Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/73713
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorเสรี ใหม่จันทร์-
dc.contributor.authorภูมิใจ พนมภูมิen_US
dc.date.accessioned2022-07-24T05:12:39Z-
dc.date.available2022-07-24T05:12:39Z-
dc.date.issued2021-05-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/73713-
dc.description.abstractThe research topic is Experiences of the Otherness: A Case Study of Myanmar Foreign Migrant Workers in Chiang Mai Province. The objective of this research was to reveal the otherness experiences of Myanmar foreign migrant workers. The study employed a qualitative methodology using a case study. The key informants were selected by a purposive sampling method, subsequently the in-depth Interview was employed with 8 key informants, age between 20 –35 years old. The data from all key informants was analyzed by a content analysis. The research results disclosed the otherness experiences of Myanmar foreign migrant workers which included 5 facets: 1) Experiences of the otherness and adjustment to the new society that was moving to live in the new society made them feltunconnected and not being a part of the majority in the society. However, they felt alien and worried, consequently theytriedto adjust themselves to the majority in terms of language and way of life in order to be harmonious with the majority as much as possible. 2) Work status and insecure feeling in accordance with the illegal migration to Thailand following migrant workers law led them to feel insecure and paranoid. Those affected the way they lived independently. 3) Stigma and labeling among migrant workers usually were labelled stereotypically which led to be stigma in a negative thought. The causes of stigma and labeling came from the repeating of journalism and transforming of thought from one generation to the others. 4) Discrimination and exploitation occurred when migrant workers were stereotyped by the society in a negative side, it made them viewed with prejudice that they were pushed to be marginalized people in the society. As a result, they were treated unequally, taken advantages and exploited. 5) Being viewed as degraded and untrusted, migrant workers were labelled in a negative side and pushed to be marginalize people. As a result, they faced the experiences of being viewed as degraded, incompetent, paranoid, and untrusted which led to be the low bargaining power. Additionally, the research results were discussed with the qualitative information and connected with concepts and theories of counseling psychology in a meaningful and sophisticated manner in order to reveal the otherness experiences of Myanmar foreign migrant workers which included 4 facets: 1) human potentiality and acceptance yearn 2) congruence and incongruence 3) freedom and responsibility and 4) human values and dignityen_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleประสบการณ์ความเป็นอื่น: กรณีศึกษาแรงงานข้ามชาติเมียนมาในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่en_US
dc.title.alternativeExperiences of the otherness: a case study of Myanmar foreign migrant workers in Chiang Mai provinceen_US
dc.typeIndependent Study (IS)
thailis.controlvocab.thashแรงงานต่างด้าว -- เชียงใหม่-
thailis.controlvocab.thashชาวพม่า -- เชียงใหม่-
thailis.controlvocab.thashความเป็นอื่น-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการวิจัยเรื่อง ประสบการณ์ความเป็นอื่น: กรณีศึกษาแรงงานข้ามชาติเมียนมาในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยให้เห็นถึงประสบการณ์ความเป็นอื่นของแรงงานข้ามชาติเมียนมาเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพแบบกรณีศึกษา ใช้วิธีการเลือกผู้ให้ข้อมูลหลักแบบเจาะจงและใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก โดยการสัมภาษณ์รายบุคคลทั้งหมด 8 คน ที่มีอายุระหว่าง 20 - 35 ปี วิเคราะห์ข้อมูล จากผู้ให้ข้อมูลหลักทั้งหมดโดยการวิเคราะห์ข้อมูลเป็นรายบรรทัด ผลการวิจัยเผยให้เห็นถึงประสบการณ์ความเป็นอื่นของแรงงานข้ามชาติเมียนมา สามารถแบ่งประสบการณ์ความเป็นอื่นได้เป็น 5 ประเด็น ได้แก่ 1) ประสบการณ์ความเป็นอื่นและการปรับตัวเมื่อต้องอยู่ในสังคมใหม่ การอยู่ในสังคมใหม่ช่วงแรก ทำให้เกิดความรู้สึกไม่เชื่อมโยงและไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของคนในสังคมส่วน ใหญ่ แต่กลับเกิดความรู้สึกแปลกแยก และกังวลใจ จึงทำให้พยายามที่จะปรับตัวเพื่อให้เข้ากับคนส่วนใหญ่ โดยมีการปรับตัวเรื่องภาษา และวิถีชีวิต ให้มีความกลมกลืนกับคนในสังคมมากที่สุด 2) สถานภาพของแรงงานและความรู้สึกไม่มั่นคงปลอดภัย การเข้ามาทำงานในประเทศไทยอย่างไม่ถูกต้องตามกฎหมายแรงงานข้ามชาติ ส่งผลกระทบให้เกิดความรู้สึกไม่มั่นคงปลอดภัย เกิดความหวาดระแวง ซึ่งทำให้ไม่สามารถใช้ชีวิตได้อย่างอิสระได้ 3) มลทินและการถูกตีตรา แรงงานข้ามชาติมักถูกตราประทับอย่างเหมารวมให้เกิดมลทินบางอย่างที่มีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งในทางลบ สาเหตุของมลทินและการถูกตีตรามักเกิดจากการผลิตซ้ำของสื่อ และการถ่ายทอดจากคนในสังคม จากรุ่นหนึ่งไปยังอื่นรุ่นหนึ่ง 4) การถูกเลือกปฏิบัติและการถูกเอารัดเอาเปรียบ เมื่อถูกสังคมมองอย่างเหมารวมในด้านลบ ทำให้แรงงานข้ามชาติถูกมองอย่างมีอคติ จนถูกเบียดขับให้เป็นคนชายขอบในสังคมนำไปสู่การไม่ได้รับการปฏิบัติที่เท่าเทียมกัน ถูกเอารัดเอาเปรียบ และถูกแสวงหาผลประโยชน์ได้ง่ายและ 5) การถูกมองอย่างด้อยค่าและการ ไม่ได้รับความไว้วางใจ เมื่อถูกสังคมตีตรา ติดป้ายในทางลบให้กับแรงงานข้ามชาติ และถูกเบียดขับให้เป็นคนชายขอบ ทำให้แรงงานข้ามชาติมักมีประสบการณ์ที่ถูกมองอย่างด้อยค่า ไม่มีศักยภาพเพียงพอในการทำงาน ถูกหวาดระแวง ไม่ใด้รับความไว้วางใจ ซึ่งทำให้มีอำนาจในการต่อรองต่ำ นอกจากนี้ผลการวิจัยได้รับการอภิปรายร่วมกับข้อมูลเชิงคุณภาพ และมีการอภิปรายผลโดยเชื่อมโยงกับแนวคิดทฤษฎีจิตวิทยาการปรึกษา เพื่อเผยให้เห็นถึงประสบการณ์ของผู้ให้ข้อมูลหลักอย่างลุ่มลึกและมีความหมาย โดยมี 4 ประเด็น คือ 1) มนุษย์มีศักยภาพและต้องการการยอมรับ 2) ความสอดคล้อง และความไม่สอดคล้อง 3) อิสรภาพและความรับผิดชอบ และ 4) คุณค่าและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์en_US
Appears in Collections:HUMAN: Independent Study (IS)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
600132041 ภูมิใจ พนมภูมิ.pdf6.72 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.