Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/73805
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorศิวพร อึ้งวัฒนา-
dc.contributor.advisorเดชา ทาดี-
dc.contributor.authorพลอย ทรัพย์ไพบูลย์กิจen_US
dc.date.accessioned2022-08-07T09:21:43Z-
dc.date.available2022-08-07T09:21:43Z-
dc.date.issued2021-07-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/73805-
dc.description.abstractThis quasi-experimental research aims to compare the average dietary behavior scores and blood sugar levels between groups before and after participation in a motivation program, and groups that received normal hospital service. The sample group of 48 uncontrolled diabetic people is comprised of a controlling group of 24 people and an experimental group of 24 people. The tools consisted of an eight-week motivational program to prevent complications in uncontrolled diabetic people. The program was developed from the concept of Protection Motivation theory by Rogers (1986) which includes 4 steps: 1) promoting perceived severity of complications from diabetes; 2) promoting perceived risk of diabetes complications; 3) expectations for the positive effects of dietary behavior adjustment; and 4) expectations for their own ability to adjust dietary behavior, dietary guide, and blood sugar meter. Data were collected via three instruments: a demographic data questionnaire, a dietary behavior questionnaire (CVI = 0.96) and a blood sugar record (CVI = 1.00) with a reliance value of 0.81. The data was then analyzed using Wilcoxon for the dependent sample and the Mann Whitney U test for the independent sample. The results have shown that after participating in the motivation program, the experimental group displayed significantly higher than average scores for dietary behaviors than before participating in the program (p = .001), and more than that of the controlling group which received normal hospital services (p = .331). After the program was finished, there was also a significant reduction in the blood sugar levels of the experimental group compared with before their participation in the program (p = .005), and compared with that of the controlling group which received normal hospital services (p = .010). The outcome suggests that motivation programs are recommended for motivational adjustment in the dietary behavior of uncontrolled diabetic people which could effectively lead to reduction in blood sugar levels.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleผลของโปรแกรมการสร้างแรงจูงใจต่อพฤติกรรมบริโภคอาหารและระดับน้ำตาลในเลือดในผู้ที่มีภาวะเบาหวานที่ควบคุมไม่ได้en_US
dc.title.alternativeEffects of the motivation program on dietary behaviors and blood sugar level among uncontrolled diabetic personsen_US
dc.typeThesis
thailis.controlvocab.thashเบาหวาน -- ผู้ป่วย-
thailis.controlvocab.thashเบาหวาน -- ผู้ป่วย -- การดูแล-
thailis.controlvocab.thashเบาหวาน -- การป้องกันและควบคุม-
thailis.controlvocab.thashน้ำตาลในเลือด -- เบาหวาน -- การควบคุม-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-experimental research) ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการบริโภคและค่าเฉลี่ยระดับน้ำตาลในเลือด ในกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการสร้างแรงจูงใจวัดผลก่อนและหลังการเข้าร่วมโปรแกรม และระหว่างกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการสร้างแรงจูงใจกับกลุ่มที่ได้รับบริการตามปกติ กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ที่มีภาวะเบาหวานที่ควบคุมไม่ได้ จำนวน 48 ราย โดยแบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 24 ราย และกลุ่มควบคุม 24 รายเครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วยโปรแกรมการสร้างแรงจูงใจในการป้องกันภาวะแทรกซ้อนของผู้ที่มีภาวะเบาหวานที่ควบคุมไม่ได้ ใช้ระยะเวลา 8 สัปดาห์ พัฒนาจากแนวคิดทฤษฎีแรงจูงใจในการป้องกันโรคของโรเจอร์ส (Rogers, 1986) ประกอบด้วยกระบวนการ 4 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การส่งเสริมการรับรู้ความรุนแรงของภาวะแทร กซ้อนจากโรคเบาหวาน 2) การส่งเสริมการรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน 3) ความคาดหวังในผลดีของการปรับพฤติกรรมบริโภคอาหาร และ 4) ความคาดหวังในความสามารถของตนเองต่อการปรับพฤติกรรมบริโภคอาหาร คู่มือการบริ โภคอาหาร เครื่องตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือด เครื่องมือที่ใช้รวบรวมข้อมูลประกอบด้วยแบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบสอบถามพฤติกรรมบริโภคอาหาร และแบบบันทึกการวัดระดับน้ำตาลในเลือด ตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาได้เท่ากับ 0.96 และ 1.00 ตามลำดับ และหาค่าความเชื่อมั่นได้เท่ากับ 0.81 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ Wilcoxon และ Mann Whitney U test ผลการวิจัยพบว่าหลังการเข้ร่วมโปรแกรมการสร้างแรงจูงใจ กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการบริโภคสูงกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ p = 0.001 สูงกว่ากลุ่มที่ได้รับบริการตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ > =0.33 1 และค่าเฉลี่ยระดับน้ำตาลในเลือดลดลงมากกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ p= 0.005 และลดลงมากกว่ากลุ่มที่ได้รับบริการตามปกติอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ p=0.010 ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าโปรแกรมการสร้างแรงจูงใจสามารถนำมาใช้เพื่อส่งเสริมการปรับพฤติกรรมการบริโภคอาหารของผู้ที่มีภาวะเบาหวานที่ควบคุมไม่ได้ เพื่อนำไปสู่การลดระดับน้ำตาลในเลือดอย่างมีประสิทธิภาพen_US
Appears in Collections:NURSE: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
621231113 พลอย ทรัพย์ไพบูลย์กิจ.pdf1.12 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.