Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/73493
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorชยันต์ วรรธนะภูติ-
dc.contributor.advisorมาลี สิทธิเกรียงไกร-
dc.contributor.authorอำภา วูซือen_US
dc.date.accessioned2022-07-03T08:31:39Z-
dc.date.available2022-07-03T08:31:39Z-
dc.date.issued2021-04-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/73493-
dc.description.abstractThis thesis is an ethnographic study that focuses on "Ethnic labor and social relations in coffee production to the world market of Akha Ban Doi Chang ethnic community". Using participatory interviewing and observation methods we research questions as follows: 1. How does the change of agricultural production systems to the Akha coffee production affect labor use? 2. What is the model of labor relations in coffee production? 3. How coffe's lifestyle and adaptation of Ethnic labor in production in Doi Chaang Community? The concepts used are Highland development Concept of stepfather system and foster relationship and concepts of living. The study was conducted from August 2018 until April 2019 in the Doi Chang Community, Wawee Sub-district, Mae Suai District, Chiang Rai Province, Thailand. In the course of a year, the agricultural production in this area shifted from growing crops for sustenance to growing cash crops due to the impact of "Highland development" The starting point of the coffee business on Doi Chaang. Caused by the villagers in Doi Chang community have been distributed Arabica coffe seedlings to replace 40 families who grow opium crops. In 1983, the royal initiative of His Majesty King Bhumibol Adulyadej Rama IX through the royal initiative received cooperation from international organizations such as The Thai-German high development project and the Department of Agriculture have brought good coffee varieties to research and development. Ready to set up various research and experiment centers On Doi Chaang. Later, after the villagers in Doi Chaang established Doi Chaang Coffee Factory in 2003, it was successful, resulting in Doi Chaang Coffee becoming more and more popular in the world market. The Doi Chaang area has become one of the most important sources of cultivation and production of coffee for sale in Thailand. Since late 2002, the production of cash crops like Arabica coffee has expanded rapidly for Doi Chaang farmers. This can be seen from the beginning of coffee growing in 1983 when there were about 40 rai of coffee plantations in the area. In 2002, there was about 500-600 rai of coffe growing areas, and in 2008, the coffee plantation area was expanded to approximately 20,000 rai and currently covers about 30,000 rai of coffee plantation area. As a result, the coffee business in the Doi Chaang community has expanded rapidly with the need to hire large numbers of ethnic workers at low prices. As a result, employers in the community have managed ethnic workers to have workers to help. Ethnic workers themselves adjust for their livelihoods for employment in the Doi Chang community. As a result, employers and ethnic workers manage relationships with each other. This study found that the relationship between employer and ethnic workers is a relationship between people in an economic structure in which the relationship is exchanging that interest. There is the freedom to set terms against each other, both of which use a personal relationship. And benefits by relying on the employee and employer must help each other to get the most benefits that each party deserves. The local coffee process management model is important to the management of ethnic workers. By determining the relationship in the management of ethnic workers, the reciprocal social relationship continues. This is because agricultural production and the local economy require a lot of ethnic labor. Every coffee production process requires human labor to be involved. Most importantly, the security for farmers who have to ensure that ethnic workers come to help work throughout all year also ethnic workers also want to have employment throughout all year to get income.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleแรงงานชาติพันธุ์และความสัมพันธ์ทางสังคมในการผลิตกาแฟสู่ตลาดโลก ของชุมชนชาติพันธุ์อาข่าบ้านดอยช้างen_US
