Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69724
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorชยันต์ วรรธนะภูติ-
dc.contributor.advisorOlivier Evrard-
dc.contributor.authorศศิภา คำก่ำen_US
dc.date.accessioned2020-08-25T02:23:35Z-
dc.date.available2020-08-25T02:23:35Z-
dc.date.issued2014-09-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69724-
dc.description.abstractMy thesis examines how socio-economic development affects the interethnic context of a border area in Northern Thailand. It shows how the notions of ethnicity and class differentiation interact and the strategies adopted by local farmers to enhance their status. I focus on Khmu farmers in Huawkoung village Chiang Khong district Chiang Rai province, a population that has traditionally had a low status in Thai society. This dissertation is based on a fieldwork conducted in 2013 and it emphasizes four main findings: First, Chiang Khong area has been for long a center of trans-Mekong and trans-ethnic relationships, connecting highland areas with the lowlands. Since the early 1990s, regional economic development has deeply affected social space and interethnic relations and led to new forms of competition between various populations. Second, the Khmu people are relatively recent settlers in the area compared to the other ethnic groups (Tai lue, Hmong, Yao, Chinese, Akha, Lahu) in Chiang Rai province. Most of them arrived from Laos during or just after the Indochina war. As latecomers, they experienced difficulty to access agricultural land and many of them became wage laborers for their neighbors as well as for Thai middlemen. However, and this is my third point, class differentiation develops as rich households, usually those arrived before 1987, can upgrade their status through land access, Thai education and citizenship as well as interpersonal networks with Thai farmers and local administrators. On the other hand those arrived after 1987 have limited land and no access to nationality card. They work as wage laborers in the rice-fields or in factories in Chiang Rai, Lampang and Bangkok. A last point relates to the importance of religion, and more precisely of conversions to either Christianity or Buddhism, as a way to subvert socio-economic marginalization in the capitalist context as well as to reassert a distinct ethnic identity and claim access to natural resources as well as education and cultural networks. More than, the religion practices cause to their identities change to civilizationen_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectการดำรงชีพen_US
dc.subjectขมุen_US
dc.subjectเศรษฐกิจen_US
dc.titleวิถีการดำรงชีพและความแตกต่างทางสังคมของคนขมุในการพัฒนาเศรษฐกิจบริเวณชายแดนไทย-ลาวen_US
dc.title.alternativeLivelihoods and Social Differentiation of the Khamu People in Economic Development on Thai-Laos Borderen_US
dc.typeThesis
thailis.classification.ddc305.89593-
thailis.controlvocab.thashขมุ -- ภาวะสังคม-
thailis.controlvocab.thashขมุ -- ความเป็นอยู่และประเพณี-
thailis.manuscript.callnumberว/ภน 305.89593|bศ183ว-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractวิทยานิพนธ์ชิ้นนี้พยายามจะชี้ให้เห็นถึงความสัมพันธ์ของชาติพันธุ์ในกระบวนการของการพัฒนาว่ามีลักษณะที่สลับซับซ้อนอย่างไร ความเป็นชาติพันธุ์ตามที่สังคมเคยเข้าใจกันดั้งเดิมในฐานะของความสัมพันธ์ที่เป็นกลุ่มก้อนเดียวกันนั้นมีความแปรเปลี่ยนไปเป็นชนชั้นภายใต้บริบทการพัฒนาบนพื้นที่ชายแดนที่ทุนและปฏิสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มชาติพันธุ์เข้ามาเป็นตัวกำหนดความสัมพันธ์ต่อการเข้าถึงทรัพยากรในการดำรงชีพทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคมและพื้นที่ทางวัฒนธรรม