Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69731
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. อัจฉรา วัฒนภิญโญ-
dc.contributor.authorธันยพร นาตันen_US
dc.date.accessioned2020-08-27T01:39:18Z-
dc.date.available2020-08-27T01:39:18Z-
dc.date.issued2020-06-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69731-
dc.description.abstractThe purposes of the study were 1) to study the development, changing of settlement, land usage under Pga K’nyau Mae Ping’s Village toward the globalization and the tourism 2) to study the impact of globalization and tourism of Pga K’nyau Mae Ping’s Village and 3) to study the adapting of Pga K’nyau Mae Ping’s Village under the globalization and tourism which happened in Pai district, Mae Hong Son. This research was studied from the samples which were separated into two groups. The first group was the population totaling for 164 candidates who were obtained from using the questionnaire as well as the representatives of 12 household members who were acquired through in-depth interviews. The second group were 4 formal and informal community leaders which were the village headman, abbot, pastor, and the elderly who were conducting from the interview. The tools for data collection were questionnaires and interviewing, taking notes, analyzing statistical data by percentage, as well as content analysis combined with descriptive. The results were found that the community was impacted and adjusted themselves under globalization and tourism as followed; physical factors are impacted negative effects toward land used. There are many forests and more area encroachment in the community. Also, the land is smuggled to entrepreneur. Therefore, there is the adjustment of regulations on forest used which prohibit the purchase of land. It benefits to the community since there is no additional selling land which impacts positively to the way of life and ecosystems. Economic factor is impacted the negative effect since there was insufficient income to cover monthly expenses. So, additional career is preferred as adaptation. Previously, agricultural was only for subsistence, however, it is currently for trading. As well as, weaving was only for household in the past, but it is for selling to tourists at current. These contributes to the benefit of the community which lead populations earn more income. Society is impacted negatively in term of relationship in family members. Relationships among people in the community and relations with tourists as well as the population was found lack of cooperation in activities which causes conflicts within the community. Therefore, it results in adjustment by using culture and traditions for connecting the relationships among family members and communities. The rules and regulations are set for the community so it minimizes the conflicts within the community. The relationships among populations are improved to be in a better way. Identity is impacted negative effects toward religion, belief, traditions, culture, language, also arts and crafts were found that losing the identity of traditional in Pga K’nyau. The faith and respect of ghosts disappeared as well as traditional dressing and weaving and Pga K’nyau language. The community adjust themselves by using the religion as the connection in terms of doing activities and wearing the traditional Pga K’nyau costume in the religious ceremony in both Buddhism and Christianity. The government supports the teaching Pga K’nyau language in the children's center as well as in the school. These benefit to the community and contribute the populations in the community in terms of conserving the original identity. Pga K’nyau Mae Ping’s Village is significantly affected by its identity, society, physical and economic factors are following respectively. According to the impact of previous globalization and tourism, the community is not able to adapt by alerting only the awareness in community. The government should aware of the effects and create the plan in order to solve the mentioned problems by emphasizing the promotion of being a true ethnic community in order to preserve the original identity of the local community so that it cannot be changed or lost follow incoming prosperity.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleผลกระทบและการปรับตัวของชาวปกาเกอะญอบ้านแม่ปิงต่อกระแสโลกาภิวัตน์และการท่องเที่ยวen_US
