคัดสรรผู้สมัครรับเลือกตั้งของพรรคการเมืองเกิดจากการมีส่วนร่วมของสมาชิกพรรคการเมือง มีความโปร่งใส มีความเป็นสารัตถะ มิใช่ดำเนินไปในเชิงพิธีกรรมเท่านั้น อันจะเป็นรากฐานสำคัญของการสร้างประชาธิปไตยภายในพรรคการเมือง (Intra-Party Democracy) และคุณภาพของตัวแทน (Quality of Representation)en_US
Appears in Collections:POL: Theses



Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.