งานศึกษาชิ้นนี้จึงเน้นไปที่กลุ่มชาติพันธุ์ขมุที่ตั้งบ้านเรือนอยู่ในหมู่บ้านหัวโค้ง อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงรายในฐานะที่เป็นกลุ่มซึ่งจัดอยู่ในฐานะ “แรงงานราคาถูก” ตลอดมาอันปรากฏตามหน้าประวัติศาสตร์ และจากการลงสนามในช่วงระหว่างเดือนพฤศจิกายน 2556 – กรกฎาคม 2557 ทำให้ผู้ศึกษาได้ข้อค้นพบที่สำคัญ 4 ประการดังนี้ ข้อค้นพบประการแรกนั้น ผู้ศึกษาพบว่าชายแดนเชียงของนั้นได้ก่อรูปก่อร่างขึ้นมาจากการเป็นศูนย์กลางการรวบรวมของป่า และพัฒนาการของเมืองเชียงของนั้นมีความสัมพันธ์กับผู้คนกลุ่มชาติพันธุ์อันหลากหลายกลุ่มที่พยายามผลักดันให้เชียงของเป็นเมืองศูนย์กลางลุ่มน้ำโขง พร้อมกันนั้นทุนด้านเศรษฐกิจโดยเฉพาะการปรับเปลี่ยนให้เชียงของเป็นเมืองท่องเที่ยว ทำให้คนเชียงของซึ่งประกอบด้วยหลากกลุ่มชาติพันธุ์นี้ก็กระจายตัวไปสู่ชุมชนกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ อันนำไปสู่การที่แต่ละกลุ่มพยายามที่จะใช้โอกาสของการขยายตัวของตำแหน่งแห่งที่ของพื้นที่เชียงของนี้ในการสร้างพื้นที่และอัตลักษณ์ทางด้านเศรษฐกิจ การเมือง สังคมและวัฒนธรรมของตนขึ้น ในกระบวนการที่กลุ่ม ชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มพยายามที่จะสร้างพื้นที่ของตนนั้น คนขมุซึ่งเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่อพยพเข้ามาภายหลังกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นไทลื้อ ม้ง เย้า จีนฮ่อ อาข่า ลาหู่ ก็ตกอยู่ในฐานะของแรงงานที่มีข้อจำกัดเรื่องการเข้าถึงทรัพยากรด้านที่ดินทำกิน และนั่นเป็นผลพวงที่ทำให้พื้นที่ทางสังคมของพวกเขาไม่ได้ปรากฏเด่นชัดเหมือนกับกลุ่มชาติพันธุ์อื่นๆ ข้อค้นพบที่สาม คือ ภายใต้กระบวนการเป็นแรงงานของคนขมุนั้น ไม่ได้คงสถานะภาพของกลุ่มชาติพันธุ์ขมุให้เหมือนกันทั้งหมด ทั้งนี้กลับพบว่าคนขมุที่อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานอยู่ก่อนได้เลื่อนสถานะภาพกลายเป็นคนขมุร่ำรวย ผ่านการเข้าถึงที่ดินทำกิน การกลายสถานะเป็นคนขมุไทยผ่านระบบการศึกษาภาครัฐ การมีบัตร การสร้างเครือข่ายกับเจ้าหน้าที่ท้องถิ่น การสร้างพื้นที่ทางสังคม และนั้นทำให้พวกเขาสามารถปรับตัวต่อสภาพการพัฒนาได้ดีกว่า คนขมุซึ่งอพยพเข้ามาภายหลังในช่วงปี พ.ศ. 2520-2530 เพราะคนกลุ่มหลังนี้เข้าถึงที่ดินทำกินได้ในจำนวนที่จำกัด อีกทั้งการอยู่ในฐานะของคนต่างด้าว คนกลุ่มนี้ยังคงต้องดำรงชีพด้วยการรับจ้างเป็นแรงงานในไร่เหล่าของคนไทลื้อและอาศัยการออกไปทำงานตามโรงงานอุตสาหกรรม แต่อย่างไรก็ตามภายใต้กระบวนการของการปรับตัวเพื่อเข้าถึงทรัพยากรในการดำรงชีพของคนขมุแต่ละครัวเรือนนั้นก็มีลักษณะที่แตกต่างกันตามศักยภาพและความสามารถในการเข้าถึง ซึ่งสัมพันธ์กับบริบทของความเปราะบางในชีวิต ทั้งเรื่องของภูมิหลัง ปัญหาชีวิต เพศสภาพ ชนชั้น ข้อค้นพบประการสุดท้าย คือ แม้ว่าความเป็นชาติพันธุ์ที่กลายมาเป็นชนชั้นดังกล่าวจะปรากฏตัวอย่างชัดเจนในกลุ่มคนขมุ แต่ทว่าพวกเขาก็พยายามที่จะใช้พื้นที่ศาสนามาสนองตอบความต้องการที่หลากหลายแตกต่างกันไป ไม่ว่าจะเป็นการปรับเปลี่ยนศาสนาเพื่อให้สามารถดำรงชีวิตอยู่รอดในระบบที่ทุนนิยมเข้ามามีส่วนในชีวิตประจำวัน หรือเพื่อเข้าถึงทรัพยากรด้านอื่นเช่น การศึกษา การสร้างเครือข่ายทางสังคมและวัฒนธรรม การเข้าสู่พื้นที่ทางการเมืองและการบรรลุซึ่งจิตวิญญาณ การปรับเปลี่ยนศาสนาของกลุ่มชาติพันธุ์ขมุจึงเป็นทั้งกลยุทธ์และยุทธวิธีในการเอาชีวิตรอดอย่างมีความหมายในวิถีการพัฒนา เพื่อให้ตัวเอง ดังนั้น หากจะสรุปข้อค้นพบข้างต้นนั้นก็จะทำให้เห็นภาพของการพัฒนากับกลุ่มชาติพันธุ์ว่า การพัฒนาโดยเฉพาะทุนนิยมที่เข้ามามีบทบาทนั้นก่อให้เกิดความสัมพันธ์ภายในกลุ่มและระหว่างกลุ่มที่ไม่เท่าเทียมกัน เมื่อความสัมพันธ์แปรเปลี่ยน ศาสนาหรือพื้นที่ความเชื่อได้กลายมาเป็นส่วนหนึ่งเพื่อประสานความสัมพันธ์ภายในกลุ่มชาติพันธุ์ที่แตกต่างกันทางด้านสถานภาพทางเศรษฐกิจและสังคมให้ดำเนินไปได้โดยที่สำนึกทางชาติพันธุ์ยังคงได้รับการตอกย้ำควบคู่กันไปen_US
Appears in Collections:SOC: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Full.pdf5.6 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.