Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/73761
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorศิริพงษ์ ลดาวัลย์ ณ อยุธยา-
dc.contributor.authorอรรถพล พรมโยen_US
dc.date.accessioned2022-08-04T10:40:42Z-
dc.date.available2022-08-04T10:40:42Z-
dc.date.issued2021-05-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/73761-
dc.description.abstractThis study aims to 1) investigate the cooperation and participation in the forest fire management of the community leaders, community member, and the respective staff for forest fire management in Mae Ping National, Lamphun province 2) study the causes of collaboration and absence of collaboration of the community leaders and member regarding the forest fire management 3) study the difficulties of forest fire management of Kor Subdistrict Community in Mae Ping National Park, and 4) develop the collaborating guideline for the respective staff and the community for forest fire management. This is the qualitative research that 27 key informants- the Head of Mae Ping National Park, the Head of Forest Fire Control Division Mae Ping National Park, Mayor of Kor Subdistrict, the village headmen from 3 villages were interviewed for data collection. The results reveal that 1) the community leaders have cooperated at all levels in forest fire management when some community members are participated in at all levels of forest fire management. 2) The collaborating opportunity of the stakeholders is important because they could share, give comments, choose appropriate patterns and procedures of forest fire management which was not done by laws. The sincere management and public mind without prejudice related to the collaboration and absence of collaboration in forest fire management. Moreover, 3) the difficulties found in this study are 3.1) there is no clear agreement done by the respective group of people i.e. the local municipality, the community leaders, and the community members. So, there are no strict measures to implement in the area. Also, 3.2) there is no continuing public relations when 3.3) the area is quite big so it is difficult to control the forest fire. 3.4) The fuel management is problematic comparing to the conditions such as burning time, human resources and weather. 3.5) Clearing the ploughing to prevent the forest fire cannot be done because some National Park connecting areas owned by the locals are undocumented. Therefore, the government cannot provide the financial support to the local people. 3.6) The locals lack of public mind and have low concerning level towards the forest fire problem. 3.7) Last but not least, the low quality of life in the off-harvest season causes the low incomes so people tend to go inside the forest looking for things that can earn money. 4) The discussion that leads to the clear agreement committing on the forest fire problem should be done and implemented. The precise conclusion should be done after the works so that it could increase the effective level of forest fire management of Kor subdistrict community in Mae Ping National Park, Li district, Lamphun province.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleแนวทางการจัดการไฟป่าของชุมชนตำบลก้อในพื้นที่อุทยานแห่งชาติแม่ปิง อำเภอลี้ จังหวัดลำพูนen_US
dc.title.alternativeGuidelines for forest fire management of Kor Subdistrict community in Mae Ping National Park , Li District, Lamphun Provinceen_US
