Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/73532
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ชมพูนุท ศรีรัตน์ | - |
dc.contributor.advisor | จิราภรณ์ เตชะอุดมเดช | - |
dc.contributor.author | เอกลักษณ์ เด็กยอง | en_US |
dc.date.accessioned | 2022-07-06T10:41:40Z | - |
dc.date.available | 2022-07-06T10:41:40Z | - |
dc.date.issued | 2020-09 | - |
dc.identifier.uri | http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/73532 | - |
dc.description.abstract | People with end - stage renal disease receiving continuous ambulatory peritoneal dialysis often experience symptoms in the dimensions of symptoms occurrence, frequency, severity and distress. These may impact the patients’ daily life. Therefore, symptom management is needed to relieve the distress caused by receiving continuous ambulatory peritoneal dialysis in people with end - stage renal disease. The objective of this descriptive research was to study the management of symptoms of people with end - stage renal disease receiving continuous ambulatory peritoneal dialysis. The participants consisted of both male and female end - stage renal disease patients receiving continuous ambulatory peritoneal dialysis aged 18 years and over, who visited the kidney disease clinic, outpatient department in 4 hospitals in Chiang Mai province between November 2019 and February 2020. The participants (n=293) were purposively selected to complete three instruments, which were 1) the general data record form, 2) the CKD Symptom Burden Index (CKD-SBI), and 3) the symptoms management interview form of persons with end - stage renal disease receiving continuous ambulatory peritoneal dialysis. Data were analyzed using descriptive statistics. The results demonstrated that: 1. The participants perceived itching as being the symptom experienced in the most in terms of symptom occurrence as 67.23 % and the mean score of frequency, severity and distress dimension were X̅ ± SD = 4.51 ± 1.62, 4.59 ± 1.34, and 5.53 ± 1.70, respectively 2. The participants used various methods to manage 5 symptoms, including: 1) itching which was managed by applying cream or lotion (84.80 %), gently scratching using hand/cloth/scratch stick (72.10 %), and avoiding red and processed meat (44.70 %); 2) bone or joint pain was managed by general touch/squeezing (86.70 %), topical analgesics (36.40 %), and oral paracetamol (34.30 %); 3) muscle soreness was managed by relaxation in a sitting position or lying down (90.30 %), general touch/squeezing (80.60 %), and oral paracetamol (34.70 %); 4) muscle cramps were managed by foot stretching/contraction/ankle flexing (77.10 %), squeezing/massaging/pressing on symptomatic areas (74.80 %), and leg stretching (61.80 %); and 5) headaches were managed by relaxation or resting in a sitting position or lying down (94.50 %), self - measurement and recording of blood pressure (67.90 %), and squeezing/massaging/pressing on symptomatic areas (49.50 %). The results of this research will provide basic information for nurses and health care personnel for assessing symptom experience, and may be a guidance for the planning of care and recommending or promoting symptom management of people with end - stage renal disease receiving continuous ambulatory peritoneal dialysis appropriately and efficiently. | en_US |
dc.language.iso | other | en_US |
dc.publisher | เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | en_US |
dc.title | การจัดการอาการของผู้ที่เป็นโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ได้รับการล้างไตทางช่องท้องอย่างต่อเนื่อง | en_US |
dc.title.alternative | Symptom management of persons with end - stage renal disease receiving continuous ambulatory peritoneal dialysis | en_US |
