Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/73571
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorหทัยกาญจน์ เชาวนพูนผล-
dc.contributor.authorดาวทิพย์ จิรนิวาตานนท์en_US
dc.date.accessioned2022-07-08T10:02:06Z-
dc.date.available2022-07-08T10:02:06Z-
dc.date.issued2021-03-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/73571-
dc.description.abstractThe purpose of the study is to development and evaluation of media literacy program on health products: a case study of dietary supplement in high school students. Research design: Quasi- experimental research was performed into 2 phases: phase 1, development of media literacy program, and phase 2 evaluation of media literacy program on health products. Phase I research method: The researcher applied the concept of media literacy and educational trilogy for the development of media literacy program on health products. Four teachers who had experienced and responsible for "Aoryornoi" project and 5 female high school students did focus group discussion for the development learning activities plan. Four learning activities made by flash program were composed of media accessing, analyzing, evaluating and media creating. Learning process was conducted 1 lesson per week, 50-minute lessons per class, total of 4 lessons for a period of I month. Phase II research method: The control group of 37 students and the experiment group of 32 students who were students in grade 11 from each 2 schools performed the media literacy assessment (pre-test). The media literacy assessment used 4 popular dietary supplement cases. The questionnaire was multiple-choice question (4 choices), 4-5 questions per case study. After finishing the media literacy program in experimental group 1 week, students in both groups performed the media literacy assessment (post-test) after the experimental group learned the media literacy program. The data were analyzed by descriptive and inferential statistics, paired t-test and multiple linear regression. Confidence interval was determined at the level of 95.0%. Results: The 32 experimental group students consisted of 28 females (87.5%). Most of them had cumulative GPA higher than 3.51 (43. 75%) and none of the students had cumulative GPA less than 2.51. The 37 control group students consisted of 19 females (51.35%). Most of them had cumulative GPA between 3.01-3.50 (32.43%). Five students (13.51%) had cumulative GPA less than 2.50. Within group analysis, the results showed that the experimental group had a significantly increased media literacy skill (8.06 ± 1.52 vs 10.56 ± 1.58, p=0.000), and the control group had no significantly increased media literacy skill (6.08 ± 2.64 vs 6.54 ± 2.39, p=0.440). Between group analyses by adjusted three confounding variables: gender, cumulative GPA score, and pre-test media literacy score found that the post-test media literacy score of the experimental group was significantly higher than the control group. (10.56 ± 1.58 vs 6.54 ± 2.39, p=0.000) Conclusion: The media literacy program able to improve the media literacy skill among high school students.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleการพัฒนาและประเมินผลโปรแกรมการรู้เท่าทันสื่อ (Media literacy) เรื่อง ผลิตภัณฑ์สุขภาพ: กรณีศึกษาผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ในเด็กนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายen_US
