Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/73735
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorวันเพ็ญ เจริญตระกูลปีติ-
dc.contributor.authorสุรีย์พร พรหมผลินen_US
dc.date.accessioned2022-07-30T15:03:14Z-
dc.date.available2022-07-30T15:03:14Z-
dc.date.issued2021-06-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/73735-
dc.description.abstractThis research examined the variation of solar radiation affecting photosynthetically active radiation of in-season rice in Chiang Mai province. The objectives of this study were 1) to study the changes in solar radiation intensity in spatial and time dimensions of Chiang Mai province and 2) to study the photosynthetically active radiation of in-season rice according to the growth period in Chiang Mai province. The study was used statistical methods and geospatial techniques and TERRA/AQUA MODIS satellite toanalyze spatial solar radiation intensity. The results showed that changes in surface solar radiation in time dimension were characterized by both positive and negative changes. The downward trend was detected in areas ofhigh human activity. In natural areas or low human activity areas, surface solar radiation tends to increase. For changes in the spatial surface solar radiation, the amount of aerosols in the atmosphere and land use are influence factors. It was found that the results of the analysis of the relationship between surface solar radiation and aerosol optical thickness showed an inverse relationship. In addition, the relationship between the aerosol optical thickness and land use characteristics also helps to understand the relationship of land use that affects the increase or decrease of aerosols, which influences the change of surface solar radiation. The aerosol optical thickness was directly relation to agricultural areas and building-up areas, whereas, it is an inverse relationship with the forest area. The empirical evidence of the first objective was applied to study the influence of positive and negative surface solar radiation on photosynthesis of the in-season rice. The result showed that the amount of light for the highest photosynthesis efficiency in the photosynthesis of in-season rice is lower during the June period (Representative of foliar and stem growth stage), in August period (Representative of reproductive stage of growth) and October period (Representative of the seed growth stage) in the entire rice cultivation field in Chiang Mai province. This is partly due to the terrain of Thailand and the changing environment in the present. Therefore, the approach to mitigate the effects of changes in solar radiation intensity can be laid out in two measures. Firstly, preventive measure is increasing forest areas in both urban and rural areas. Secondly corrective measures are enhancing the efficiency of rice growth by adjusting the rice planting calendar, improving rice varieties suitable for the environment and providing climate knowledge to agencies as well as adapting to climate change for the future.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleการเปลี่ยนแปลงความเข้มรังสีแสงอาทิตย์ต่อปริมาณแสงที่ใช้ในการสังเคราะห์แสงของข้าวนาปีในจังหวัดเชียงใหม่en_US
dc.title.alternativeVariation of solar radiation affecting photosynthetically active radiation of in-season rice in Chiang Mai provinceen_US
dc.typeThesis
