Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/73688
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | พรรณพิไล ศรีอาภรณ์ | - |
dc.contributor.advisor | บังอร ศุภวิทิตพัฒนา | - |
dc.contributor.author | สุภาวรัตน์ ศรีโฆษจุลมณี | en_US |
dc.date.accessioned | 2022-07-21T10:32:10Z | - |
dc.date.available | 2022-07-21T10:32:10Z | - |
dc.date.issued | 2020-11 | - |
dc.identifier.uri | http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/73688 | - |
dc.description.abstract | Postpartum depression is an emotional change that has negative impacts on mothers’physical and psychological health. The purpose of this descriptive correlational research was to determine the relationship between social support and postpartum depression among mothers who received a cesarean section in the Lao People’s Democratic Republic. The participants were 85 postpartum mothers having cesarean section at six weeks postpartum receiving a postpartum check up at Mother and Newborn Hospital and Mahosod Hospital, from May to July 2020. The research instruments were 1) the Demographic Data Record Form 2) the Edinburgh Postnatal Depression Scales (Cox et al., 1987), Thai version by Pitanupong, Liabsuetrakul, and Vittayanont (2007), translated to Lao language by the researcher and 3) the Mother Social Support Questionnaire (Sitthiboonma, Kantaruksa, & Supavititpatana, 2015), translated to Lao language by the researcher. Descriptive statistics and Spearman rank-order correlation were used to analyze the data. Results revealed that: 1. Of the participants, 10.60% had postpartum depression and 89.40% had no postpartum depression. 2. The participants had an average score of overall social support at a high level (x̅ = 4.62, S.D. = 0.10). The average score of each aspect showed that emotional support (x̅ = 4.64, S.D. = 0.21), information support (x̅ = 4.57, S.D. = 0.20), instrument support (x̅ = 4.61, S.D. = 0.17) and evaluation support (x̅ = 4.67, S.D. = 0.18) were at high levels. 3. Social support had a statistically significant moderate negative correlation with postpartum depression among mothers having cesarean section (r = -.316, p < 0.05). The findings suggest that mothers having cesarean section should be assessed for social support and postpartum depression. Nurse–midwives should develop strategies to enhance social support to prevent postpartum depression among mothers having cesarean section. | en_US |
dc.language.iso | other | en_US |
dc.publisher | เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | en_US |
dc.title | การสนับสนุนทางสังคมและภาวะซึมเศร้าหลังคลอดในมารดาผ่าตัดคลอด สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว | en_US |
dc.title.alternative | Social support and postpartum depression among mothers with cesarean section, the Lao People’s democratic republic | en_US |
dc.type | Thesis | |
thailis.controlvocab.thash | ความซึมเศร้าหลังคลอด -- ลาว | - |
thailis.controlvocab.thash | มารดาและบุตร -- ลาว | - |
thailis.controlvocab.thash | สูติกรรม -- ลาว | - |
thesis.degree | master | en_US |
thesis.description.thaiAbstract | ภาวะซึมเศร้าหลังคลอดเป็นการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ที่มีผลกระทบทางลบทั้งภาวะสุขภาพด้านร่างกาย และด้านจิตใจของมารดา การวิจัยเชิงพรรณนาแบบหาความสัมพันธ์ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการสนับสนุนทางสังคมกับภาวะซึมเศร้าในมารดาผ่าตัดคลอด สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว กลุ่มตัวอย่างคือ มารดาที่ได้รับการผ่าตัดคลอด ระยะ 6 สัปดาห์หลังคลอด จำนวน 85 รายที่มารับบริการตรวจหลังคลอด ที่โรงพยาบาลแม่และเด็กแรกเกิด และโรงพยาบาลมโหสด ระหว่างเดือนพฤษภาคม ถึง เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2563 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล 2) แบบประเมินภาวะซึมเศร้าหลังคลอด ของ คอกส์ และคณะ (Cox et al., 1987) ฉบับภาษาไทยโดย จารุรินทร์ ปิตานุพงษ์, ทิพวรรณ เลียบสื่อตระกูล, และ อานนท์ วิทยานนท์ (2550) แปลเป็นภาษาลาวโดยผู้วิจัย และ 3) แบบประเมินการสนับสนุนทางสังคมของมารดาหลังคลอดของ นลินี สิทธิบุญมา, กรรณิการ์ กันธะรักษา, และ บังอร ศุภวิทิตพัฒนา (2558) แปลเป็นภาษาลาวโดยผู้วิจัย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติสหสัมพันธ์สเปียร์แมน ผลการวิจัย 1. กลุ่มตัวอย่างมีภาวะซึมเศร้าหลังคลอด ร้อยละ 10.60 และไม่มีภาวะซึมเศร้าหลังคลอด ร้อยละ 89.40 2. กลุ่มตัวอย่างมีคะแนนเฉลี่ยการสนับสนุนทางสังคมโดยรวมอยู่ในระดับมาก มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 4.62 (S.D. = 0.10) คะแนนเฉลี่ยรายด้านพบว่าด้านอารมณ์มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 4.64 (S.D. = 0.21) ด้านข้อมูลข่าวสารมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 4.57 (S.D. = 0.20) ด้านทรัพยากรมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 4.61 (S.D. = 0.17) และด้านการประเมินค่ามีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 4.67 (S.D. = 0.18) โดยทุกด้านอยู่ในระดับมาก 3. การสนับสนุนทางสังคมมีความสัมพันธ์ทางลบในระดับปานกลางกับภาวะซึมเศร้าหลังคลอดในมารดาผ่าตัดคลอดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = -.316, p < 0.05) ผลการวิจัยในครั้งนี้เสนอแนะว่ามารดาผ่าตัดคลอดควรได้รับการประเมินการสนับสนุนทางสังคม และภาวะซึมเศร้าหลังคลอด พยาบาลผดุงครรภ์ควรพัฒนากลยุทธ์ที่ส่งเสริมการสนับสนุนทางสังคมเพื่อป้องกันภาวะซึมเศร้าหลังคลอดในมารดาผ่าตัดคลอด | en_US |
Appears in Collections: | NURSE: Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
611231095 SOUPHAVALATH SIKHOTCHOUNLAMANY.pdf | 6.28 MB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.