Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/73812
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ยศ สันตสมบัติ | - |
dc.contributor.advisor | อรัญญา ศิริผล | - |
dc.contributor.advisor | ไพโรจน์ คงทวีศักดิ์ | - |
dc.contributor.author | สุธีรา คณะธรรม | en_US |
dc.date.accessioned | 2022-08-09T10:48:29Z | - |
dc.date.available | 2022-08-09T10:48:29Z | - |
dc.date.issued | 2021-01 | - |
dc.identifier.uri | http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/73812 | - |
dc.description.abstract | This dissertation aimed to investigate Nanness through the Nan’s Longboat Racing Festival. The study analyzed the power relationship of actors, who contributed to the construction of meaning of the festival. The analysis of the situation in which there were competitions for meanings and the negotiation method for establishing the meaning of the Nan’s Longboat Racing Festival in the context of globalization was conducted. This research study also examined the construction of the identity of the local Nan, and the local interactions with external powers that attempted to manage and control the longboat racing festival. This study was qualitative, applying cultural politics approach, through the study of community groups, government and community groups related to the Nan’s longboat racing festival. The field study took place from 2017 to 2020. This study results showed that, firstly, the construction of historical meaning for the current Nan’s Longboat Racing Festival contained two dimensions. The first dimension was health (Alcohol-Free Longboat Racing Festival). Although initiated by the health community in Nan Province, the central governmental organizations were invited to participate in the festival, reinforcing the power to construct the meaning for the longboat racing festival that it became more credible and justified. The second dimension was the cultural capital for community tourism. This capital created the meaning and harmonized the benefits of all sectors, from the community level, the local organization level and the central governmental organization. By the cultural capital, a common ground was made, where all the organizations concerned participated in driving the longboat racing festival for tourism. Secondly, the Nan’s Longboat Racing Festival has served as a space where the interest groups, from the longboat community level, the local organizations, and central government agencies can debate or discuss the power relations to improve the relationships. Negotiation forms can be represented in three ways: creating new regulations to manage the competition, which were approved by and were considered a resolution of the longboat community; increasing the types of competition to meet all target groups; and creating a new arena dedicated for sports only. Thirdly, the tension arising from the competition and bargaining for power to construct the meaning of the actors in the Nan’s longboat Racing Festival reflected the efforts to create a new identity of the Nan Province, to remove the original image of Nan that was inconsistent with the context of its development. The efforts were especially made to develop the tourism, and the longboat racing festival was, therefore, a cultural performance that demonstrated the transformative capacity of Nan’s locality. | en_US |