dc.title.alternativeDevelopment and evaluation of media literacy program on health products: a case study of dietary supplementin High School Studentsen_US
dc.typeThesis
thailis.controlvocab.thashการรู้เท่าทันสื่อ-
thailis.controlvocab.thashสื่อมวลชน-
thailis.controlvocab.thashผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractงานวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและประเมินผลของโปรแกรมการรู้เท่าทันสื่อ เรื่องผลิตภัณฑ์สุขภาพ กรณีศึกษาผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ในเด็กนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายรูปแบบวิจัย: Quasi-Experimental Research (การวิจัยกึ่งทดลอง) แบ่งเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การพัฒนาโปรแกรมการรู้เท่าทันสื่อฯ และ ระยะที่ 2 ประเมินผลโปรแกรมการรู้เท่าทันสื่อฯ วิธีวิจัยระยะที่ 1: ผู้วิจัยใช้แนวคิดการรู้เท่าทันสื่อร่วมกับใช้หลักการไตรยางค์การศึกษา ในการพัฒนาโปรแกรมการรู้เท่าทันสื่อ ใช้การสนทนากลุ่มครู ซึ่งมีประสบการณ์และเป็นครูแกนนำอย.น้อย จำนวน 4 คน และสอบถามความเห็นนักเรียนเพศหญิง ชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย จำนวน 5 คนเพื่อจัดทำแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ประกอบด้วย 4 แผนกิจกรรม ตามองค์ประกอบของการรู้เท่าทันสื่อ คือ การเข้าถึงสื่อ การวิเคราะห์สื่อ การประเมินสื่อ และ การสร้างสรรค์สื่อ ตามลำดับ จัดทำลงในโปรแกรมแฟลช (Flash) ดำเนินกิจกรรมสัปดาห์ละ 1 คาบเรียน คาบเรียนละ 50 นาที รวม 4 คาบเรียน ตลอดระยะเวลา 1 เดือน วิธีวิจัยระยะที่ 2: นักเรียนกลุ่มควบคุม จำนวน 37 คน และกลุ่มทดลอง จำนวน 32 คน ซึ่งเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จาก 2 โรงเรียน ทำแบบประเมินการรู้เท่าทันสื่อฯ (ก่อนทดลอง) ที่มีลักษณะข้อคำถามเป็นแบบเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 4 กรณีศึกษา (ข้อคำถาม 4-5 ข้อต่อกรณีศึกษา) ตามกลุ่มผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่ได้รับความนิยม หลังจากนั้น 1 สัปดาห์ทดลองใช้โปรแกรมการรู้เท่าทันสื่อฯ ในนักเรียนกลุ่มทดลอง ตลอดระยะเวลา 1 เดือน ภายหลังการใช้โปรแกรมการรู้เท่าทันสื่อฯ 1 สัปดาห์ นักเรียนทั้งสองกลุ่มทำแบบประเมินการรู้เท่าทันสื่อฯ (หลังทดลอง) อีกครั้ง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณา และสถิติเชิงอนุมาน paired t-test, multiple linear regression กำหนดค่าความเชื่อมั่นที่ระดับร้อยละ 95.0 ผลการวิจัย : นักเรียนกลุ่มทดลอง จำนวน 32 คน ประกอบด้วย เพศหญิง จำนวน 28 คน (ร้อยละ 87.5) ส่วนใหญ่มีคะแนน GPA สะสมสูงกว่า 3.51 จำนวน 14 คน (ร้อยละ 43.75) และไม่มีนักเรียนที่คะแนน GPA สะสมน้อยกว่า 2.50 นักเรียนกลุ่มควบคุม จำนวน 37 คน ประกอบด้วย เพศหญิง จำนวน 19 คน (ร้อยละ 51.35) ส่วนใหญ่มีคะแนน GPA สะสมอยู่ระหว่าง 3.01-3.50 จำนวน 12 คน (ร้อยละ 32.43) และมีนักเรียนที่คะแนน GPA สะสมน้อยกว่า 2.50 จำนวน 5 คน (ร้อยละ 13.51) เมื่อเปรียบเทียบทักษะการรู้เท่าทันสื่อก่อนและหลังใช้โปรแกรมการรู้เท่าทันสื่อ1 ในนักเรียนแต่ละกลุ่มพบว่า กลุ่มทคลองมีทักษะการรู้เท่าทันสื่อสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (8.06 ± 1.52 vs 10.56 ± 1.58, D-0.000) ในขณะที่กลุ่มควบคุมมีทักษะการรู้เท่าทันสื่อ ไม่แตกต่างกัน (6.08 ± 2.64 vs 6.54 ± 2.39, p=0.440) เมื่อเปรียบเทียบทักษะการรู้เท่าทันสื่อระหว่างกลุ่มทคลองและกลุ่มควบคุม โดยควบคุมตัวแปร 3 ปัจจัย คือ เพศ คะแนน GPA สะสมและคะแนนการรู้เท่าทันสื่อก่อนใช้โปรแกรมฯ พบว่าคะแนนการรู้เท่าทันสื่อ หลังทดลองของกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (10.56 ± 1.58 และ 6.54 ± 2.39 คะแนน ตามลำดับจากคะแนนเต็ม 17 คะแนน, p=0.000) โดยมีความแตกต่างของค่าเฉลี่ย 4.02 (95%CI; -5.20, -2.80) สรุปผลการวิจัย : โปรแกรมการรู้เท่าทันสื่อฯ มีผลทำให้นักเรียนมีทักษะการรู้เท่าทันสื่อเพิ่มขึ้นกว่าการไม่ได้รับโปรแกรมการรู้เท่าทันสื่อฯen_US
Appears in Collections:PHARMACY: Theses



Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.