dc.title.alternativeEthnic labor and social relations in the coffee production for the world market of the Akha community at Baan Doi Changen_US
dc.typeThesis
thailis.controlvocab.thashกลุ่มชาติพันธุ์ -- การจ้างงาน-
thailis.controlvocab.thashกลุ่มชาติพันธุ์ -- เชียงราย-
thailis.controlvocab.thashกาแฟ -- การปลูก-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractวิทยานิพนธ์ฉบับนี้ศึกษาในเรื่อง "แรงงานชาติพันธุ์และความสัมพันธ์ทางสังคมในการผลิตกาแฟสู่ตลาดโลกของชุมชนชาติพันธุ์อาข่าบ้านดอยช้าง" เป็นการศึกษาเชิงชาติพันธุ์วรรณา ใช้วิธีการสัมภาษณ์และการสังเกตุการณ์อย่างมีส่วนร่วม โดยมีคำถามวิจัย ดังนี้ 1. การเปลี่ยนแปลงระบบการผลิตทางการเกษตรไปสู่การผลิตกาแฟของชาวอาข่ามีผลต่อการใช้แรงงานอย่างไร 2. รูปแบบความสัมพันธ์แรงงานในการผลิตกาแฟเป็นอย่างไร 3. แรงงานชาติพันธุ์ในการผลิตกาแฟชุมชนดอยช้างมีการดำเนินชีวิตและการปรับตัวอย่างไร แนวคิดที่ใช้คือ การพัฒนาพื้นที่สูง แนวคิดเกี่ยวกับระบบพ่อเลี้ยงและความสัมพันธ์แบบอุปถัมภ์ และแนวคิดเกี่ยวกับการดำรงชีพ ระยะเวลาการศึกษาเก็บข้อมูลตั้งแต่เดือน สิงหาคม พ.ศ. 2561 จนถึง เดือนเมษายน พ.ศ. 2562 พื้นที่ศึกษาคือ ชุมชนดอยช้าง ตำบลวาวี อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย เป็นพื้นที่ที่มีการเปลี่ยนแปลงเกษตรกรรมภายหลังการดำเนินงาน "การพัฒนาพื้นที่สูง" ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการผลิตภาคการเกษตรจากการเพราะปลูกพืชเพื่อยังชีพในรอบหนึ่งปีไปสู่การเพาะปลูกพืชเงินสด เพื่อขายตามความต้องการของตลาดจุดเริ่มต้นของธุรกิจเกี่ยวกับกาแฟบนดอยช้าง เกิดขึ้นจากการที่ชาวบ้านในชุมชนดอยช้างได้รับการแจกจ่ายต้นกล้ากาแฟสายพันธุ์อาราบิก้าเพื่อปลูกทดแทนฝิ่น 40 ครอบครัว ประมาณปี พ.ศ. 2526 จากพระราชดำริของพระบาทสมเค็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ผ่านโครงการในพระราชดำริ เช่นโครงการหลวง ซึ่งก็ได้รับความร่วมมือจากองค์กรระหว่างประเทศ เช่น โครงการพัฒนาที่สูงไทย -เยอรมัน และกรมวิชาการเกษตรที่ได้นำสายพันธุ์กาแฟที่ดีมาให้วิจัยพัฒนาพร้อมตั้งศูนย์ค้นคว้าทดลองต่าง ๆ ไว้ที่บนดอยช้าง ต่อมาภายหลังชาวบ้านในดอยช้างได้ก่อตั้งโรงงานกาแฟดอยช้างขึ้นในปี พ.ศ. 2546 จนประสบความสำเร็จส่งผลให้กาแฟดอยช้างเป็นที่ยอมรับเป็นที่ต้องการของตลาดโลกมากขึ้น พื้นที่ดอยช้างกลายเป็นแหล่งปลูกและผลิตแปรรูปกาแฟขายที่สำคัญลำดับต้น ๆ ของประเทศไทย อีกแหล่งหนึ่งภายหลังปลายทศวรรษ 2545 พื้นที่การผลิตภาคการเกษตรเชิงพืชเงินสดของเกษตรกรชุมชนดอยช้าง เช่น กาแฟพันธุ์อาราบิก้า (Arabica) ได้มีการขยายตัวอย่างรวดเร็ว เห็นได้จากการเริ่มปลูกกาแฟในปี 2526 มีพื้นที่ปลูกกาแฟประมาณ 40 ไร่ ปี 2545 มีพื้นที่ปลูกกาแฟประมาณ 500-600 ไร่ต่อมาปี 2551 ขยายพื้นที่ปลูกกาแฟประมาณ 20,000 ไร่ และ ในปัจจุบันครอบคลุมพื้นที่ปลูกกาแฟประมาณ 30,000 ไร่ ส่งผลให้ธุรกิจเกี่ยวกับกาแฟในชุมชนดอยช้างได้มีการขยายตัวอย่างรวดเร็วพร้อมกับความต้องการจ้างแรงงานชาติพันธุ์จำนวนมากในราคาถูก ส่งผลให้นายจ้างในชุมชนมีการจัดการแรงงานชาติพันธุ์เพื่อให้มีแรงงานเข้ามาช่วยงาน แรงงานชาติพันธุ์เองก็มีการปรับตัว เพื่อดำรงชีพเพื่อทำงานรับจ้างในชุมชนดอยช้าง ส่งผลให้นายจ้างและแรงงานชาติพันธุ์มีการจัดการความสัมพันธ์ระหว่างกันจากการศึกษาพบว่า ความสัมพันธ์ระหว่างผู้อุปถัมภ์ที่เป็นเกษตรกรที่เป็นนายจ้างกับแรงงานชาติพันธุ์นั้น เป็นความสัมพันธ์ระหว่าบุคคลภายในโครงสร้างทางเศรษฐกิจของชุมชนที่คู่สัมพันธ์ที่มีการแลกเปลี่ยนผลประโยชน์นั้น มีอิสระเสรีในการตั้งเงื่อนไขต่อกันซึ่งทั้งสองฝ่ายต่างใช้ความสัมพันธ์ส่วนตัว และผลประ โยชน์ โดยอาศัยการพึ่งพาช่วยเหลือซึ่งกันและกันเพื่อสร้างความผูกผันอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ได้ผลประโยชน์ที่แต่ละฝ่ายพึ่งได้สูงสุด รูปแบบการจัดการกระบวนการผลิตกาแฟในพื้นที่มีความสำคัญต่อการจัดการแรงงานชาติพันธุ์ เป็นตัวกำหนดความสัมพันธ์ในการจัดการแรงงานชาติพันธุ์ เพราะความสัมพันธ์แบบลักษณะความสัมพันธ์ ทางสังคมแบบช่วยเหลือต่างตอบแทนยังคงดำเนินต่อไป ทั้งนี้เนื่องจากในการผลิตภาคการเกษตรและเศรษฐกิจในชุมชนต้องอาศัยแรงงานชาติพันธุ์เป็นอย่างมาก เพราะในทุกกระบวนการผลิตกาแฟต้องใช้แรงงานคนเข้ามาเกี่ยวข้องทั้งหมด และที่สำคัญคือความมั่นคงทางด้านแรงงานของเกษตรกรที่ต้องดูแลให้มีแรงงานชาติพันธุ์เข้ามาช่วยทำงานให้ตลอดทั้งปี ส่วนแรงงานชาติพันธุ์เองก็ต้องการมีงานรับจ้างทำตลอดทั้งปีเพื่อไม่ให้ขาดรายได้เช่นกันen_US
Appears in Collections:SOC: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
590431035 อำภา วูซือ.pdf2.72 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.