Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/73616
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ปิยพรรณ กลั่นกลิ่น | - |
dc.contributor.author | ปวริศรา บุญตันสา | en_US |
dc.date.accessioned | 2022-07-10T13:18:48Z | - |
dc.date.available | 2022-07-10T13:18:48Z | - |
dc.date.issued | 2020-12 | - |
dc.identifier.uri | http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/73616 | - |
dc.description.abstract | This independent study aimed to investigate behaviors of Baby Boomer group in Chiang Mai province towards choosing investment from savings. Respondents for the study’s survey were specified, according to the Quota Sampling method, to 300 elderly people who were born between B.E. 2489 2507 and resided in Chiang Mai province. These respondents were divided into 3 groups of 100 people according to phases of retirement i.e. 1) pre retirement and newly retirement group (56 61 years old), 2) middle retirement (62 67 years old), and 3) over 8 years of retirement (68 74 years old). Data obtained were analyzed by the statistics namely frequency, percentage, Chi square, ANOVA and Post hoc Comparison. The findings presented that most respondents were married female with educational background in bachelor’s degree. They were self employed and averagely earned monthly income at over 50,000 Baht. They invested their money through bank/cooperative savings because it had high liquidity enabling them to withdraw money for emergencies or trade it at any time. Their purpose of investment was to reserve for emergencies. They began to invest their money while they had been working and person influencing their investment decision was the respondents themselves. They made direct contact to bank counter service/store front/company to inquire about investment related information. They knew about the investment news from the intimate such as family member and friend. Source of investment fund was an extra income gained from their jobs and investment transaction was conducted by cash. The analysis on factors related to investment behavior of each studied group demonstrated that investment type; investment reason; investment period; source of investment fund; transaction mode; investment influencer; contact channel to inquire for investment information; and investment news channel correlated to the age range. In an overall view, factors namely product, promotion, process, physical evidence, and people affected behaviors of all 3 groups of Baby Boomers in Chiang Mai province towards choosing investment from savings indifferently at the 0.05 levels of statistical significance. Price and promotion factors, however, affected behaviors of these 3 groups differently at the 0.05 levels of statistical significance. Sub factors that were differently rated included high rate of interest/investment return; fixed rate of interest/investment return; low rate of related fees; a large number of offices/branches; convenience to contact such as 24 hour contact service; various contact channels such as telephone and online chat platforms like Line/Facebook/Call Center; interesting promotion such as special interest, special discount, roadshow booths in events; to have staff to give advice, persuasion and offer for sale; accurate operation system; to have client data protection system such as verification by using the ID card; simplicity of using online service; rapidity of responding to customer’s inquires via online channels; accurate online service system; pleasing modern and clean decoration of office/shop area; to serve customers with modern facilities such as tablet and ATM machine; to have knowledgeable and competent staff/sale persons who could exactly respond to the point of customer’s inquiries; to have enthusiastic staff/sale persons who were eager to serve customers; and to have staff who served the customers promptly and accurately. | en_US |
dc.language.iso | other | en_US |
