Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/73555
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorรังสิมา วิวัฒน์วงศ์วนา-
dc.contributor.advisorปีดิเทพ อยู่ยืนยง-
dc.contributor.authorชุณห์พิมาณ ธิตินุพัฒน์en_US
dc.date.accessioned2022-07-07T10:30:27Z-
dc.date.available2022-07-07T10:30:27Z-
dc.date.issued2021-04-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/73555-
dc.description.abstractIndependent research subject “Quality of Life Among Disabled Women Working in Dried Longan Peeling and Seed Removing in Fang District, Chiang Mai Province”. It aims to (1) study the quality of life of disabled women working in dry-longan peeling and seed removing, (2) to study the relationship of working conditions and conditions of disabled women; working in dry-longan peeling and seed removing with quality of life, and (3) to study how women with disabilities affect the quality of life in working in dry-longan peeling and seed removing. The tool used is to interview and analyze the quality of life of disabled women working in dry-longan peeling and seed removing in 5 points is (1) basic information of disabled women working in dry-longan peeling and seed removing, (2) environment, working restrictions in dry-longan peeling and seed removing of disabled women, (3) problems in the work of disabled women working in dry-longan peeling and seed removing, (4) solving problems of disabled women working in dry-longan peeling and seed removing, (5) work and attitudes of disabled women working in dry-longan peeling and seed removing. The findings reflect the quality of life for disabled women working in dry-longan peeling and seed removing, according to the definition of quality of life according to the concept of Abraham H. Maslow, is a total of 5 stages of human basic requirements. It was found that the quality of life of disabled women is also low, with the needs of all five areas, i.e. disabled women do not have a higher quality of life in any area, and most have a lower quality of life. It is found in three of the five needs: the need for love and being part of the group, the need to feel self-worth, and the need to know yourself according to their true condition and potential development. In addition, there are two areas where women with disabilities have a moderate quality of life, namely housing needs, and security needs. However, the quality of life in each area is reflected by how disabled women are met in such areas.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleคุณภาพชีวิตของผู้หญิงพิการที่ทำงานปอกเปลือกและคว้านเมล็ดลำไยอบแห้ง ในเขตอำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่en_US
dc.title.alternativeQuality of life among disabled women working in dried longan peeling and seed removing in Fang District, Chiang Mai Provinceen_US
dc.typeIndependent Study (IS)-
thailis.controlvocab.thashคุณภาพชีวิต -- เชียงใหม่-
thailis.controlvocab.thashสตรีพิการ -- เชียงใหม่-
thailis.controlvocab.thashลำไย -- การอบแห้ง-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการค้นคว้าอิสระ เรื่อง “คุณภาพชีวิตของผู้หญิงพิการที่ทำงานปอกเปลือกและคว้านเมล็ดลำไยอบแห้งในเขตอำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่” มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาคุณภาพชีวิตของผู้หญิงพิการที่ประกอบอาชีพปอกเปลือกและคว้านเมล็ดลำไยอบแห้ง (2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของสภาพและเงื่อนไขในการทำงานของผู้หญิงพิการที่ประกอบอาชีพปอกเปลือกและคว้านเมล็ดลำไยอบแห้งกับคุณภาพชีวิต (3) เพื่อศึกษาถึงความเป็นผู้หญิงพิการที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตในการทำงานประกอบอาชีพปอกเปลือกและคว้านเมล็ดลำไยอบแห้ง เครื่องมือที่ใช้คือการสัมภาษณ์และนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ถึงคุณภาพชีวิตของผู้หญิงพิการที่ประกอบอาชีพปอกเปลือกและคว้านเมล็ดลำไยอบแห้งใน 5 ประเด็นคือ (1) ข้อมูลพื้นฐานของผู้หญิงพิการที่ประกอบอาชีพปอกเปลือกและคว้านเมล็ดลำไยอบแห้ง (2) สภาพแวดล้อม ข้อจำกัดในการประกอบอาชีพปอกเปลือกและคว้านเมล็ดลำไยอบแห้งของผู้หญิงพิการ (3) ปัญหาในการทำงานของผู้หญิงพิการที่ประกอบอาชีพปอกเปลือกและคว้านเมล็ดลำไยอบแห้ง (4) การแก้ไขปัญหาของผู้หญิงพิการที่ประกอบอาชีพปอกเปลือกและคว้านเมล็ดลำไยอบแห้ง (5) การทำงานและทัศนคติของผู้หญิงพิการที่ประกอบอาชีพปอกเปลือกและคว้านเมล็ดลำไยอบแห้ง ซึ่งจากข้อค้นพบสะท้อนให้เห็นถึงคุณภาพชีวิตผู้หญิงพิการที่ประกอบอาชีพปอกเปลือกและคว้านเมล็ดลำไยอบแห้ง ตามคำนิยามเรื่องคุณภาพชีวิตตามแนวคิดของมาสโลว์ (Abraham H. Maslow) เป็นลำดับทั้งหมด 5 ขั้น (Five general system of needs) ความต้องการขั้นมูลฐานของมนุษย์ (Basic needs) พบว่าคุณภาพชีวิตของผู้หญิงพิการฯ ยังมีอยู่ในระดับน้อย โดยจากความต้องการทั้ง 5 ด้าน กล่าวคือผู้หญิงพิการฯ ไม่มีคุณภาพชีวิตในด้านใดๆ เลยที่อยู่ในระดับมาก และส่วนใหญ่มีคุณภาพชีวิตในระดับน้อย ซึ่งพบใน 3 ใน 5 ความต้องการฯ ได้แก่ ความต้องการความรักและเป็นส่วนหนึ่งของหมู่คณะ ความต้องการที่จะรู้สึกว่าตนเองมีค่า และความต้องการที่จะรู้จักตนเองตามสภาพที่แท้จริงและพัฒนาศักยภาพของตน นอกจากนั้นมี 2 ด้านที่พบว่าผู้หญิงพิการฯ มีคุณภาพชีวิตเพียงแค่ในระดับปานกลาง ได้แก่ ความต้องการทางสรีระ และความต้องการความมั่นคงปลอดภัย ซึ่งคุณภาพชีวิตแต่ละด้านได้ถูกสะท้อนให้เห็นได้จากการที่ผู้หญิงพิการฯ ได้รับการตอบสนองความต้องการฯ ในด้านดังกล่าวen_US
Appears in Collections:SOC: Independent Study (IS)



Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.