Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69686
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorLect. Dr. Shirley Worland-
dc.contributor.advisorAsst. Prof. Dr. Prasit Leepreecha-
dc.contributor.authorSaw Ni Thaw Htooen_US
dc.date.accessioned2020-08-20T01:04:38Z-
dc.date.available2020-08-20T01:04:38Z-
dc.date.issued2020-02-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/69686-
dc.description.abstractIn a context of seven decades of armed conflict since 1949, the Karen have educated their children in and outside of Myanmar in often extremely difficult circumstance. During the decades of civil war between ethnic insurgencies against successive Myanmar government’s regimes, the ethnic armed organizations (EAOs) including those of the Karen, developed their own ethnic education regime in response to the uneven access to education services from the State. The Karen have been fulfilling educational provision by the Karen community over several decades. Especially, the Karen National Union/Karen Education and Culture Department provides educational services to its marginalized communities under its territorial control and mixed control areas since the independence of Myanmar. The successive Burmese governing regimes manipulate education as a tool to serve so-called ‘Burmanization/Myanmarfication’ in nation-state building. The pedagogical approaches are also different. Whereas the mainstream system practices a teacher-oriented and banking model of education widely, KECD schools encourage a more student-centered and critical thinking classroom. As such, there is no accreditation of KECD education certificates by the Myanmar Ministry of Education. Despite this lack of recognition that denies KECD high school graduates accessing jobs or furthering their education in the Myanmar mainstream systems, many have found gainful employment in the non-government (NGOs) and civil society sectors (CBOs) and some have crossed the border into Thailand to access higher education opportunities provided by NGOs. In this research, the author argues that the provision of Karen education is the act of emancipation to achieve freedom which preserves cultural identity and rights of the Karen whilst striving for self-determination according to the principles of a federal democratic union. The research raised two questions for the study 1) how has Karen indigenous pedagogy developed and has been implemented under the leadership of KNU/KECD? and 2) how has the Karen education preserved and promoted cultural identity and human rights through the provision of KECD education? Consequently, the research aimed to study two objectives 1) to explore the successive Myanmar government national education for nation building and their influences towards Karen society, and 2) to examine the KECD pedagogy, the consequences and social meaning of Karen indigenous pedagogy. The nature of this research relies on ethnographic methodology which is effective in obtaining culturally specific information about the values, opinions, behaviors, and