Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69759
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorชัยวัฒน์ โตอนันต์-
dc.contributor.advisorรัชดาวรรณ ชีวังกูร-
dc.contributor.authorจุฬารัตน์ หน่อแก้วen_US
dc.date.accessioned2020-09-21T09:26:32Z-
dc.date.available2020-09-21T09:26:32Z-
dc.date.issued2020-02-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69759-
dc.description.abstractIsolation of Fusarium sp. causing bakanae disease of rice was made from diseased plants, 58 isolates were obtained. The fungal isolates were pathogenicity tested and the isolate CRFuRD-7 was found causing most severe symptom. Molecular identification of this fungal isolate was made by sequencing nucleotide at ITS region by using 2 primers e.g. ITS5 and ITS4. It was found that this Fusarium isolate can be identified as Fusarium fujikuroi by comparing with the database of Genbank (NCBI). Isolation of bacteria from rhizoshere soil, 104 isolates were obtained. Primary selection of the bacterial isolates on antagonistic type, 14 isolates were obtained. The antagonistic bacterial isolates were then tested on growth inhibition of the fungus F. fujikuroi isolate CRFuRD-7 on PDA, using dual culture technique. Result showed that isolates RC-1, RR-51 and SR-31 gave highest of percent growth inhibition at 51.63, 53.73 and 51.63 respectively. The test on resistance of the pathogen to mancozeb fungicide on PDA, using poison medium technique, no resistance was found; all concentrations tested showed growth inhibition; at highest concentration, 1200 ppm could have 100 percent inhibition. Testing efficacy of the three bacterial isolate in production of metabolites. It was found that they could produce cellulase and amylase enzymes and siderophore. Molecular identification of the three of the three isolates bacteria was made by sequencing nucleotide at 16S rDNA region by PCR compared with database in Genbank (NCBI) and could be identified as Bacillus amyoliquefaciens. Comparative efficacy test of the three bacterial isolates with mancozeb fungicide in controlling bakanae disease of rice was conducted by soaking the seeds with the bacteria and macozeb solutions before inoculation or spraying the seeds with the solutions after inoculation which was done by mixing the rice seeds with the fungal pathogen. Result showed that soaking the rice seeds with the three bacterial isolates before inoculation had lower percentage of diseased seedlings than spraying the solution after. But soaking seeds with mancozeb before inoculation and spraying it after inoculation gave lower percentage of diseased seedlings, but not much, about 10 percent compared with bacteria treatment. However, when compared the results with control treatment the bacterial isolates could reduce percentage of diseased seedlings at high percentage.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectโรคถอดฝักดาบข้าวen_US
dc.subjectแบคทีเรียen_US
dc.subjectรากข้าวen_US
dc.titleการควบคุมโรคถอดฝักดาบข้าวด้วยเชื้อแบคทีเรียปฏิปักษ์ที่อยู่ในดินบริเวณรอบรากข้าวen_US
dc.title.alternativeControl of bakanae disease of rice with antagonistic rhizosphere soil bacteriaen_US
dc.typeThesis
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractทำการแยกเชื้อรา Fusarium sp.สาเหตุโรคถอดฝักดาบของข้าวจากต้นข้าวที่แสดงอาการของโรค ได้จำนวน 58 ไอโซเลท เมื่อนำมาทดสอบความสามารถในการก่อให้เกิดโรค พบว่าไอโซเลท CRFuRD-7 ทำให้เกิดโรครุนแรงที่สุด จึงนำไอโซเลทนี้มาวิเคราะห์ลำดับนิวคลีโอไทด์บริเวณ ITS โดยใช้ไพรเมอร์ 2 ชนิด คือ ITS5 และ ITS4 พบว่า Fusarium ไอโซเลทนี้สามารถจัดจำแนกเป็น F. fujikuroi โดยเทียบกับฐานข้อมูลของ Genbank (NCBI) ทำการแยกเชื้อแบคทีเรียจากดินบริเวณรอบรากข้าวได้ทั้งหมด 104 ไอโซเลท เมื่อทำการคัดเลือกเบื้องต้น ได้แบคทีเรียที่มีคุณสมบัติเป็นแบคทีเรียปฏิปักษ์ 14 ไอโซเลท จึงนำแบคทีเรียดังกล่าวมาทดสอบประสิทธิภาพในการยับยั้งการเจริญของเชื้อรา F. fujikuroi ไอโซเลท CRFuRD-7 บนอาหาร PDA ด้วยวิธี Dual culture พบว่ามี 3 ไอโซเลท คือ RC-1, RR-51 และ SR-31 ให้เปอร์เซ็นต์การยับยั้งสูงสุดที่ 51.63, 53.73 และ 51.63 ตามลำดับ ทำการทดสอบการดื้อยาหรือการต้านทานสารกำจัดเชื้อราแมนโคเซบด้วยวิธี poison medium บนอาหาร PDA ไม่พบการดื้อยาต่อสารแมนโคเซบ ทุกความเข้มข้นสามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อราได้ โดยที่ความเข้มข้นสูงสุดที่ทดสอบคือ 1200 ppm สามารถยับยั้งได้ 100 เปอร์เซ็นต์ ทำการทดสอบความสามารถในการสร้างสารเมตาโบไลท์ของเชื้อแบคทีเรียทั้ง 3 ไอโซเลท พบว่าสามารถผลิตเอมไซม์เซลลูเลส อะไมเลส และสร้างไซเดอร์โรฟอร์ได้ ทำการจำแนกเชื้อแบคทีเรียทั้ง 3 ไอโซเลทด้วยเทคนิค PCR ด้วยการลำดับนิวคลิโอไทด์บริเวณ 16S rDNA เปรียบเทียบกับฐานข้อมูลของ Genbank (NCBI) สามารถจำแนกได้เป็น Bacillus amyoliquefaciens ในการทดสอบความสามารถของแบคทีเรียทั้ง 3 ไอโซเลทเทียบกับแมนโคเซบในการควบคุมโรคถอดฝักดาบของข้าว โดยการคลุกเชื้อรา (ปลูกเชื้อ) บนเมล็ดข้าวก่อนหรือหลังการแช่เมล็ดด้วยสารละลายแบคทีเรียและสารละลายแมนโคเซบ พบว่าการแช่เมล็ดด้วยสารละลายแบคทีเรียทุกไอโซเลทก่อนการปลูกเชื้อราให้เปอร์เซ็นต์การเกิดโรคต่ำกว่าการพ่นสารละลายแบคทีเรียหลังการปลูกเชื้อ แต่ความต่างไม่มากนัก แต่การแช่เมล็ดในแมนโคเซบก่อนการปลูกเชื้อและพ่นสารละลายแมนโคเซบ หลังการปลูกเชื้อให้เปอร์เซ็นต์การเกิดโรคต่ำกว่าการใช้แบคทีเรีย 10 เปอร์เซ็นต์ อย่างไรก็ดีเมื่อเทียบผลกับชุดควบคุมที่ปลูกเชื้อและไม่ใช้สิ่งใดควบคุมโรค แบคทีเรียทั้ง 3 ไอโซเลทให้ประสิทธิภาพในการลดเปอร์เซ็นต์ในการเกิดโรคในกล้าข้าวได้สูงen_US
Appears in Collections:AGRI: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
580831035 จุฬารัตน์ หน่อแก้ว.pdf3.16 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.