Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/73787
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorเดชา ทำดี-
dc.contributor.advisorศิวพร อึ้งวัฒนา-
dc.contributor.authorโสภารัตน์ อารินทร์en_US
dc.date.accessioned2022-08-07T02:23:31Z-
dc.date.available2022-08-07T02:23:31Z-
dc.date.issued2021-05-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/73787-
dc.description.abstractThe prevalence of foot ulceration in diabetic patients is increasing. Therefore, proper self-care by diabetic patients can prevent of foot ulceration uncontrolled diabetic persons. This quasiexperimental study design in which samples are separated into two groups, before and after participation. They will participate in learning to investigate the learning outcomes on the prevention of foot ulceration in type-2 uncontrolled diabetic persons in community. Fifty-two type-2 uncontrolled diabetic patients in Saraphi District were recruited for study and 26 attend participatory learning, while the other 26 received traditional suggestions from public health officials. The tools used in the study included two types, which were: 1) experimental tools consisting of a research tool entailing a participatory learning program the prevent foot ulceration in type-2 uncontrolled diabetic patients in community, a prevention manual, and a foot care manual for diabetic patients according to preventive and therapeutic practices for those with foot complications, and 2) a data collection tool comprising questionnaires used for collecting general information about diabetic patients, knowledge evaluation of the prevention of foot ulceration in type-2 diabetic patients, and questionnaires concerning the prevention of foot ulceration in type-2 uncontrolled diabetic patients. Data analysis were done using descriptive and referential statistics, Chi-Squared Test, and the Wilcoxon Matched Pairs SignedRanks Test as well as the Mann – Whitney U test depending on the characteristics of data. The results of the study showed that: 1. The mean score for knowledge to prevent foot ulceration and the mean score for practice to prevent foot ulceration in type-2 uncontrolled diabetic patients were significantly higher after attending the participatory learning than before, p < .001 and p = .006 respectively. 2. The mean score for knowledge to prevent foot ulceration and the mean score for practice to prevent foot ulceration in type-2 uncontrolled diabetic patients following the intervention was significantly higher in the experimental group than in the control group, p < .001 and p = .005 respectively. The results show that the developed participatory learning program for the prevention of foot ulceration in type-2 uncontrolled diabetic patients in community makes participants more knowledgeable and gives them a better understanding of how to prevent foot ulceration.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleผลของโปรแกรมการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมต่อการป้องกันแผลที่เท้าในผู้เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมไม่ได้ในชุมชนen_US
dc.title.alternativeEffect of the participatory learning program on diabetic foot ulcer prevention among uncontrolled type 2 diabetic persons in communityen_US
dc.typeThesis-
thailis.controlvocab.thashเบาหวาน -- ผู้ป่วย-
thailis.controlvocab.thashเบาหวาน -- ภาวะแทรกซ้อน-
thailis.controlvocab.thashเท้า -- การดูแลและสุขวิทยา-
thailis.controlvocab.thashเท้า -- การติดเชื้อ-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractอุบัติการณ์ของการเกิดแผลที่เท้าในผู้ป่วยเบาหวานเพิ่มมากขึ้น ทั้งนี้การปฏิบัติการดูแลตนเองที่ถูกต้องของผู้ป่วยจะช่วยป้องกันการเกิดแผลที่เท้าในผู้ที่เป็นเบาหวานได้ การศึกษากึ่งทดลอง (quasi-experimental design) แบบสองกลุ่มวัดผลก่อนและหลังการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมต่อการป้องกันแผลที่เท้าในผู้เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมไม่ได้ในชุมชน กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ไม่สามารถควบคุมได้ ในเขตพื้นที่รับผิดชอบของอำเภอสารภี จำนวน 52 ราย แบ่งเป็นกลุ่มที่ได้รับการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม 26 ราย และกลุ่มที่ได้รับคำแนะนำตามปกติจากเจ้าหน้าที่สาธารณสุขจำนวน 26 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ 1) เครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินงานวิจัย ประกอบด้วย โปรแกรมการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมต่อการป้องกันแผลที่เท้าในผู้ที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ไม่สามารถควบคุมได้ในชุมชน คู่มือความรู้เรื่องการปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันแผลที่เท้าและคู่มือการดูแลเท้าสำหรับผู้ที่เป็นเบาหวานตามแนวทางเวชปฏิบัติกรป้องกันและดูแลรักษาผู้ที่เป็นเบาหวานที่มีภาวะแทรกซ้อนที่เท้า 2) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไปของผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน แบบประเมินความรู้เรื่องการปฏิบัติตัวต่อการป้องกันแผลที่เท้าในผู้ที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 และแบบสอบถามการปฏิบัติการป้องกันแผลที่เท้าในผู้ที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ไม่สามารถควบคุมได้ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและสถิติอ้างอิง Chi-Square Test, The Wilcoxon Matched Pairs Signed-Ranks Test และ The Mann – Whitney U Testตามลักษณะข้อมูล ผลการศึกษาพบว่า 1. ค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้เรื่องการปฏิบัติตัวต่อการป้องกันแผลที่เท้า และคะแนนการปฏิบัติการป้องกันแผลที่เท้าในผู้ที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ไม่สามารถควบคุมได้ ภายหลังได้รับการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมสูงกว่าก่อนการเรียนรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ p<.001 และ p=.006 ตามลำดับ 2. ค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้เรื่องการปฏิบัติตัวต่อการป้องกันแผลที่เท้าและคะแนนการปฏิบัติการป้องกันแผลที่เท้าในผู้ที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ไม่สามารถควบคุมได้ ภายหลังได้รับการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม กลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ p<.001 และ p=.005 ตามลำดับ ผลการศึกษาในครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าโปรแกรมการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมต่อการป้องกันแผลที่เท้าในผู้เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมไม่ได้ในชุมชน สามารถเพิ่มความรู้และช่วยให้ผู้ป่วยเบาหวานสามารถนำความรู้ไปสู่การปฏิบัติตัวในการป้องกันแผลที่เท้าที่ถูกต้องมากขึ้นen_US
Appears in Collections:NURSE: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
611231017 โสภารัตน์ อารินทร์.pdf1.16 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.