dc.publisher | เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | en_US |
dc.title | พฤติกรรมของคนกลุ่มเบบี้บูมเมอร์ในจังหวัดเชียงใหม่ ต่อการเลือกลงทุนจากเงินออม | en_US |
dc.title.alternative | Behaviors of baby boomer group in Chiang Mai Province towards choosing investment from savings | en_US |
dc.type | Independent Study (IS) | |
thailis.controlvocab.thash | การลงทุน | - |
thailis.controlvocab.thash | การออมกับการลงทุน | - |
thailis.controlvocab.thash | ผู้เกษียณอายุ -- เชียงใหม่ | - |
thailis.controlvocab.thash | เจนเนอเรชันเบบี้บูม | - |
thesis.degree | master | en_US |
thesis.description.thaiAbstract | การค้นคว้าแบบอิสระนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมของคนกลุ่มเบบี้บูมเมอร์ ในจังหวัดเชียงใหม่ต่อการเลือกลงทุนจากเงินออม โดยผู้ตอบแบบสอบถาม คือ กลุ่มผู้สูงอายุ ซึ่งเกิดระหว่างปี พ.ศ. 2489 2507 อาศัยอยู่ในจังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 300 ราย ใช้วิธีคัดเลือกตัวอย่างแบบโควตา โดยจำแนกตัวอย่างออกเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มละ 100 ราย ตามช่วงเวลาของการเกษียณ ได้แก่ 1) กลุ่มเตรียมเกษียณและพึ่งเกษียณใหม่ (อายุ 56-61 ปี) 2) กลุ่มเกษียณมาแล้วช่วงเวลาหนึ่ง (อายุ 62-67 ปี) และ 3) กลุ่มเกษียณ 8 ปี ขึ้นไป (อายุ 68-74 ปี) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ไคสแควร์ ANOVA และ Post hoc Comparison ผลการศึกษาพบว่าผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง สถานภาพสมรส การศึกษาสูงสุดระดับปริญญาตรี ประกอบอาชีพธุรกิจส่วนตัว รายรับเฉลี่ยต่อเดือนมากกว่า 50,000 บาท ลงทุนโดยฝากเงินผ่านธนาคาร/สหกรณ์ออมทรัพย์ เหตุผลที่เลือกลงทุน คือ สภาพคล่องสูง ถอนใช้จ่ายฉุกเฉินหรือขายเมื่อใดก็ได้ วัตถุประสงค์หลักของการลงทุน คือ เพื่อเก็บไว้ใช้จ่าย ยามฉุกเฉิน เริ่มลงทุนในช่วงระหว่างทำงาน ผู้ที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจลงทุน คือ ตนเอง ติดต่อสอบถามเกี่ยวกับการลงทุนโดยไปที่เคาน์เตอร์ธนาคาร/หน้าร้าน/บริษัทโดยตรง ทราบข่าวสารเกี่ยวกับการลงทุนจากคนใกล้ชิด เช่น ครอบครัว เพื่อน ที่มาของแหล่งเงินทุน คือ ได้รับรายได้พิเศษจากการประกอบอาชีพ ทำธุรกรรมโดยชำระเป็นเงินสด เมื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของพฤติกรรม ในแต่ละกลุ่ม พบว่า ประเภทการลงทุน เหตุผลที่เลือกลงทุน ช่วงระยะเวลาในการลงทุน ที่มาของแหล่งเงินทุน รูปแบบการทำธุรกรรม ผู้ที่มีอิทธิพลต่อการลงทุน ช่องทางติดต่อสอบถามเกี่ยวกับการลงทุน และช่องทางที่ทราบข่าวสารเกี่ยวกับการลงทุน มีความสัมพันธ์กับช่วงอายุ ในภาพรวมปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์ ด้านการส่งเสริมการตลาด ด้านกระบวนการ ด้านลักษณะทางกายภาพ และด้านบุคคล มีผลต่อพฤติกรรมคนกลุ่มเบบี้บูมเมอร์ในจังหวัดเชียงใหม่ต่อการเลือกลงทุนจากเงินออม ทั้ง 3 กลุ่ม ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ขณะที่ปัจจัยด้านราคา และด้านช่องทางการจัดจำหน่ายมีผลต่อพฤติกรรมคนกลุ่มเบบี้บูมเมอร์ในจังหวัดเชียงใหม่ต่อการเลือกลงทุนจากเงินออม ทั้ง 3 กลุ่ม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยมีปัจจัยย่อยที่แตกต่างกัน ได้แก่ อัตราดอกเบี้ยหรือผลตอบแทนสูง อัตราดอกเบี้ยหรือผลตอบแทนแน่นอน อัตราค่าธรรมเนียมต่ำ มีสำนักงาน/สาขาจำนวนมาก มีความสะดวกในการติดต่อ เช่น สอบถามได้ 24 ชั่วโมง สามารถติดต่อสอบถามหลากหลายช่องทาง เช่น คุยทางโทรศัพท์ แชท Line/Facebook/Call Center มีโปรโมชั่นที่น่าสนใจ เช่น ดอกเบี้ยพิเศษ ส่วนลดพิเศษ การออกบูธตามงานกิจกรรมต่างๆ มีพนักงานคอยให้คำแนะนำเชิญชวน เสนอขาย มีระบบการทำงานที่ถูกต้อง แม่นยำ มีระบบรักษาความปลอดภัยของข้อมูลลูกค้า เช่น การยืนยันตัวตนโดยใช้บัตรประชาชน ความง่ายในการใช้บริการบนช่องทางออนไลน์ ความรวดเร็วในการตอบลูกค้าผ่านช่องทางออนไลน์ ความถูกต้อง แม่นยำในการทำรายการออนไลน์ บริเวณสำนักงาน/ร้านค้า มีการตกแต่งสวยงาม ทันสมัย เป็นระเบียบเรียบร้อย สะอาด มีสิ่งอำนวยความสะดวก อุปกรณ์ที่ทันสมัยในการให้บริการ เช่น แท็บเล็ต ตู้เอทีเอ็ม พนักงาน/ผู้ขายมีความรู้ ความสามารถ และตอบคำถามของลูกค้าได้ตรงประเด็น พนักงาน/ผู้ขายมีความกระตือรือร้น มีความพร้อมในการให้บริการลูกค้า และพนักงานให้บริการด้วยความรวดเร็ว ถูกต้อง แม่นยำ | en_US |
Appears in Collections: | BA: Independent Study (IS) |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
601532243 ปวริศรา บุญตันสา.pdf | 2.4 MB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.