thailis.controlvocab.thashข้าว -- การปลูก-
thailis.controlvocab.thashข้าวนาปี-
thailis.controlvocab.thashการแผ่รังสีของดวงอาทิตย์-
thailis.controlvocab.thashแสงอาทิตย์-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการศึกษาการเปลี่ยนแปลงความเข้มรังสีแสงอาทิตย์ต่อปริมาณแสงที่ใช้ในการสังเคราะห์แสงของข้าวนาปีในจังหวัดเชียงใหม่ มีวัตถุประสงค์การศึกษาคือ 1) เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงความเข้มรังสีแสงอาทิตย์ในมิติทางพื้นที่และเวลาของจังหวัดเชียงใหม่ และ 2) ศึกษาปริมาณแสที่ใช้ในการสังเคราะห์แสงของข้าวนาปีตามช่วงการเจริญเติบโตในจังหวัดเชียงใหม่ โดยใช้วิธีการทางสถิติและเทคนิคทางภูมิสารสนเทศศาสตร์ รวมถึงการใช้ข้อมูลจากภาพถ่ายจากดาวเทียม TERRA/AQUA ระบบซนเชอร์ MODIS มาใช้ในการวิเคราะห์ค่าความเข้มรังสีแสงอาทิตย์เชิงพื้นที่ ผลการศึกษา พบว่า การเปลี่ยนแปลงความเข้มรังสีแสงอาทิตย์ในมิติทางเวลามีลักษณะการเปลี่ยนแปลงทั้งในเชิงบวกและเชิงลบ โดยมีแนวโน้มลดลงในพื้นที่ที่มีกิจกรรมของมนุษย์มาก ส่วนในพื้นที่ธรรมชาติหรือพื้นที่ที่มีกิจกรรมของมนุษย์นัอย ความเข้มรังสีแสงอาทิดย์มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น สำหรับการเปลี่ยนแปลงความเข้มรังสีแสงอาทิตย์ในเชิงพื้นที่นั้น ปริมาณของละอองลอยในบรรยากาศ รวมถึงลักษณะการใช้ประโยชน์ที่ดินในพื้นที่มีอิทธิพลอย่างมาก ผลจากการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างค่าความเข้มรังสีแสงอาทิตย์กับค่าความหนาแน่นเชิงแสงของละอองลอยในบรรยากาศแสดงถึงความสัมพันธ์แบบผกผันของทั้งสองตัวแปร นอกจากนี้ความสัมพันธ์ระหว่างค่าความหนาแน่นเชิงแสงของละอองลอยในบรรยากาศกับลักษณะการใช้ประโยชน์ที่ดินยังช่วยให้เข้าใจความสัมพันธ์ของการใช้ที่ดินที่ส่งผลต่อการเพิ่มหรือลดของละอองลอยซึ่งมีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงของค่าความเข้มรังสีแสงอาทิตย์ โดยค่าความหนาแน่นเชิงแสงของละอองลอยในบรรยากาศมีความสัมพันธ์แบบแปรผันตรงกับลักษณะการใช้ที่ดินในพื้นที่เกษตรกรรมและพื้นที่ชุมชนและสิ่งปลูกสร้าง แต่มีความสัมพันธ์แบบแปรผกผันกับพื้นที่ป่าไม้ จากหลักฐานเชิงประจักษ์จากการศึกษาในวัตถุประสงค์ข้อที่ 1 ความเข้มรังสีแสงอาทิตย์มีการเปลี่ยนแปลงทั้งในเชิงบวกและลบซึ่งเป็นปัจจัยหนึ่งที่มีอิทธิพลต่อการสังเคราะห์แสงของข้าวนาปี จากการพิจารณาจากปริมาณแสงที่ใช้ในการสังเคราะห์แสงของข้าวที่ให้ประสิทธิภาพสูงที่สุดในการสังเคราะห์แสง พบว่าในช่วงเดือนมิถุนายน (ตัวแทนระยะการเจริญเติบโตทางใบและลำต้น) เดือนสิงหาคม (ตัวแทนระยะการเจริญเติบโตช่วงสืบพันธุ์ และเดือนตุลาคม (ตัวแทนระยการเจริญเดิบโตทางเมล็ด) พื้นที่ปลูกข้าวนาปีในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ทั้งหมด มีปริมาณตามช่วงเวลาในการสังเคราะห์แสงอยู่ในระดับที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการสังเคราะห์แสงที่ซึ่งเป็นสาเหตุมาจากสภาพตามลักษณะภูมิประเทศของประเทศไทยส่วนหนึ่ง ประกอบกับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปในปัจจุบัน ดังนั้นแนวทางที่จะช่วยบรรเทาผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงความเข้มรังสีแสงอาทิตย์จากผลการศึกษาดังกล่าวสามารถวางแนวทางของมาตรการใน 2 ด้าน คือ มาตรการป้องกัน โดยการเพิ่มพื้นที่ป่าทั้งในพื้นที่เมืองและชนบท และมาตรการแก้ไขโดยการเพิ่มประสิทธิภาพของการเจริญเติบโตของข้าวนาปี โดยการปรับปฏิทินการปลูกข้าวการปรับปรุงพันธุ์ข้าวให้มีความเหมาะสมต่อสภาพแวดล้อม และการให้ความรู้จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้านสถานการณ์สภาพแวดล้อมในปัจจุบันพร้อมทั้งแนวทางในการปรับตัวรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่จะเกิดขึ้นในอนาคตen_US
Appears in Collections:SOC: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
600431039 สุรีย์พร พรหมผลิน.pdf31.49 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.