social contexts of particular populations. From June to August, 2019, the researcher employed data collection methods of participant observation, semi-structed focus group discussions and in-dept interviews with staffs, students and parents of the KECD operated Hto Lwe Wah Karen Public High School and Junior College in Brigade Two, Taungoo District, Eastern Myanmar, as well KNU personnel. In total, 42 respondents participated across five focus group discussions and 11 individual interviews, five of which were conducted as life history narratives. To this end, I triangulated the data collection methods enabling convergence and comparing of the data which enhanced trustworthiness of findings. And, a thematic data analysis was utilized. All interviews and filed notes were transcribed into English and coded using QDA Minor software program. From the coding, seven clear themes emerged from the coding – 1) Karen education and its nexus with nationalism, 2) the struggle for education, 3) fulfillment of indigenous people’s right to education, 4) right to Mother Tongue Language Education – a means to prevent cultural genocide, 5) education value under the KNU/KECD, 6) the practice of rights and development of democratic institution in the classroom and, 7) Karen education as transformative tool that enfranchises humanization.en_US
dc.language.isoenen_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titlePedagogy of the Karen: Indigenous Education as Self-determinationen_US
dc.title.alternativeระบบการเรียนการสอนของกะเหรี่ยง: การศึกษาของชนพื้นเมืองในฐานะการกำหนดเจตจำนงตนเองen_US
dc.typeThesis
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractในบริบทของสภาวะสงครามที่ยาวนานถึงเจ็ดทศวรรษ คือตั้งแต่ปี ค.ศ. 1949 ถึงปัจจุบัน ชาวกะเหรี่ยงได้ให้การศึกษาแก่ลูกหลานของเขาทั้งในและนอกประเทศพม่าอย่างยากลำบากมาโดยตลอด ในช่วงหลายทศวรรษของการเกิดสงครามกลางเมืองที่กลุ่มชาติพันธุ์จับอาวุธลุกขึ้นต่อสู้กับระบบอำนาจของรัฐบาลพม่านี้ องค์กรชาติพันธุ์ติดอาวุธ (Ethnic Armed Organizations - EAOs) ทั้งหลาย รวมถึงองค์กรของชาวกะเหรี่ยง ได้พัฒนาระบอบการศึกษาของตนเองเพื่อตอบสนองต่อการไม่มีโอกาสเท่าเทียมในการเข้าถึงบริการการศึกษาจากรัฐ ชาวกะเหรี่ยงได้พยายามดำเนินการการเรียนการสอนในชุมชนกะเหรี่ยงมายาวนานหลายทศวรรษ  โดยเฉพาะกรมการศึกษาและวัฒนธรรมแห่งสหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยง ได้ให้บริการด้านการศึกษาแก่ชุมชนชายขอบของตนภายใต้ดินแดนที่ตัวเองควบคุมและเขตกึ่งการควบคุมตั้งแต่ประเทศพม่าได้รับเอกราช ความสำเร็จของระบอบการปกครองของพม่าในการจัดการศึกษาแก่ชาวกะเหรี่ยงนับว่าเป็นเครื่องมือในกระบวนการทำให้กลายเป็นพม่าภายใต้การสร้างรัฐชาติการจัดการเรียนการสอนดังกล่าวก็แตกต่างจากหลักสูตรการศึกษาของสหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยง ขณะที่ระบบการศึกษากระแสหลักของรัฐบาลพม่าเน้นครูเป็นศูนย์กลางและการท่องจำเป็นหลัก กรมการศึกษาและวัฒนธรรมแห่งชาติกะเหรี่ยงส่งเสริมรูปแบบการศึกษาที่เน้นนักเรียนเป็นศูนย์กลางกับการคิดอย่างวิพากษ์ในชั้นเรียนเป็นสำคัญ ดังนั้น กระทรวงศึกษาธิการพม่าจึงไม่ยอมรับและรับรองวุฒิการศึกษาซึ่งออกโดยกรมการศึกษาและวัฒนธรรมแห่งชาติกะเหรี่ยง