Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/72166
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorปรีดา พิชยาพันธ์-
dc.contributor.authorมาริษา คีรีมาศทองen_US
dc.date.accessioned2021-09-10T04:24:52Z-
dc.date.available2021-09-10T04:24:52Z-
dc.date.issued2020-10-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/72166-
dc.description.abstractIn modern times, air travel has grown exponentially due to fast, convenient, and cost-efficiency performance. The expansion of the airport across the country has shown such trends are coming. Chiang Mai is one of the top tourist destinations of Thailand. At the Chiang Mai International Airport, the security checkpoint has endured passenger traffic congestion. Due to the space limitation, an x-ray inspection machine cannot be installed after checking in and must be installed at the entrance of the airport. It causes bottlenecks at the entrance of the airport terminal. Inspecting all baggage before entering the terminal building causes passengers delay. The waiting time during the terminal screening process is used as an indicator of service performance and passenger satisfaction. The objective of this study is to evaluate the performance of Domestic Terminal Screening in Chiang Mai International Airport using microscopic traffic simulation to measure the capacity of the terminal screening process. This study develops a microscopic pedestrian traffic simulation to model two scenarios. (existing condition and baggage separation condition) The simulation of the base scenario (existing condition) illustrates that the capacity of terminal screening Gate#3 is 420 pax/hr., terminal screening Gate#4 is 310 pax/hr. and terminal screening Gate#5 (single channel) is 320 pax/hr. ,terminal screening Gate#5 (double channel) is 660 pax/hr. The capacity is different due to the service time of the passenger. The simulation of baggage separation scenario showed that the capacity of terminal screening for small accessories is 560 pax/hr., terminal screening for backpack is 310 pax/hr. and terminal screening for a suitcase is 300 pax/hr. The capacity of the baggage separation scenario is higher than the existing condition, the baggage separation method increases the capacity of the terminal screening 120 pax/hr.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleการประเมินประสิทธิภาพการให้บริการของจุดตรวจค้นอาคารผู้โดยสารในท่าอากาศยานนานาชาติเชียงใหม่ ด้วยแบบจำลองการจราจรคนเดินระดับจุลภาคen_US
dc.title.alternativeService performance evaluation for terminal screening in Chiang Mai International Airport using microscopic pedestrian traffic simulationen_US
dc.typeThesis
thailis.classification.ddc387.7362-
thailis.controlvocab.thashท่าอากาศยานนานาชาติเชียงใหม่-
thailis.controlvocab.thashสนามบิน -- จราจร -- แบบจำลอง-
thailis.controlvocab.thashสนามบิน -- เครื่องมือและอุปกรณ์-
thailis.controlvocab.thashท่าอากาศยาน -- เชียงใหม่-
thailis.manuscript.callnumberว/ภน 387.7362 ม273ก 2563-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractในปัจจุบันการเดินทางทางอากาศได้มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นเนื่องจากเป็นการเดินทางที่สะดวกและมีค่าใช้จ่ายในการเดินทางที่ถูกลงกว่าในอดีตเป็นอย่างมาก เห็นได้จากการเติบโตของท่าอากาศยานต่างๆ ตามหัวเมืองสำคัญในแต่ละภูมิภาคในประเทศไทย ในภาคเหนือจังหวัดเชียงใหม่ถือว่าเป็นเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของประเทศอีกทั้งเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยว ท่าอากาศยานเชียงใหม่มีข้อจำกัดของพื้นที่ภายในอาคารผู้โดยสาร จึงไม่สามารถติดตั้งเครื่องเอกซเรย์สัมภาระไว้ที่บริเวณสายพานลำเลียงกระเป๋าหลังจากเคาน์เตอร์เช็คอินได้ ด้วยเหตุนี้ท่าอากาศยานเชียงใหม่จำเป็นต้องติดตั้งเครื่องเอกซเรย์สัมภาระไว้ที่ทางเข้าอาคารผู้โดยสาร ซึ่งเป็นจุดคอขวดที่ทางเข้าอาคารผู้โดยสารและชานชาลา การตรวจสัมภาระทุกชิ้นก่อนเข้าอาคารผู้โดยสารทำให้ผู้โดยสารต้องใช้ระยะเวลาที่จุดตรวจค้นอาคารผู้โดยสารทุกคนแม้ว่าจะไม่ได้โหลดสัมภาระลงใต้ท้องเครื่องบิน ระยะเวลาในการรอรับบริการของผู้โดยสารได้ถูกใช้เป็นตัวชี้วัดที่สะท้อนประสิทธิภาพการให้บริการและส่งผลกระทบต่อความพึงพอใจของผู้โดยสาร งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแบบจำลองการจราจรระดับจุลภาค สำหรับประเมินประสิทธิภาพการให้บริการของจุดตรวจค้นทางเข้าอาคารผู้โดยสาร (Terminal Screening) ของท่าอากาศยานนานาชาติเชียงใหม่ การพัฒนาแบบจำลองแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบคือรูปแบบจุดตรวจค้นสถานการณ์ปัจจุบัน และรูปแบบจุดตรวจค้นที่ให้ผู้โดยสารเข้าช่องบริการตามลักษณะสัมภาระ จากการพัฒนาแบบจำลองจุดตรวจค้นสถานการณ์ปัจจุบันของจุดตรวจค้นทั้ง 3 ทางเข้าพบว่า จุดตรวจค้นทางเข้า 3 สามารถรองรับผู้โดยสาร 420 คน/ชั่วโมง จุดตรวจค้นทางเข้า 4 สามารถรองรับผู้โดยสาร 310 คน/ชั่วโมง และจุดตรวจค้นทางเข้า 5 สามารถรองรับผู้โดยสาร 320 คน/ชั่วโมง สำหรับช่องบริการเดียว และจุดตรวจค้นทางเข้า 5 สามารถรองรับผู้โดยสาร 660 คน/ชั่วโมง สำหรับ 2 ช่องบริการ พบว่าความสามารถในการรองรับผู้โดยสารขึ้นอยู่กับลักษณะของสัมภาระ และการพัฒนาแบบจำลองที่ให้ผู้โดยสารเข้าช่องบริการตามลักษณะสัมภาระพบว่าช่องบริการเฉพาะผู้โดยสารที่มีสัมภาระขนาดเล็กสามารถรองรับผู้โดยสาร 560 คน/ชั่วโมง ช่องบริการเฉพาะผู้โดยสารที่มีสัมภาระลักษณะกระเป๋าเป้ สามารถรองรับผู้โดยสาร 310 คน/ชั่วโมง และช่องบริการเฉพาะผู้โดยสารที่มีสัมภาระขนาดลักษณะกระเป๋าลากสามารถรองรับผู้โดยสาร 300 คน/ชั่วโมง เมื่อเทียบประสิทธิภาพของรูปแบบสถานการณ์ปัจจุบัน และรูปแบบจุดตรวจค้นที่ให้ผู้โดยสารเข้าช่องบริการตามลักษณะสัมภาระ พบว่ารูปแบบจุดตรวจค้นที่ให้ผู้โดยสารเข้าช่องบริการตามลักษณะสัมภาระทำให้ความสามารถในการรองรับผู้โดยสารของจุดตรวจค้นเพิ่มขึ้น 120 คน/ชั่วโมงen_US
Appears in Collections:ENG: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
610631017 มาริษา คีรีมาศทอง.pdf5.82 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.