Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/73530
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | เพียรชัย คาวงษ์ | - |
dc.contributor.author | สถาพร อินทะนนท์ | en_US |
dc.date.accessioned | 2022-07-06T10:36:14Z | - |
dc.date.available | 2022-07-06T10:36:14Z | - |
dc.date.issued | 2020-11 | - |
dc.identifier.uri | http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/73530 | - |
dc.description.abstract | Long term of modification of muscle tone in patients with chronic stroke includes imbalance of postural control, decreased range of motion (ROM), decreased muscle flexibility and limited activity in daily living. This study aimed to investigate the effect of myofascial release technique (MFR) on balance performance in patients with chronic stroke. This was a cross over design. Fourteen participants were enrolled in this study, and received MFR technique at hamstrins, gastroso-soleus muscle and plantar fascia, incorporated with physical therapy training or physical therapy training only. Each program session was 3 times per week for 4 weeks. Balance performance was evaluated by Berge Balance Scales and Timed Up and Go test. ROM of hip flexion, knee flexion and ankle dorsiflexion were measured using a goniometer in affected side. These outcome measures were assessed before and after the training. The result showed that the patients with chronic stroke in the MFR technique combined with physical therapy training group had significantly greater balance performance and higher ROM of hip flexion, knee flexion and ankle dorsiflexion when compared to the physical therapy training alone (p < 0.01 for all). In conclusion, adding the MFR technique with physical therapy training could increase balance performance. This technique can be considered as an alternative therapy to improve balance in patients with chronic stroke. | en_US |
dc.language.iso | other | en_US |
dc.publisher | เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | en_US |
dc.title | ผลของเทคนิคการยืดคลายกล้ามเนื้อและเยื่อพังผืดต่อความสามารถในการทรงตัวในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองเรื้อรัง | en_US |
dc.title.alternative | Effect of myofascial release technique on balance performance in patients with chronic stroke | en_US |
dc.type | Thesis | |
thailis.controlvocab.thash | การฝึกกำลังกล้ามเนื้อ | - |
thailis.controlvocab.thash | กำลังกล้ามเนื้อ | - |
thailis.controlvocab.thash | การทรงตัว | - |
thailis.controlvocab.thash | โรคหลอดเลือดสมอง -- ผู้ป่วย | - |
thesis.degree | master | en_US |
thesis.description.thaiAbstract | การเปลี่ยนแปลงความตึงตัวของของกล้ามเนื้อในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองเรื้อรังนั้น หากเกิดขึ้นเป็นระยะเวลานานอาจทำให้เกิดผลกระทบต่อการควบคุมสมดุลและความมั่นคงของร่างกายขณะทรงตัว การเคลื่อนไหวของข้อต่อและความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อลดลง ทำให้มีการจำกัดการทำกิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลของการใช้เทคนิคการยืดคลายกล้ามเนื้อและเยื่อพังผืด ต่อความสามารถในการทรงตัวในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง เป็นการทดลองแบบไขว้ โดยใช้อาสาสมัครที่เป็นผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองเรื้อรังจำนวน 14 คน ซึ่งผู้ป่วยได้รับการใช้เทคนิคการยืดคลายกล้ามเนื้อและเยื่อพังผืดที่บริเวณกล้ามเนื้อ hamstrings, gastro-soleus และ plantar fascia ร่วมกับการฝึกทางกายภาพบำบัด และการฝึกทางกายภาพบำบัดทั่วไปเพียงอย่างเดียว 3 ครั้งต่อสัปดาห์ เป็นเวลา 4 สัปดาห์ ในแต่ละกลุ่ม โดยใช้ Berge Balance Scales และการทดสอบ Timed Up and Go ในการประเมินการทรงตัว และใช้ goniometer ในการวัดมุมการเคลื่อนไหวในการงอข้อสะโพก ข้อเข่า และการกระดกปลายเท้าขึ้น ของขาข้างที่มีพยาธิสภาพในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองเรื้อรัง ก่อนและหลังการฝึก ผลการทดลองพบว่า ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองเรื้อรังที่ได้รับการใช้เทคนิคการยืดคลายกล้ามเนื้อและเยื่อพังผืดร่วมกับการฝึกทางกายภาพบำบัด มีความสามารถในการทรงตัว และมุมการเคลื่อนไหวในการงอข้อสะโพก ข้อเข่า และการกระดกปลายเท้าขึ้น แตกต่างจากผู้ป่วยที่ได้รับการฝึกทางกายภาพบำบัดเพียงอย่างเดียว อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.01) สรุปผลการศึกษา การใช้เทคนิคการยืดคลายกล้ามเนื้อและเยื่อพังผืด ร่วมกับการฝึกทางกายภาพบำบัด ทำให้ความสามารถในการทรงตัวดีขึ้น ดังนั้นเทคนิคการยืดคลายกล้ามเนื้อและเยื่อพังผืดจึงสามารถนำไปใช้ร่วมกับการฝึกทางกายภาพบำบัดในการแก้ไขปัญหาการทรงตัวในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองได้ | en_US |
Appears in Collections: | AMS: Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
601131039 สถาพร อินทะนนท์.pdf | 1.89 MB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.