dc.type | Thesis | |
thailis.controlvocab.thash | ไต -- โรค | - |
thailis.controlvocab.thash | ไต -- โรค -- ผู้ป่วย | - |
thailis.controlvocab.thash | ผู้ป่วย -- การดูแล | - |
thailis.controlvocab.thash | การล้างไตทางช่องท้อง | - |
thailis.controlvocab.thash | การล้างไตทางช่องท้องอย่างต่อเนื่อง | - |
thesis.degree | master | en_US |
thesis.description.thaiAbstract | ผู้ที่เป็นโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ได้รับการล้างไตทางช่องท้องอย่างต่อเนื่องมักจะมีประสบการณ์การมีอาการต่าง ๆ ในมิติของการเกิดอาการ ความถี่ ความรุนแรง และความทุกข์ทรมาน ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิต ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีการจัดการอาการที่เกิดขึ้น เพื่อบรรเทาความทุกข์ทรมานที่เกิดจากการล้างไตทางช่องท้องอย่างต่อเนื่องในผู้ที่เป็นโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้าย การวิจัยเชิงบรรยายนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเกี่ยวกับการจัดการอาการของผู้ที่เป็นโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ได้รับการล้างไตทางช่องท้องอย่างต่อเนื่อง กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ที่เป็นโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ได้รับการล้างไตทางช่องท้องอย่างต่อเนื่อง ที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป ทั้งเพศชายและเพศหญิง ที่เข้ารับบริการที่คลินิกโรคไต แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลในจังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 4 โรงพยาบาล ระหว่างเดือน พฤศจิกายน พ.ศ. 2562 ถึง กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง จำนวน 293 คน เพื่อที่จะตอบเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 3 ส่วน ได้แก่ 1) แบบบันทึกข้อมูลทั่วไป 2) แบบสัมภาษณ์ดัชนีภาระอาการผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง (The CKD Symptom Burden Index [CKD - SBI]) และ 3) แบบสัมภาษณ์การจัดการอาการของผู้ที่เป็นโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ได้รับการล้างไตทาง ช่องท้องอย่างต่อเนื่อง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยาย ผลการวิจัยพบว่า 1. กลุ่มตัวอย่างมีอาการคันเป็นประสบการณ์อาการที่พบได้มากที่สุดในมิติการเกิดอาการ คิดเป็นร้อยละ 67.23 โดยมีคะแนนเฉลี่ยของความถี่ ความรุนแรง และความทุกข์ทรมานของอาการ (X̅ ± SD = 4.51 ± 1.62, 4.59 ± 1.34 และ 5.53 ± 1.70 ตามลำดับ) 2. กลุ่มตัวอย่างมีวิธีการจัดการอาการที่ใช้มากที่สุด ทั้ง 5 อาการ ดังต่อไปนี้ 1) อาการคัน ใช้ครีมหรือโลชั่นทาตามผิวหนัง (ร้อยละ 84.80) ใช้มือ/ผ้า/ไม้เกาหลัง เกาหรือลูบเบา ๆ บริเวณที่มีอาการ (ร้อยละ 72.10) และไม่รับประทานอาหารที่มีลักษณะเนื้อแดงหรือเนื้อแปรรูป (ร้อยละ 44.70) 2) อาการปวดกระดูกหรือข้อ ใช้การสัมผัส/บีบนวดทั่วไป (ร้อยละ 86.70) ใช้ยาแก้ปวดชนิดทาแผนปัจจุบัน (ร้อยละ 36.40) และรับประทานยาแก้ปวดพาราเซตามอล (ร้อยละ 34.30) 3) อาการปวด เมื่อยกล้ามเนื้อ ใช้การผ่อนคลาย นั่ง/นอนพักผ่อน (ร้อยละ 90.30) สัมผัส/บีบนวดทั่วไป (ร้อยละ 80.60) และรับประทานยาแก้ปวดพาราเซตามอล (ร้อยละ 34.70) 4) อาการตะคริว ใช้การเหยียด/เกร็ง/กระดกปลายเท้า (ร้อยละ 77.10) บีบ/นวด/กด บริเวณที่มีอาการ (ร้อยละ 74.80) และยืดขา (ร้อยละ 61.80) และ 5) อาการปวดศีรษะ ใช้การผ่อนคลาย นั่ง/นอนพักผ่อน (ร้อยละ 94.50) วัดความดันโลหิตและ จดบันทึก (ร้อยละ 67.90) และบีบ/นวด/กดบริเวณที่มีอาการ (ร้อยละ 49.50) ผลการวิจัยครั้งนี้จะเป็นข้อมูลพื้นฐานสำหรับพยาบาลและบุคลากรสุขภาพในการประเมินประสบการณ์การมีอาการ และอาจจะเป็นแนวทางในการวางแผนการดูแล แนะนำหรือส่งเสริมการจัดการอาการต่าง ๆ ในผู้ที่เป็นโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ได้รับการล้างไตทางช่องท้องอย่างต่อเนื่อง ได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพต่อไป | en_US |
Appears in Collections: | NURSE: Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
601231019 เอกลักษณ์ เด็กยอง.pdf | 8.49 MB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.