Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/73578
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | สุรินทร์ นิลสาราญจิต | - |
dc.contributor.advisor | ฉันทลักษณ์ ติยายน | - |
dc.contributor.author | สุทธิดา มั่นเหมาะ | en_US |
dc.date.accessioned | 2022-07-08T10:22:20Z | - |
dc.date.available | 2022-07-08T10:22:20Z | - |
dc.date.issued | 2021-03 | - |
dc.identifier.uri | http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/73578 | - |
dc.description.abstract | The study of physico-chemical relationship in the branch, leaf, and fruit was determined during a bud dormancy breaking phase until a prior to dormant period according to the phenological growth in the BBCH-scale system on astringent persimmon ‘Xichu’, sweet persimmon ‘Fuyu’, and Kluai ruesee grown on the highland approximately 1,400 meters above mean sea level, Fang District, Chiang Mai Province. The results showed that the persimmon in each species had clearly different characteristics and the period of plant growth. ‘Xichu’ persimmon emerged from dormancy faster than ‘Fuyu’ and Kluai ruesee approximately 2 to 4 weeks. The branch growth of Kluai ruesee was smaller and shorter in size than the other two cultivars. The leaf characteristics of persimmon ‘Xichu’ were similar to those of ‘Fuyu’ but differed from Kluai ruesee with a small leaf and pubescent on the leaf blade. Fruit growth of ‘Xichu’ and ‘Fuyu’ cultivars continued to exponential growth until the maturation stage through the skin color changed into orange color and bigger size when compared to Kluai ruesee which had yellow skin color and a pubescent on fruit. In the early stage of branch growth, the accumulation of non-structural carbohydrate, nitrogen, and carbohydrate/nitrogen ratio within the branches was high, reducing during flower and fruit developmental stages, and increasing again before dormancy. Accumulation of secondary metabolite in leaves according to phenological growth of the persimmon ‘Xichu’ and ‘Fuyu’ was found to change over growth stages, unlike Kluai ruesee which tended to increase throughout the growth of trees. The analysis of phenolic, flavonoid, and antioxidant activity in leaves of ‘Xichu’ and Kluai ruesee were 39.75 – 142.13 mg GAE/g DW, 195.05 – 356.19 mg QE/g DW, and 23.64 – 91.82 μg/mL, respectively, which showed the higher values than the sweet persimmon ‘Fuyu’ in leaves. Thus, the utilization of leaves for tea and other products should be chosen based on the species and appropriate harvesting time of leaves. Changes of secondary metabolite during fruit growth on a tree showed that the flesh of young fruit had values of tannin, phenolic, flavonoid, and antioxidant activity more than the mature fruit and found their concentrations in the astringent more than sweet persimmons. The correlation analysis between two factors was shown from the correlation coefficient (R) at P < 0.01 in each characteristic. It was found that the color intensity of persimmon leaves ‘Xichu’ and ‘Fuyu’ was negatively related to the phenolic and flavonoid contents, resulting in less antioxidant activity in leaves too. In contrast to Kluai ruesee leaves, there was a positive correlation between leaf color intensity and the amount of secondary metabolite in their leaves. The changes in persimmon fruit of three cultivars were found a positive relationship between the fruit color and the sugar content. While changes in the amount of analyzed tannin in fruit crops on the tree were also positively related to the phenolic and flavonoid in fruits. The study of tannin content causing astringent taste during the removal astringency by carbon dioxide of ‘Xichu’ persimmon fruit was found that the tannin reduction in the 48th hour affected the firmness, soluble solids, phenolic, flavonoid, and antioxidant activity to decrease accordingly. While the results from fruits that were not eliminated the astringency changed in the same trend, but the value of analyzed secondary metabolites was higher than the astringent effect with the statistical differences. Numerical calculation expressed a positive correlation between tannin content, phenolic, and flavonoid. However, it was negatively correlated with the half-maximal inhibitory concentration (IC50). Therefore, the tannin decreasing by the astringency removal process impacted the physical changes and accumulation of the other metabolites in persimmon fruit. | en_US |