dc.language.iso | other | en_US |
dc.publisher | เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | en_US |
dc.title | การเมืองเชิงวัฒนธรรมของการสร้างประวัติศาสตร์ในประเพณีการแข่งขันเรือยาวจังหวัดน่าน | en_US |
dc.title.alternative | Cultural politics of historical construction in the Long Boat Racing Festival in Nan Province | en_US |
dc.type | Thesis | |
thailis.controlvocab.thash | มนุษย์กับวัฒนธรรม | - |
thailis.controlvocab.thash | มานุษยวิทยาการศึกษา | - |
thailis.controlvocab.thash | การแข่งเรือยาว -- น่าน | - |
thailis.controlvocab.thash | น่าน -- ความเป็นอยู่และประเพณี | - |
thesis.degree | doctoral | en_US |
thesis.description.thaiAbstract | วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มุ่งทำความเข้าใจความเป็นท้องถิ่นน่านผ่านประเพณีการแข่งเรือน่าน การวิเคราะห์ความสัมพันธ์เชิงอำนาจของผู้กระทำการ (actor) ที่มีส่วนในการสร้างความหมายของประเพณี โดยการวิเคราะห์สถานการณ์ (situation) ในการช่วงชิงความหมายและวิธีในการต่อรองในการสร้างความหมายของประเพณีการแข่งเรือน่านในบริบทของโลกาภิวัตน์ รวมถึงการประกอบสร้างความเป็นตัวตนของท้องถิ่นน่านและการโต้ตอบของท้องถิ่นน่านต่ออำนาจภายนอกที่พยายามเข้ามาจัดการและควบคุมประเพณีการแข่งเรือ การศึกษาครั้งนี้เป็นเชิงคุณภาพ ใช้วิธีวิทยาแนวการเมืองเชิงวัฒนธรรม (cultural politics appoach) ผ่านกลุ่มชุมชน กลุ่มภาครัฐและกลุ่มประชาคมที่สัมพันธ์กับประเพณีการแข่งเรือจังหวัดน่าน โดยเริ่มทำวิจัยภาคสนามตั้งแต่ปี 2560-2563 การศึกษาครั้งนี้ทำให้เห็นว่า ประการแรก รูปแบบการประดิษฐ์สร้างความหมายเชิงประวัติศาสตร์ให้กับประเพณีการแข่งเรือยาวน่านในปัจจุบันมี 2 มิติ คือ มิติด้านสุขภาพ (ประเพณีแข่งเรือปลอดเหล้า เบียร์) แม้จะริเริ่มโดยประชาคมสุขภาพในจังหวัดน่าน แต่การดึงเอาองค์กรระดับรัฐส่วนกลางมาร่วมในประเพณี ทำให้การสถาปนาอำนาจในการสร้างความหมายให้กับประเพณีการแข่งเรือน่านมีความน่าเชื่อถือและมีความชอบธรรมมากขึ้น มิติที่สอง มิติทุนวัฒนธรรมเพื่อการท่องเที่ยวของชุมชน เป็นการสร้างความหมายเพื่อประสานประโยชน์ให้ทุกภาคส่วนตั้งแต่ระดับชุมชน ระดับองค์กรจัดตั้งในระดับท้องถิ่นและองค์กรรัฐส่วนกลาง มีจุดร่วมในการขับเคลื่อนประเพณีการแข่งเรือน่านเพื่อการท่องเที่ยวได้ ประการที่สอง ประเพณีการแข่งเรือน่านเป็นพื้นที่ที่กลุ่มผลประโยชน์ ตั้งแต่ระดับชุมชนชาวเรือ กลุ่มองค์กรจัดตั้งในระดับท้องถิ่นและกลุ่มรัฐส่วนกลางต้องการเปิดพื้นที่ให้เกิดการถกเถียงในความสัมพันธ์ทางอำนาจเพื่อปรับความสัมพันธ์ รูปแบบการต่อรองสามารถแสดงได้ 3 รูปแบบ คือ การสร้างระเบียบใหม่ออกมากำกับควบคุมการแข่งขัน โดยเป็นระเบียบที่ผ่านการเห็นชอบและเป็นมติของประชาคมชาวเรือ การเพิ่มประเภทการแข่งขันให้มีความหลากหลายเพื่อตอบสนองทุกกลุ่มเป้าหมาย และการสร้างสนามประลองแห่งใหม่ที่มุ่งเน้นเพื่อการกีฬาอย่างแท้จริง ประการที่สาม ความตึงเครียด (tension) ที่เกิดจากการแย่งชิงและต่อรองอำนาจในการสร้างความหมายของผู้แสดง (actor)ในประเพณีการแข่งเรือน่าน สะท้อนให้เห็นความพยายามในการสร้างอัตลักษณ์ใหม่ของท้องถิ่นน่าน เพื่อลบภาพลักษณ์เดิมของน่านที่ไม่สอดคล้องกับบริบทของการพัฒนา โดยเฉพาะการพัฒนาด้านการท่องเที่ยว ประเพณีการแข่งเรือจึงเป็นนาฏกรรมทางวัฒนธรรม(cultural performance) ที่แสดงให้เห็นถึงศักยภาพในการปรับเปลี่ยนตัวตน (transformative capacity) ของความเป็นท้องถิ่น | en_US |
Appears in Collections: | SOC: Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
580451002 สุธีรา คณะธรรม.pdf | 4.33 MB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.