dc.title.alternativeImpact and Adaptation in Pga K’nyau Mae Ping’s Village to Globalization and Tourismen_US
dc.typeThesis
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์การศึกษา 3 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาพัฒนาการและการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการตั้งถิ่นฐาน และการใช้ที่ดินของชุมชนปกาเกอะญอบ้านแม่ปิงอันเนื่องมาจากกระแส โลกาภิวัตน์และการท่องเที่ยว 2) เพื่อศึกษาผลกระทบจากกระแสโลกาภิวัตน์และการท่องเที่ยวของชุมชนปกาเกอะญอบ้านแม่ปิง และ 3) เพื่อศึกษาการปรับตัวของชุมชนปกาเกอะญอบ้านแม่ปิงภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์และการท่องเที่ยวที่เกิดขึ้นในอำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน การศึกษาครั้งนี้ได้ใช้ข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ 1) ประชากรในชุมชน จำนวน 164 ราย ที่ได้มาจากการใช้แบบสอบถาม และตัวแทนสมาชิกในครัวเรือน จำนวน 12 ราย ที่ได้มาจากการสัมภาษณ์ เชิงลึก และ 2) ผู้นำชุมชนที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ ได้แก่ ผู้ใหญ่บ้าน เจ้าอาวาส ศิษยาภิบาล และผู้สูงอายุ รวมทั้งหมดจำนวน 4 ราย ที่ได้มาจากการสัมภาษณ์ เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม และแบบนำสัมภาษณ์ ประกอบการจดบันทึกข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลด้านสถิติด้วยค่าร้อยละ และวิเคราะห์เนื้อหาร่วมกับการบรรยายเชิงพรรณนา ผลการศึกษา พบว่า ชุมชนได้รับผลกระทบและมีการปรับตัวภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์และการท่องเที่ยว ดังนี้ ด้านสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ เกิดผลกระทบด้านลบต่อการใช้ที่ดินโดยเกิดการบุกรุกป่าและพื้นที่ในชุมชนมากขึ้น มีการลักลอบขายที่ดินให้แก่นายทุน จึงเกิดการปรับตัวโดยกำหนดกฎข้อบังคับในการใช้พื้นที่ป่า และห้ามทำการซื้อขายที่ดิน ส่งผลดีต่อชุมชน ทำให้ไม่มีการขายที่ดินเพิ่มขึ้น และส่งผลดีต่อวิถีชีวิตและระบบนิเวศ ด้านเศรษฐกิจเกิดผลกระทบด้านลบโดยมีรายได้ไม่เพียงพอต่อรายจ่าย ต้องประกอบอาชีพเสริม จึงเกิดการปรับตัวจากการทำการเกษตรเพื่อยังชีพเป็นเกษตรเพื่อยัง และการทอผ้าเพื่อใช้เองในครัวเรือนมาเป็นการทอผ้าเพื่อจำหน่ายแก่นักท่องเที่ยวมากขึ้น ส่งผลดีต่อชุมชน ทำให้มีรายได้เพิ่มมากขึ้น ด้านสังคม เกิดผลกระทบด้านลบในด้านความสัมพันธ์ของคนในครอบครัว ความสัมพันธ์ของคนในชุมชน ความสัมพันธ์ต่อนักท่องเที่ยว และด้านประชากร พบว่า ขาดความร่วมมือในการทำกิจกรรม และเกิดความขัดแย้งภายในชุมชน จึงเกิดการปรับตัวโดยนำวัฒนธรรมประเพณีมาเป็นตัวเชื่อมความสัมพันธ์ของคนในครอบครัวและในชุมชน มีการตั้งกฎและข้อบังคับของชุมชน ส่งผลดีต่อชุมชน ลดความขัดแย้งภายในชุมชน ความสัมพันธ์ของคนในชุมชนเป็นไปในทางที่ดีขึ้น และด้านอัตลักษณ์ เกิดผลกระทบด้านลบในด้านศาสนาและความเชื่อ ประเพณีและวัฒนธรรม ภาษา และศิลปหัตถกรรม พบว่า สูญเสียความเป็นอัตลักษณ์ของชนเผ่า ปกาเกอะญอดั้งเดิม ชุมชนปรับตัวโดยสนับสนุนให้แต่งกายชุดปกาเกอะญอในพิธีสำคัญทางศาสนา และภาครัฐสนับสนุนให้มีการเรียนการสอนภาษาปกาเกอะญอในศูนย์เด็กเล็กและในโรงเรียน ส่งผลดีต่อชุมชนด้านการรักษาอัตลักษณ์ดั้งเดิม ชุมชนปกาเกอะญอบ้านแม่ปิง ได้รับผลกระทบด้านอัตลักษณ์มากที่สุด รองลงมาคือด้านสังคม ด้านสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ และด้านเศรษฐกิจตามลำดับ ซึ่งผลกระทบจากกระแสโลกาภิวัตน์และการท่องเที่ยวที่ผ่านมา ทางชุมชนไม่อาจปรับตัวได้ด้วยการสร้างความตระหนักของชุมชนเพียงอย่างเดียว หน่วยงานรัฐควรตระหนักถึงผลกระทบและวางแผนเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยให้ความสำคัญด้านการส่งเสริมความเป็นชุมชนชาติพันธุ์ที่แท้จริง เพื่อรักษาอัตลักษณ์ดั้งเดิมของชุมชนท้องถิ่นไว้ไม่ให้เปลี่ยนแปลงหรือสูญหายไปตามความเจริญที่เข้ามาen_US
Appears in Collections:SOC: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
570431008 ธันยพร นาตัน.pdf7.58 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.