dc.language.iso | other | en_US |
dc.publisher | เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | en_US |
dc.title | การเปลี่ยนแปลงทางเคมีกายภาพระหว่างการเจริญเติบโตของพลับ | en_US |
dc.title.alternative | Physico-chemical changes during growth and development of persimmon | en_US |
dc.type | Thesis | |
thailis.controlvocab.thash | พลับ -- การเจริญเติบโต | - |
thailis.controlvocab.thash | การเจริญเติบโตของพืช | - |
thesis.degree | master | en_US |
thesis.description.thaiAbstract | การศึกษาความสัมพันธ์ทางเคมีกายภาพในกิ่ง ใบ และผลระหว่างการเจริญเติบโตจากระยะพ้นการพักตัวของตาจนกระทั่งก่อนต้นเข้าสู่ระยะพักตัวตามชีพลักษณ์การเจริญเติบโตในระบบ BBCH-scale ของพลับฝาดพันธุ์ซิชู พลับหวานพันธุ์ฟูยุ และกล้วยฤาษีบนพื้นที่สูงประมาณ 1,400 เมตรจากระดับทะเลปานกลาง อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ พบว่าในพลับแต่ละชนิดมีลักษณะและช่วงระยะเวลาการเจริญเติบโตของพืชแตกต่างกันอย่างชัดเจน ต้นพลับพันธุ์ซิชูพ้นการพักตัวได้เร็วกว่าพันธุ์ฟูยุและกล้วยฤาษี ประมาณ 2 – 4 สัปดาห์ การเจริญเติบโตของกิ่งกล้วยฤาษีมีขนาดเล็กและสั้นกว่าพลับอีกสองพันธุ์ ลักษณะใบของพลับพันธุ์ซิชูคล้ายกับพันธุ์ฟูยุแตกต่างจากกล้วยฤาษีที่มีใบขนาดเล็กและมีขนบนแผ่นใบ การเจริญเติบโตของผลมีการเพิ่มขนาดอย่างต่อเนื่องจนถึงระยะผลสุกแก่ของพันธุ์ซิชูและพันธุ์ฟูยุสีผิวผลเปลี่ยนเป็นสีส้มมีขนาดใหญ่กว่าผลของกล้วยฤาษีที่มีขนาดเล็ก สีผิวผลมีสีเหลืองและพบขนปกคลุมที่ผลด้วย การเจริญเติบโตของกิ่งในช่วงแรกมีการสะสมคาร์โบไฮเดรตที่ไม่ใช่โครงสร้างและไนโตรเจนภายในกิ่งมากแล้วลดลงในระยะการพัฒนาดอกและผล และเพิ่มขึ้นอีกครั้งก่อนเข้าสู่การพักตัวของต้น การสะสมสารทุติยภูมิในใบตามชีพลักษณ์การเจริญเติบโตของพลับพันธุ์ซิชูและพันธุ์ฟูยุ พบมีการเปลี่ยนแปลงไปตามแต่ละช่วงเวลาแตกต่างจากกล้วยฤาษีที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตลอด การเจริญเติบโตของต้น แสดงด้วยปริมาณฟีนอลิก ฟลาโวนอยด์ และการต้านอนุมูลอิสระที่วิเคราะห์ได้ในใบพลับฝาดพันธุ์ซิชูและกล้วยฤาษีอยู่ระหว่าง 39.75 – 142.13 mg GAE/g DW, 195.05 – 356.19 mg QE/g DW และ 23.64 – 91.82 μg/mL ตามลำดับ พบสะสมได้มากกว่าใบพลับหวานพันธุ์ฟูยุ ดังนั้น การนำใบไปใช้ประโยชน์เป็นผลิตภัณฑ์ชาและอื่น ๆ จึงควรเลือกจากชนิดพันธุ์และช่วงเวลาการเก็บใบที่เหมาะสมด้วย การเปลี่ยนแปลงระหว่างการเจริญเติบโตของผลบนต้น พบว่าส่วนเนื้อของผลอ่อนมีการสะสมของแทนนิน ฟีนอลิก ฟลาโวนอยด์ และการต้านอนุมูลอิสระมากกว่าผลแก่เต็มที่ของ ผลพลับฝาดมากกว่าพลับหวานด้วย ในการหาความสัมพันธ์ด้วยการวิเคราะห์ค่าสหสัมพันธ์ระหว่างสองปัจจัยแสดงจาก ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (R) ที่ระดับ P < 0.01 ในแต่ละลักษณะ พบว่าความเข้มสีใบของพลับ พันธุ์ซิชูและพันธุ์ฟูยุมีความสัมพันธ์เชิงลบกับปริมาณฟีนอลิกและฟลาโวนอยด์ในใบ ส่งผลต่อ การต้านอนุมูลอิสระน้อยลงด้วย ให้ผลตรงกันข้ามกับใบของกล้วยฤาษีที่มีความสัมพันธ์เชิงบวกระหว่างความเข้มสีใบกับปริมาณสารทุติยภูมิในใบ สำหรับการเปลี่ยนแปลงในผลพลับพบความสัมพันธ์เชิงบวกระหว่างสีผิวผลกับปริมาณน้ำตาลในผล ขณะที่การเปลี่ยนแปลงปริมาณแทนนินที่วิเคราะห์ได้ในผลที่เจริญเติบโตบนต้นมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับปริมาณฟีนอลิกและฟลาโวนอยด์ในผลด้วย ในการศึกษาปริมาณแทนนินที่เป็นสาเหตุของรสชาติฝาดระหว่างการขจัดความฝาดด้วยแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์กับผลพลับพันธุ์ซิชู พบว่าการลดลงของปริมาณแทนนินในชั่วโมงที่ 48 ส่งผลต่อความแน่นเนื้อ ของแข็งที่ละลายน้ำได้ ฟีนอลิก ฟลาโวนอยด์ และมีการต้านอนุมูลอิสระลดลงตามไปด้วย ขณะที่ผลไม่ได้ขจัดความฝาดพบแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงลดลงไปในทางเดียวกัน แต่ปริมาณสารทุติยภูมิที่วิเคราะห์ได้มีค่าสูงกว่าและให้ค่าแตกต่างทางสถิติกับผลที่ขจัดความฝาด แสดงเป็นความสัมพันธ์เชิงบวกระหว่างปริมาณแทนนินกับฟีนอลิกและฟลาโวนอยด์ แต่สัมพันธ์แบบเชิงลบกับค่าความเข้มข้นในการยับยั้งอนุมูลอิสระ (IC50) ดังนั้น กระบวนการขจัดความฝาดในผลทำให้เกิดการลดลงของแทนนินมีผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงทางลักษณะกายภาพและการสะสมสารอื่น ๆ ในผลของพลับด้วย | en_US |
Appears in Collections: | AGRI: Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
610831005 สุทธิดา มั่นเหมาะ.pdf | 3.09 MB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.