แม้หลักสูตรการศึกษาของกรมการศึกษาและวัฒนธรรมแห่งชาติกะเหรี่ยงจะไม่มีการยอมรับอย่างเป็นทางการ และวุฒิการศึกษาของผู้สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมปลายก็ถูกปฏิเสธในการใช้สมัครงานหรือเรียนต่อในระดับสูงขึ้น แต่พวกเขาเป็นจำนวนมากก็ได้รับโอกาสการจ้างงานในภาคองค์กรพัฒนาเอกชน (NGOs) และภาคประชาสังคม (CBOs) อีก ทั้งหลายคนได้ข้ามพรมแดนเข้าไปในประเทศไทยเพื่อเข้าถึงโอกาสทางการศึกษาที่สูงขึ้นซึ่งเปิดกว้างโดยองค์กรพัฒนาเอกชน ในงานวิจัยนี้ผู้เขียนนำเสนอว่าการให้บริการด้านการศึกษาของชาวกะเหรี่ยงเป็นการกระทำของการปลดปล่อยเพื่อให้บรรลุเสรีภาพซึ่งเป็นการปกป้องอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมและสิทธิของชาวกะเหรี่ยงในขณะที่พยายามต่อสู้เพื่อกำหนดชะตาชีวิตของตนเองตามหลักการของสหภาพประชาธิปไตยสหพันธรัฐ งานวิจัยนี้ได้ตั้งคำถามสองข้อสำหรับการศึกษาค้นคว้า คือ 1) การจัดการศึกษาของพื้นเมืองชาวกะเหรี่ยงมีพัฒนาการมาอย่างไร และได้รับการดำเนินการภายใต้การนำของกรมการศึกษาและวัฒนธรรมแห่งชาติกะเหรี่ยงอย่างไร 2) ระบบการศึกษาของกะเหรี่ยงอนุรักษ์และส่งเสริมอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมและสิทธิมนุษยชนอย่างไร วัตถุประสงค์สองประการของการวิจัยครั้งนี้คือ 1) สำรวจอิทธิพลของระบอบการศึกษาของพม่าเพื่อการสร้างชาติและอิทธิพลที่มีต่อสังคมกะเหรี่ยง 2) เพื่อตรวจสอบหลักสูตรการศึกษาของกรมการศึกษาและวัฒนธรรมแห่งชาติกะเหรี่ยง และผลที่เกิดตามมาของหลักสูตรการศึกษาดังกล่าว รวมทั้งความหมายทางสังคมของหลักสูตรการศึกษาพื้นเมืองของชาวกะเหรี่ยง การวิจัยครั้งนี้ ใช้ระเบียบวิธีวิจัยชาติพันธุ์วรรณนาซึ่งมีประสิทธิภาพในการเก็บข้อมูลด้านวัฒนธรรม โดยเฉพาะคุณค่า ความคิดเห็น พฤติกรรมและบริบททางสังคมของประชากรกลุ่มเฉพาะ ผู้วิจัยใช้วิธีการสังเกตการณ์อย่างมีส่วนร่วม การสนทนากึ่งโครงสร้าง และการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกเป็นวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลหลักจากผู้เข้าร่วมงานวิจัยทั้งที่เป็นบุคลากร นักเรียน ผู้ปกครองของนักเรียนในโรงเรียน และบุคลากรของกรมการศึกษาและวัฒนธรรมแห่งชาติกะเหรี่ยง ที่ Hto Lwe Wah Karen Public High School and Junior College ซึ่งอยู่ภายใต้กองพลที่ 2 อำเภอตองอู ภาคตะวันออกของประเทศพม่า ระหว่างเดือนมิถุนายนถึงสิงหาคม 2562 ทั้งนี้ ผู้เข้าร่วมงานวิจัยจำนวน 42 คนเป็นผู้เข้าร่วมการอภิปรายใน 5 กลุ่มที่จัดขึ้น และ 11 คนเข้าร่วมการสัมภาษณ์รายบุคคล ซึ่ง 5 ใน 11 คนนี้ เป็นการสัมภาษณ์ประวัติชีวิต ท้ายนี้ ข้าพเจ้าได้ใช้วิธีการสำรวจตรวจสอบข้อมูลเพื่อให้เกิดความแม่นยำและทำการเปรียบเทียบข้อมูลช่วยเพิ่มความน่าเชื่อถือในผลวิจัยครั้งนี้ อีกทั้ง ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลตามประเด็น การสัมภาษณ์และบันทึกย่อทั้งหมดถูกถอดความเป็นภาษาอังกฤษและถูกทำการลงรหัสโดยใช้โปรแกรม QDA Miner Software การทำรหัสดังกล่าว นำมาซึ่งเจ็ดประเด็นหลักดังต่อไปนี้คือ 1) ความสัมพันธ์ระหว่างการศึกษากะเหรี่ยงและชาตินิยม 2) การต่อสู้ดิ้นรนเพื่อการศึกษา 3) การเติมเต็มสิทธิของชนพื้นเมืองในการศึกษา 4) สิทธิในการศึกษาภาษาแม่ 5) คุณค่าการศึกษาภายใต้กรมการศึกษาและวัฒนธรรมแห่งชาติกะเหรี่ยง 6) ปฏิบัติการว่าด้วยสิทธิการพัฒนาสถาบันประชาธิปไตยในห้องเรียน และ 7) การศึกษาของชาวกะเหรี่ยงเป็นเครื่องมือในการเปลี่ยนแปลงที่ให้ความสำคัญกับมนุษยธรรมen_US
Appears in Collections:SOC: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
610435811 Saw Ni Thaw Htoo.pdf4.12 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.