dc.typeIndependent Study (IS)
thailis.controlvocab.thashไฟป่า -- การควบคุมและป้องกัน -- ลำพูน-
thailis.controlvocab.thashไฟป่า -- การมีส่วนร่วมของประชาชน -- ลำพูน-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการวิจัยแนวทางการจัดการไฟป่าของชุมชนตำบลก้อในพื้นที่อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน อุทยานแห่งชาติแม่ปิง มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สำรวจความร่วมมือและการเข้ามามีส่วนร่วมของผู้นำชุมชนและราษฎรในชุมชนตำบลก้อ อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน ในการจัดการไฟป่ากับหน่วยงานและเจ้าหน้าที่ที่ดูแลรับผิดชอบด้านการจัดการไฟป่าของอุทยานแห่งชาติแม่ปิง 2) เพื่อศึกยษาสาเหตุที่ทำให้ผู้นำชุมชนและราษฎรในชุมชนตำบลก้อ ให้และไม่ให้ความร่วมมือในการเข้ามาร่วมจัดการไฟป่ากับอุทยานแห่งชาติแม่ปิง 3) เพื่อศึกษาปัญหาอุปสรรคในการจัดการไฟป่าของหน่วยงานและเจ้าหน้าที่ที่ดูแลรับผิดชอบด้านการจัดการไฟป่าของอุทยานแห่งชาติแม่ปิง ในพื้นที่ตำบลก้อ และ 4) ศึกษาหาแนวทางการสร้างความร่วมมือระหว่างหน่วยงานและเจ้าหน้ที่ที่ดูแลรับผิดชอบ ผู้นำชุมชน และราษฎรในพื้นที่ เป็นการวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์ ผู้ให้ข้อมูลหลักได้แก่ หัวหน้าอุทยานแห่งชาติแม่ปิง หัวหน้าสถานีควบคุมไฟป่าแม่ปิง นายกเทศมนตรีตำบลก้อ ผู้นำชุมชน ประกอบด้วยกำนันตำบลก้อ และผู้ใหญ่บ้านในตำบลก้อ จำนวน 3 หมู่บ้าน และราษฎร ตำบลก้อ อำเภอลี้ จังหวัดลำพูนรวมผู้ให้ข้อมูล 27 คน ผลการศึกษา แนวทางการจัดการไฟป่าของชุมชนตำบลก้อในพื้นที่อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน อุทยานแห่งชาติแม่ปิง พบว่า1) ผู้นำชุมชนได้ให้ความร่วมมือและมีส่วนร่วมในการจัดการไฟป่าในพื้นที่ของอุทยานแห่งชาติแม่ปิงในทุกขั้นตอน สำหรับราษฎรมีเพียงบางส่วนเท่านั้นที่เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการไฟป่าในพื้นที่ของอุทยานแห่งชาติแม่ปิงในทุกขั้นตอน 2) การเปิดโอกาสให้ราษฎรผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่ม มีโอกาสร่วมรับฟัง แสดงความคิดเห็น เลือกรูปแบบ กระบวนการ ที่เหมาะสมร่วมกันตั้งแต่ช่วงแรก โดยที่ไม่ได้เพียงเพื่อให้เป็นไปตามขั้นตอนกฎหมาย มีการจัดการอย่างจริงใจ เปิดผย ซื่อสัตย์ ไม่มีอคติ และการสร้างจิตสาธารณะ มีผลต่อการให้และไม่ให้ความร่วมมือในการเข้ามาร่วมจัดการไฟป่า ของอุทยานแห่งชาติแม่ปิง 3) ปัญหาอุปสรรคในการจัดการ ไฟป่า คือ 3.1 ไม่มีการจัดทำข้อตกลงระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เทศบาล ผู้นำชุมชน และราษฎร ที่ชัดเจน ไม่มีมาตรการบังคับใช้อย่างจริงจัง 3.2 การประชาสัมพันธ์ที่ไม่ต่อเนื่อง 3.3 การเข้าดับและควบคุมไฟป่า เนื่องจากมีพื้นที่ขนาดใหญ่ การเข้าดับและควบคุมไฟป่าทำได้ยากลำบาก 3.4 ปัญหาการจัดการเชื้อเพลิง ขนาดพื้นที่มากเมื่อเทียบกับระยะเวลาและกำลังคน มีข้อจำกัดในการเผา เช่น สภาพอากาศ 3.5 การป้องกันการเผาโดยการไถกลับไม่สามารถทำได้เนื่องจากพื้นที่ของราษฎรตำบลก้อบางส่วนที่ติดกับพื้นที่ป่ายังไม่มีเอกสารสิทธิ์ จึงทำให้หน่วยงานรัฐไม่สามารถสนับสนุนงบประมาณ ได้ 3.6 จิตสำนึก ราษฎรในชุมชนยังขาดคุณธรรมและจิตสำนึกในเรื่องของไฟป่า หมอกควัน 3.7 คุณภาพชีวิตของราษฎรในชุมชน เนื่องจากราษฎรขาดรายได้หลังช่วงฤดูเก็บเกี่ยว จึงอาศัยการเข้าพื้นที่ป่าเพื่อหารายได้ 4) แนวทางการสร้างความร่วมมือ ขาดการดำเนินการจัดทำข้อตกลงและยอมรับร่วมกันที่มีความชัดเจนและเป็นที่ขอมรับร่วมกัน จึงควรมีการพูดคุยเจรจาเพื่อทำข้อตกลงร่วมกัน ลงมือปฏิบัติตามที่ตกลงกัน และมีการประชุมสรุปประเมินผลหลังดำเนินการที่ชัดเจน ซึ่งจะสามารถช่วยให้การจัดการไฟป่าของชุมชนตำบลก้อในพื้นที่ อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน อุทยานแห่งชาติแม่ปิงประสบผลสำเร็จมากยิ่งขึ้นen_US
Appears in Collections:POL: Independent Study (IS)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
621932031 อรรถพล พรมโย.pdf2.66 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.